8. สรุป
กลุ่มชุดดินที่ 8 เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำทะเล แต่เดิมมีสภาพพื้นที่ราบเรียบ ภายหลังเกษตรกรผู้ถือครองที่ดินได้มีการปรับปรุงสภาพพื้นที่โดยทำคันดินรอบพื้นที่ปลูกเพื่อป้องกันน้ำทะเลและน้ำฝนเข้าท่วมถึงและมีการยกร่องปลูกขนาดกล้าง 6-8 เมตร และมีร่องระบายน้ำระหว่างร่องปลูกกว้าง 1.5-2.0 เมตร ลึกประมาณ 1 เมตร โดยธรรมชาติดินกลุ่มนี้มีการระบายน้ำเลว เมื่อมีการยกร่องปลูกทำให้การระบายน้ำดีขึ้นจนสามารถปลูกพืผักและพืชไร่อายุสั้นได้ตลอดทั้งปี นอกจากการใช้ประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ยังใช้ปลูกไม้ผลได้หลายชนิดเช่น มะพร้าว ละมุด ลิ้นจี่ (จังหวัดสมุทรสงคราม) ฝรั่ง มะม่วง ฯลฯชุดดินที่จัดอยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 8 ประกอบด้วยชุดดินธนบุรี สมุทรสงคราม และดำเนินสะดวก มีลักษณะเนื้อดินเป็นดินเหนียว มีปฏิกิริยาเป็นกลางถึงเป็นด่าง ความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์กลุ่มชุดดินนี้ในการปลูกพืชได้แก่ การระบายน้ำของดินเลว ความเค็มของดินค่อนข้างสูง ความร่วนซุยของดินไม่ดี และดินขาดธาตุอาหารพืชบางอย่างสำหรับความเหมาะสมของกลุ่มดินชุดดินที่ 8 ในการเกษตรคือใช้ปลูกไม้ผล พืชผักและปลูกพืชไร่บางชนิด พร้อมกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยเฉพาะปลาควบคู่กับการปลูกพืชดังกล่าว เนื่องจากได้มีการยกร่องปลูกพืชและมีร่องน้ำระหว่างร่องปลูกอยู่แล้ว เพียงแต่ปรับปรุงให้เหมาะแก่การเลี้ยงปลาก็จะทำให้เกิดรายได้เสริม
ตารางที่ 3 สรุปการจัดการกลุ่มชุดดินที่ 8 ให้เหมาะสมแก่การปลูกพืชแต่ละชนิด
ชนิดพืช |
ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ที่ดิน |
วิธีการจัดการ |
1. พืชไร่ |
-การระบายน้ำของดินเลว |
-มีการสูบน้ำออกจากร่องสวนเพื่อให้การระบายน้ำของดินดีขึ้น |
-ความเค็มของดิน |
-ปรับปรุงดินให้ร่วนซุยโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ได้แก่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 1.5-2.0 ตันต่อไร่ ใส่คลุกเคล้ากับเนื้อดิน เมื่อมีการเตรียมดินปลูกพืชจะช่วยล้างเกลือออกจากดินได้ง่าย -ระดับระดับน้ำในร่องสวนให้อยู่ในระดับต่ำกว่างร่องปลูกประมาณ 50 ซ.ม. เพื่อช่วยเร่งการล้างเกลือออกจากดิน |
-ดินขาดธาตุอาหารพืชบางอย่าง |
-แก้ไขโดยการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร อัตราและวิธีการใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่ปลูกดังต่อไปนี้ |
|
1.1 ข้าวโพด-ข้าวฟ่าง |
-ใส่ปุ๋ยสูตร 20 -20 -0 อัตรา 25 กก/ไร่ กรณีดินมีฟอสฟอรัสต่ำโดยใส่รองก้นหลุมทั้งหมดหรือใส่สองข้างแถวแล้วพรวนดินกลับโคนเมื่ออายุได้ 25-30 วัน -หรือใส่ปุ๋ยสูตร 20-20-0 อัตรา 40-60 กก./ไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 20-30 กก./ไร่ ใส่ในกรณีที่ดินมีฟอสฟอรัสสูง -หรือใส่ปุ๋ย 16-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ ใส่รองก้นหลุม ใส่ร่วมกัน 20-0-0 อัตรา 20-30 กก./ไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 10-15 กก./ไร่ โดยใส่โรยสองข้างแถวแล้วพรวนดินกลบเมื่อปลูกได้ 20-25 วัน |
|
1.2 พืชตระ-กูลถั่วต่างๆ (ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง) | -ใส่ปุ๋ยสูตร 0-46-0 หรือ 0-40-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ หรือสูตร 0-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ โดยใส่ตอนปลูกหรือหลังปลูก 20-25 วันใส่รองก้นร่องปลูกหรือโรยสองข้างแถวปลูกแล้วพรวนดินกลบ |
