อยากรู้ว่าหญ้าแฝกคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร
  หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีคุณสมบัติที่มี สมบัติที่เหมาะสมที่สุดต่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพราะว่าหญ้าแฝกเจริญเติบโตขึ้นเป็นกอใหญ่และยังมีรากที่ยาวมาก มันแตกแน่นเป็นก่อใหญ่ เจริญได้ดีทั้งในสภาพดินที่ชื้นแฉะ และที่แห้งแล้งจัด ยังอยู่ได้ทั้งในดินที่มีสภาพดินเป็นกรดหรือสภาพดินเป็นเบส เมื่อปลูกกอแฝกขวางแนวลาดชันเมื่อน้ำไหลบ่าเกิดขึ้นการพังทลายของดิน จะพบว่าหน้าดินที่ไหลมากับน้ำมันจะไหลมาชนกับกอหญ้าแฝก แล้วทิ้งดินเป็นตะกอนสะสม จากนั้นน้ำจะค่อยๆ ซึมลงมาที่รากแฝกมีปุ๋ยเหมือนฟองน้ำหุ้มอยู่ รากหยั่งลึกในดินถึง 3 เมตร จึงช่วยปกกันไม่ให้น้ำไหลเซาะดินอย่างรุนแรงได้
   
ถ้าจะขอเมล็ดพืชปลูกบำรุงดินและหญ้าแฝก จะสามารถติดต่อขอรับได้อย่างไร
  ติดต่อได้ที่กลุ่มวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน (053-121167 ต่อ 20)
   
อยากตรวจสอบคุณภาพดิน ต้องทำอย่างไร ส่งไปที่ไหน
 

ส่งตัวอย่างดินที่ต้องตรวจมาที่กลุ่มวิเคราะห์ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 164 หมู่ 3 ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ หรือทางส่งทางไปรษณีย์ก็ได้คะ

   
การเก็บตัวอย่างดินที่ถูกต้องควรเก็บอย่างไร
  - แบ่งพื้นที่ ให้ดูลักษณะของพื้นที่ในแปลงมีความแตกต่างกันหรือไม่ ให้แบ่งโซนตามความต่างนั้นแยกเป็นคนละตัวอย่าง
- สุ่มเก็บตัวอย่าง แปลงขนาด 10-20ไร่ ให้เก็บประมาณ 10-20จุด
- ใช้จอบ เสียม หรือพลั่ว ขุดหลุมเป็นรูป V ให้ลึกในแนวดิ่งประมาณ 15 ซม. แล้วแซะเอาดินด้านหนึ่ง เป็นแผ่นหนาประมาณ 2-3 ซม. จากปากหลุมถึงก้นหลุม ดินที่ได้นี้เป็นดินจาก 1 จุด ทำเช่นนี้จนครบ นำดินทุกจุดมาใส่รวมกันในถังพลาสติกหรือภาชนะที่เตรียมไว้
- คลุกเคล้าดินให้เข้ากัน เกลี่ยตัวอย่างดินให้เป็นวงกลม เก็บตัวอย่างดินมา 1 ส่วนประมาณครึ่งกิโลกรัม ใส่ถุงพลาสติกที่สะอาดพร้อมแบบฟอร์มบันทึกรายละเอียดตัวอย่างดิน ปิดปากถุงให้แน่น เพื่อส่งวิเคราะห์
   
ปุ๋ยหมักคืออะไร?
  ปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยธรรมชาติ ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากเศษพืชต่าง ๆ เศษขยะมูลฝอยหลายชนิด อาจมีซากสัตว์และมูลสัตว์รวมอยู่ด้วย เมื่อนำมาผสมรวมกันโดยอาศัยกรรมวิธีหมักอย่างง่ายๆ และใช้เวลาในระยะหนึ่งเศษพืชเศษขยะเหล่านี้อาจเปลี่ยนไปจากรูปเดิม อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของจุลินทรีย์ หลังจากนั้นก็สามารถนำเอาปุ๋ยหมักที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุง บำรุงดิน
   
