3. ผลการศึกษา
ผลการศึกษาและจัดทำรายงานได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
3.1 รายงานการศึกษาการจัดการกลุ่มชุดดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจแต่ละกลุ่ม โดยจะแบ่งรายงานออกเป็น 2 ส่วน คือ
3.1.1 รายงานการศึกษาการจัดการกลุ่มชุดดินที่พบในที่ราบต่ำ (Management of Lowland Soils) ได้แก่กลุ่มชุดดินที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 57 58 และ 59
3.1.2 รายงานผลการศึกษาการจัดการกลุ่มชุดดินที่พบในที่ดอน ( Management of Upland Soils ) ได้แก่กลุ่มชุดดินที่ 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 60 61 และ 62
3.2 รายงานผลการศึกษาการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบข้อมูลดินของกรมพัฒนาที่ดิน
3.3 รายงานข้อเสนอแนะและแนวทางการจัดทำโครงการวิจัยที่เหมาะสม และสอดคล้องกับการแก้ปัญหาในการจัดการทรัพยากรดินกลุ่มดินต่าง ๆ ซึ่งได้จัดพิมพ์ไว้ในภาคผนวก
ในส่วนการรายงานผลการศึกษาการจัดการกลุ่มชุดดินแต่ละกลุ่มเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจได้เสนอรายละเอียดของแต่ละกลุ่มชุดดิน ดังนี้
1) สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับกลุ่มชุดดิน ประกอบด้วยข้อมูลและข้อสนเทศ
- ภูมิอากาศที่พบดินในจังหวัดของภาคต่าง ๆ ได้แก่ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยต่อปี และอุณหภูมิเฉลี่ยต่อปี
- วัตถุต้นกำเนิดของดิน พิจารณาจากชุดดินที่จัดอยู่ในกลุ่ม
- ภูมิสัณฐานที่พบดินชุดต่าง ๆ ในกลุ่ม
- สภาพพื้นที่และความลาด
- สภาพการระบายน้ำของดิน
- พืชพรรณและการใช้ประโยชน์
- การชะล้างพังทลายของดิน
- ปริมาณเศษหินกรวดที่พบที่หน้าดิน
- การแพร่กระจาย ภาค จังหวัดที่พบดิน และเนื้อที่
2) ชื่อชุดดิน (soil series name) และการจำแนกดินแต่ละชุดในระดับวงศ์ (soil family) ตามระบบอนุกรมวิธาน (Soil Taxonomy)
3) ลักษณะดินและการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน ประกอบด้วยลักษณะของกลุ่มชุดดิน ลักษณะของชุดดิน และระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน
4) ความเหมาะสมของกลุ่มชุดดินในการปลูกพืชเศรษฐกิจในฤดูฝน ฤดูแล้ง และหลังจากมีการพัฒนาที่ดินแล้ว
5) ปัญหาและข้อจำกัดของกลุ่มชุดดินในการปลูกพืช
6) การจัดการกลุ่มชุดดินเพื่อให้เหมาะสมในการปลูกพืช
7) ข้อเสนอแนะการใช้กลุ่มชุดดินเพื่อการเกษตร
8) สรุปผลการศึกษาของแต่ละกลุ่มชุดดิน