1.3 อ้อยเคี้ยว |
-อ้อยปลูกใส่ปุ๋ยสูตร 20-10-10 อัตรา 50 กก.ต่อไร่ ใส่ครั้งเดียว โรยสองข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ เมื่ออ้อยอายุ 30-60 วัน -อ้อยตอ ใส่ปุ๋ยอัตราต่ำสูตร 10-15-5 อัตรา 40-50 กก./ไร่ โรยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบหลังการแต่งกอหรือใส่ปุ๋ยอัตราสูงสูตร 15-10-10 อัตรา 100 กก./ไร่ ใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่หลังแต่กอ ครั้งที่สองใส่หลังครั้งแรก 45-60 วัน โดยโรยสองข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ |
|
1.4 ละหุ่ง |
-ใส่ปุ๋ยสูตร 20-20-0 หรือสูตรอื่นที่มีเนื้อธาตุอาหารพืชใกล้เคียงกันอัตรา 25-50 กก./ไร่ โดยแบ่งใส่สองครั้งเท่าๆ กันครั้งแรกใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก และครั้งที่สองใส่เมื่อละหุ่งอายุ 25-30 ปี |
|
1.5 ฝ้าย |
-โดยทั่วไปใส่ปุ๋ยสูตร 20-0-0 อัตรา 20-30 กก./ไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ ใส่หลังปลูก 20-25 วัน โรยสองข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ ในกรณีดินขาดฟอสฟอรัส ใช้ปุ๋ยสูตร 20-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ หรือสูตร 23-23-0 อัตรา 35-45 กก./ไร่ ใส่หลังปลูก 20-25 วัน โดยสองข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ |
ตารางที่ 3 (ต่อ)
ชนิดพืช |
ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ที่ดิน |
วิธีการจัดการ |
3. พืชผักต่างๆ |
-การระบายน้ำเลวและความเค็มของดิน -ดินขาดธาตุอาหารพืช |
-การจัดการให้ดำเนินการเช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่ที่ได้กล่าวมาแล้ว -แก้ไขโดยการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร อัตราและวิธีการใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่ปลูกดังนี้ |
3.1 ผักรับประทานใบและต้น (กระหล่ำปลี คะน้า และผักกาดต่างๆ | -ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 40-50 กก./ไร่ หรือสูตร 16-16-16 อัตรา 35-40 กก./ไร่ แบ่งใส่สองครั้งๆ ละเท่าๆ กัน ใส่ครั้งแรกเมื่อย้ายกล้าปลูก 5-7 วัน ครั้งที่สองใส่หลังครั้งแรก 20-25 วัน -หรือใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 อัตรา 25-30 กก./ไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 8-10 กก./ไร่ ใส่สองครั้ง ครั้งแรกใส่ปุ๋ย 8-24-24 ทั้งหมดหลังย้ายปลูก 5-7 วัน ครั้งที่สองใส่ 21-0-0 หรือ 46-0-0 ใส่หลังครั้งแรก 20-25 วัน |
|
3.2 ผักรับประทานผล (พริก มะเขือ-แตง) | -ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 60-65 กก./ไร่ แบ่งใส่สองครั้ง ครั้งแรก ใส่หลังย้ายปลูก 5-7 วัน ครั้งที่สอง ใส่เมื่อเริ่มออกดอกหรือหลังครั้งแรกประมาณ 1 เดือน -หรือใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 อัตรา 40-50 กก./ไร่ ใส่รวม สูตร 21-0-0 อัตรา 25-30 กก./ไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 10-15 กก./ไร่ สำหรับสูตร 8-24-24 ใส่ครั้งแรกทั้งหมด เมื่อย้ายกล้าปลูก 5-7 วัน ครั้งที่สองใส่สูตร 21-0-0 หรือ 46-0-0 เมื่อเริ่มออกดอกหรือหลังครั้งแรกประมาณ 1 เดือน |
3.3 ผักรับประทานหัวและราก (หอม กระเทียม หอมหัวใหญ่ | -ใส่ปุ๋ยสูตร 20-10-10 อัตรา 50-60 กก./ไร่ แบ่งใส่สองครั้งๆ ละเท่าๆ กัน ใส่ก่อนปลูกและหลังปลูกประมาณ 1 เดือนหรือใช้สูตร 15-15-15 ให้ใส่ครั้งแรกทั้งหมดครั้งที่สองใส่สูตร 21-0-0 หรือ 46-0-0 |
|
4. ไม้ผลต่างๆ | -การระบายน้ำเลวและความเค็มของดิน -ดินขาดธาตุอาหารพืชบางอย่าง |
-การจัดการให้ดำเนินการเช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่ที่ได้กล่าวมาแล้ว -การแก้ไขโดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตรอัตราและวิธีการใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ผลดังนี้ |
4.1 มะพร้าว | -ใช้ปุ๋ยสูตรและอัตราดังต่อไปนี้ อายุ 1 ปี ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 2 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 2 ปี ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 2 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 3-4 ปี ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 2 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 5 ปี ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 2.5 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 6 ปีขึ้นไปใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 3 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี |
ตารางที่ 3 (ต่อ)
ชนิดพืช |
ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ที่ดิน |
วิธีการจัดการ |
4.2 ส้มโอ |
-ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ 2 ครั้ง/ปี ดังนี้ อายุ 1 ปี ใช้อัตรา 1 กก./ต้น อายุ 2 ปี ใช้อัตรา 2 กก./ต้น อายุ 3 ปี ใช้อัตรา 3 กก./ต้น อายุ 4 ปี ใช้อัตรา 4 กก./ต้น อายุ 5 ปี ใช้อัตรา 5 กก./ต้น |
|
4.3 องุ่น |
-ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 0.3 กก./ต้น/ครั้ง วิธีการใส่ดังนี้ 1. เมื่อเริ่มปลูกองุ่นจนถึงระยะตันแต่งกิ่งได้ใส่รอบๆ ต้นห่างประมาณ 30 ซม. 2. ระยะตัดแต่งใส่ครั้งแรกก่อนตัดแต่งกิ่ง 15 วัน ครั้งที่สองใส่หลังตัดแต่งกิ่ง 45 วัน โดยใส่ปุ๋ยสูตรเดิมและอัตราเดิม 3. หลังตัดแต่งกิ่งแล้ว 75 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-21 อัตรา 0.3 กก./ต้น |
|
4.4 มะม่วง |
-ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือสูตรอื่นที่มีธาตอาหารเท่าหรือใกล้เคียงกันอัตราและวิธีใส่ดังนี้ อายุ 1-2 ปี ใส่ 1 กก./ต้น โดยใส่สองครั้งในช่วงเดือนมีนาคมและกันยายน อายุ 3 ปี ใส่ 1.5 กก./ต้น แบ่งใส่สองครั้งเช่นเดียวกัน อายุ 4 ปี ใส่ 2 กก./ต้น แบ่งใส่สองครั้งเช่นเดียวกัน อายุ 5 ปี ใส่ 2.5 กก./ต้น แบ่งใส่สองครั้งเช่นเดียวกัน อายุ 6 ปี ขึ้นไปใส่ 3 กก./ต้น แบ่งใส่สองครั้งเช่นเดียวกัน |
4.5 ลิ้นจี่ |
-ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา 30-50 กก./ต้น หลังเก็บเกี่ยวพืชแล้ว -อายุ 0-3 ปีใส่ปุ๋ยสูตร 12-4-20 หรือ 15-15-20 อัตรา 200-300 กรัม/ต้น x อายุปี แบ่งใส่สองครั้งให้เท่ากันโดยหว่านให้สม่ำเสมอรอบทรงพุ่มแล้วพรวนดินกลบและใส่ร่วมกับปุ๋ยสูตร 14-0-20 อัตรา 200-300 กรัม/ต้น x อายุปี เป็นการใส่ปุ๋ยครั้งที่สาม -เมื่ออกผลแล้วใส่ปุ๋ยสูตร 14-5-20 อัตรา 300-350 กรัม/ต้น x อายุปี หรือสูตร 14-5-20 อัตรา 200-250 กรัม/ต้น x อายุปี หรือสูตร 15-5-20 อัตรา 200-250 กรัม/ต้น x อายุปี ร่วมกับ 14-0-20 อัตรา 50-100 กรัม/ต้น x อายุปีแบ่งใส่สองครั้งเท่าๆ กัน และใส่ปุ๋ยรวมเป็นการใสปุ๋ยครั้งที่สาม |
หมายเหตุ : อายุปีหมายถึงจำนวนปีหลังปลูกพืชเช่น 3 ปีใช้ปุ๋ย 200x3 = 600 กรัม/ต้น/ปี