3. ลักษณะของกลุ่มดิน ชุดดินและการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
3.1 ลักษณะของกลุ่มชุดดิน : ส่วนใหญ่มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอดหน้าตัดดิน ดินบนมีสีดำหรือสีเทาเข้ม ส่วนดินชั้นล่างสีเทา พบจุดประสีน้ำตาล สีเหลืองและสีแดงปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก ในดินชั้นล่างตอนบน และพบจุดประสีเหลืองฟางข้าวของจาโรไซท์ในระดับความลึกระหว่าง 50-150 ซม. จากผิวดินบนปฏิกิริยาของดินเป็นกรดแก่มากถึงเป็นกรดจัด ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 4.5-5.0 ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง
3.2 ลักษณะของชุดดินในกลุ่ม
3.2.1 ชุดดินรังสิต (Rangsit series) ลักษณะดินบนเป็นดินเหนียวสีดำหรือสีเทาเข้มมาก พบจุดประสีน้ำตาลปนเหลืองตามรอยรากพืชที่เน่าเปื่อย ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินเหนียวสีน้ำตาล น้ำตาลปนเทาหรือน้ำตาลเข้มปนเทา พบจุดประสีแดง แดงบนเหลืองในดินชั้นล่างตอนบน และสีเหลืองฟางข้าวของสารจาโรไซท์ ซึ่งจะพบที่ความลึกระหว่าง 50-100 ซม. จากผิวดินบนในดินชั้นล่างลึกๆ จะเป็นดินเหนียวสีเทาเข้มอมน้ำเงิน เกิดขึ้นภายในความลึก 150 ซม. จากผิวดินบน ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดจัดมาก ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 4.0-4.5
3.2.2 ชุดดินเสนา (Sena series) ลักษระเนื้อดินบนเป็นดินเหนียวสีดำหรือสีเทาเข้มมาก พบจุดประสีน้ำตาลแก่ตามรอยรากพืช ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินเหนียวสีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนเทาและเปลี่ยนเป็นดินเหนียวสีเทาเข้มอมน้ำเงิน พบจุดประสีเหลืองปนน้ำตาล สีเหลืองและแดงในดินชั้นล่างตอนบนและพบจุดประสีเหลืองฟางข้าวของสารจาโรไซท์ระหว่างความลึก 50-100 ซม. จากผิวดินบน และระหว่างดินชั้นบนและชั้นล่างยังพบผลึกหรือเกล็ดของสารส้ม (gypsum crystals) เกิดขึ้นอีกด้วย ปฏิกิริยาดินเป็นกรดแก่ถึงเป็นกรดปานกลางในดินชั้นบน ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 5.0-6.0 และเป็นกรดจัดมากในดินชั้นล่าง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 4.0-4.5
3.2.3 ชุดดินธัญญบุรี (Thanyaburi series) ลักษณะเนื้อดินบนเป็นดินเหนียวสีดำ หรือเทาเข้มมากและพบจุดประสีน้ำตาลแก่และสีแดงปนเหลืองตามรอยรากพืช ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินเหนียวสีน้ำตาลปนเทาหรือเทาอ่อนปนน้ำตาลและจะเปลี่ยนเป็นดินเหนียวสีเทาหรือเทาเข้มอมน้ำเงินที่ความลึกต่ำกว่า 150 ซม. จากผิวดินบน และพบจุดประสีเหลืองปนน้ำตาลและสีเหลืองฟางข้าวของสารจาโรไซท์ในดินชั้นล่าง ซึ่งพบระหว่างความลึก 50-100 ซม. จากผิวดินบน ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดจัดมาก ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 4.0-4.5
3.2.4 ชุดดินดอนเมือง (Don Muang series) ลักษณะเนื้อดินบนเป็นดินเหนียวปนทรายหรือดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียวสีดำหรือเทาเข้มมาก และพบจุดประสีแดงปนเหลืองและน้ำตาลแก่ตามรอยรากพืช ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายหรือดินเหนียวปนทราย สีน้ำตาลปนเทาหรือน้ำตาลและในดินชั้นล่างลึกๆ จะพบดินเหนียวสีเทาอมเขียวที่ความลึกต่ำกว่า 1.5 เมตร จากผิวดินบน และพบจุดประสีแดง แดงอ่อน สีเหลืองปนน้ำตาลและสีเหลืองฟางข้าวของสารจาโรไซท์ในดินชั้นล่างด้วย ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดแก่ถึงเป็นกรมปานกลาง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 5.0-6.0 ในดินชั้นบนและเป็นกรดจัดมาก ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 4.0-4.5 ในดินชั้นล่าง
3.3 การประเมินความอุดสมบูรณ์ของดิน
ในการประเมินนั้นได้ใช้คุณสมบัติทางเคมี ได้แก่ ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (C.E.C.) เปอร์เซนต์การอิ่มตัวด้วยเบส (% B.S.) ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (O.M.) ปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซี่ยมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ซึ่งได้จากผลของการวิเคราะห์ดินที่เป็นตัวแทนของชุดดินในกลุ่ม โดยพิจารณาผิวดินบนหนาประมาณ 30 ซม. การประเมินใช้วิธีการใช้คู่มือการวินิจฉัยคุณภาพของดินสำหรับประเทศไทยที่กรมพัฒนาที่ดินพิมพ์เผยแพร่ ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์ดินและระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ชุดดิน |
ค่าเฉลี่ยผลการวิเคราะห์ดินบนหนา 30 ซม. | ระดับความอุดมสมบูรณ์ | ||||
C.E.C. me/100g soil |
B.S. % |
O.M % |
P ppm |
K ppm. |
||
รังสิต/T278 | 25.72 | 21.0 | 4.0 | 9.0 | 172 | ปานกลาง |
เสนา/C6/8 | 22.15 | 53.0 | 1.9 | 10.40 | 237 | ปานกลาง |
ธัญญบุรี/T342 | 25.70 | 43.0 | 3.48 | 12.0 | 297 | ปานกลาง |
ดอนเมือง/C10/6 | 12.60 | 40.0 | 1.48 | 2.25 | 161 | ปานกลาง |
สรุป : จากการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของชุดดินรังสิต ธัญญบุรี และดอนเมือง พบว่ามีความอุดมสมบูรณ์อยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด