6. การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 8 เพื่อให้เหมาะสมในการปลูกพืช
6.1 การจัดการปัญหาด้านการระบายน้ำของดิน ถึงแม้กลุ่มชุดดินนี้จะได้มีการปรับสภาพพื้นที่ มีคันรอบพื้นที่เพื่อใช้ป้องกันน้ำท่วมและมีการยกร่องปลูกแล้วก็ตาม ในบางช่วงที่น้ำทะเลหนุน ทำให้น้ำในร่องสวนสูงขึ้นมา อาจกระทบต่อพืชที่ปลูก จึงจำเป็นต้องมีการสูบน้ำจากร่องสวนออกเพื่อให้การระบายน้ำของดินดีขึ้นและน้ำไม่แช่รากพืชนานจนเกินไป
6.2 การจัดการปัญหาความเค็มของดิน ควรปรับปรุงดินให้ร่วนซุย เวลาฝนตกและการให้น้ำพืช และมีการระบายน้ำออกจากร่องสวนจะได้ช่วยล้างเกลือออกไปจากดิน และทำให้ดินระบายน้ำดีขึ้นอีกด้วย
6.3 การจัดการด้านความร่วนซุยของดิน เนื่องจากเป็นดินเหนียว ควรมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกอัตรา 1.5-2.0 ตันต่อไร่ ใส่คลุกเคล้ากับดินขณะเตรียมดินปลูก ตากให้ดินแห้งประมาณ 10-15 วัน ก่อนย่อยดินปลูกพืชต่อไป นอกจากการใช้ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกต่างๆ แล้ว อาจปลูกพืชตระกูลถั่วสลับกับพืชหลักเช่นผักต่างๆ เมื่อถั่วออกดอกให้ขุดกลมาลงไปในดิน ทิ้งไว้ 1-2 เดือน เมื่อสลายตัวจะช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดินและทำให้ดินร่วนซุย
6.4 การปรับปรุงและรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถึงแม้ว่ากลุ่มชุดดินที่ 8 จะมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติอยู่ในระดับปานกลางถึงสูงก็ตาม แต่เมื่อใช้ในการปลูกพืชเป็นระยะเวลานานดินอาจขาดธาตุอาหารพืชบางอย่าง จำเป็นจะต้องมีการใช้ปุ๋ยปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ สำหรับสูตร อัตราและวิธีใช้ได้สรุปไว้ในตารางที่ 3