วิธีการทำปุ๋ยหมัก?
  การทำปุ๋ยหมัก (Composting) คัดแยกเอาขยะที่ไม่มีคุณค่าที่จะนำมาทำเป็นปุ๋ยออก เช่น เศษกระป๋อง แก้ว โลหะ และถุงพลาสติก ฯลฯ เหลือเฉพาะขยะที่สามารถจะถูกย่อยสลายโดยเชื้อจุลินทรีย์ได้ทำให้ขยะเป็นชิ้นเล็ก ๆ โดยส่งเข้าเครื่อง หั่นบดขยะจะถูกนำไปเข้าถังหมักถ้าเป็นระบบใช้อากาศย่อยสลายจะเป็นถังเปิดให้มีการระบายอากาศเข้าออกได้สะดวก ถังหมักจะเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เป็นแถว ๆ มีประมาณ 5 ชั้น โดยขยะที่เข้ามาในครั้งแรกจะอยู่ถังชั้นบนสุดเมื่อหมักครบ 1 วัน จะถูกพลิกกลับถ่ายลงถังซึ่งอยู่ในชั้นล่างถัดไปขนาดถังหมัก ลึกประมาณ 0.90 - 1.20 ม. X 2.5 - 3.0 ม. ด้านข้างของถังหมักจะทำเป็นรูโดยรอบ เพื่อให้มีการระบายอากาศได้รอบถังจะช่วยให้จุลินทรีย์ทำปฏิกิริยาย่อยสลายได้มาก ที่สุดระยะเวลาของการย่อยสลายโดยระบบที่ใช้อากาศ (Aerobic Process)นี้ใช้เวลาประมาณ5-6วัน ก็จะทำให้เกิดการย่อยสลายของอินทรีย์สารได้ค่อนข้างสมบูรณ์ความร้อนที่เกิดขึ้นจากการหมัก จะทำให้พวกเชื้อโรคที่ติดมากับขยะหยุดการเจริญเติบโต และตายไปได้ ขยะที่หมักโดยสมบูรณ์นี้ จะมีความปลอดภัยมากพอที่จะนำมาใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ อีกวิธีหนึ่งที่เลือกใช้ในการหมักขยะพวกที่มีความชื้นสูง คือ ระบบหมักไร้อากาศ (Anaerobic Process) คือเป็นการหมักขยะชนิดทีไม่ต้องใช้อากาศหรือ ออกซิเจนในการย่อยสลาย จึงต้องหมักในถังปิด การหมักใช้เวลานานกว่าวิธี Aerobic Process ปรกติจะใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือน จะย่อยสลายขยะได้สมบูรณ์ จึงจะนำมาใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ เช่นกัน นอกจากจะใช้วิธีกำจัดขยะมูลฝอยชนิดต่าง ๆแล้ว แผนการลดขยะมูลฝอยจากแหล่งกำเนิด และการนำมูลฝอยกลับไปใช้ใหม่ จะทำให้แผนการกำจัดมูลฝอยโดยรวมมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
   
การบริการจากกรมพัฒนาที่ดินมีอะไรบ้าง?
  ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนจัดการทรัพยากรดิน และที่ดินที่มีปัญหาเฉพาะ เช่น ปัญหาดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินชายทะเล และที่ดิน เสื่อมโทรมอื่นๆที่ให้ผลผลิตลดลง การใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับสภาพดิน ตลอดจน วางแผนระบบอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมกับพื้นที่ 2. จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน การจัด ทำแหล่งน้ำในไร่นา และแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ผ่านทางคำขอตามระบบ กชช. ในแผนพัฒนาจังหวัด 3. จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน การจัด ทำแหล่งน้ำในไร่นา และแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ผ่านทางคำขอตามระบบ กชช. ในแผนพัฒนาจังหวัด 4. ตรวจวิเคราะห์ดิน /น้ำ /พืช และตรวจสอบคุณภาพของปุ๋ย 5. ปัจจัยการผลิตบางประการ เช่น สารตัวเร่งทำปุ๋ยหมัก พันธุ์ พืชคลุมดินบำรุงดิน พันธุ์หญ้าทนเค็ม หญ้าแฝกและหินปูนฝุ่น เป็นต้น
   
ปัญหาดินเค็ม ดินเค็มคืออะไร? ทำไมดินเค็มจึงทำการเกษตรกรรมไม่ได้?
  ดินเค็มคือ ดินที่มีปริมาณเกลือที่ละลายน้ำได้มากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อพืชดินเค็มที่พบดดยทั่วๆ ไป จำแนกได้ดังนี้ 1.ดินเค็ม (Saline soil) 2.ดินโซดิก (Sodic soil) 3.ดินเค็มโซดิน (Saline-solic soil) ซึ่งปัญหาดินเค็มโดยทั่วไปพื้นที่ดินเค็มจะมีปัญหาปลูกพืชไม่ได้ ผลผลิตลดลง และมีคุณภาพต่ำ พืชมักจะเกิดอาการขาดน้ำและได้รับพิษจากธาตุเป็นส่วนประกอบของเกลือที่ละลายออกมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งโซเดียมและคลอไรด์มีผลให้โครงสร้างของดินเลวลง ดินแน่น รตากพืชชอนไชไปได้ยาก นอกจากนี้ความเค็มยังมีผลทำให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารอื่นๆ เช่น โบรอน สังกะสี เป็นต้น หากไม่มีการแก้ไขจะส่งผลต่อผลผลิตทางเกษตรอย่างยิ่งยวด