6. การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 20 เพื่อให้เหมาะสมในการปลูกพืช

          กลุ่มชุดดินนี้มีศักยภาพไม่ค่อยเหมาะสมถึงไม่เหมาะสมในการปลูกพืช เนื่องจากเป็นดินเค็ม การที่จะใช้ปลูกพืชไร่ พืชผักและไม้ผลทั่วไปนั้นมีความสำเร็จได้ยาก ยกเว้นจะใช้ในการปลูกข้าวหรือทำนา อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงหรือพัฒนาที่ดินเพื่อแก้ปัญหาดินเค็มและเลือกพันธุ์พืชทนเค็มมาปลูกให้เหมาะสมก็สามารถที่จะนำกลุ่มชุดดินที่ 20 มาใช้ประโยชน์ได้ วิธีการจัดการควรจะได้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้

        6.1 การเลือกพันธุ์พืชทนเค็มมาปลูก ถ้าในกรณีใช้ในการทำนาพันธุ์ข้าวที่แนะนำได้แก่พันธุ์ดังต่อไปนี้

              ข้าวพันธุ์พื้นเมือง : หอมอ้ม ขาวตาอู๋ กอเดียวเบา แดงน้อย เจ็กกระโดดข้าวพันธุ์ กข : กข. 1 กข.6 กข.7 กข.8 กข.15ข้าวพันธุ์แนะนำและส่งเสริม : ขาวดอกมาลิ 105 สันป่าตอง ขาวตาแห้ว คำผาย41 เก้ารวง 88 ขาวปากหม้อ 148สำหรับพันธุ์พืชอื่น เช่นพืชสวน พืชไร่ ไชอาหารสัตว์ ไม้ผล และไม้โตเร็ว ที่สามารถเจริญเติบโตได้ในพ็นที่ดินเค็มที่มีระดับความเค็มแตกต่างกันได้แสดงไว้ในตารางที่ 4

        6.2 การจัดการเพื่อแก้ปัญหาความเค็มของดิน ควรดินเนินการดังต่อไปนี้

            6.2.1 การลดระดับความเค็มของดิน โดยการล้างดินด้วยน้ำจืดในพื้นที่ที่มีน้ำชลประทาน การล้างให้ปฏิบัติดังนี้

                6.2.1.1 กำจัดวัชพืชที่ขึ้นอยู่เสียก่อน

                6.2.1.2 ปรับผิวหน้าดินให้เรียบ

                6.2.1.3 ไถดินให้ลึกกว่า 30 ซม. ทลายดินล่างให้เป็นร่องแล้วปรับระดับดิน

                6.2.1.4 แบ่งแปลงขนาดแปลงย่อย 1-5 ไร่ แต่ละแปลงมีคันดินกั้นโดยรอบ

                6.2.1.5 ทดน้ำเข้าแปลงครั้งละ 250-300 ลบ.ม./ไร่ ค่อย ๆ ปล่อยน้ำเข้าอย่าใช้ทั้งหมดเพียงครั้งเดียว น้ำจะค่อย ๆ ซาบซึมลงดิน น้ำจะละลายเกลือในดิน และชะล้างลงสู่ดินล่าง

                6.2.1.6 ปล่อยน้ำเข้าไปเพิ่มในแปลงอีก 250-300 ลบ.ม. / ไร่ ทุก ๆ 2-3 วัน และตรวจสอบความเข้มข้นของเกลือที่ระบายออกมาในบริเวณที่ไม่มีน้ำชลประทานให้ชะล้างด้วยน้ำฝน แต่ละครั้งเมื่อน้ำฝนที่ตกลงมาขังที่แปลงนาแล้วทิ้งไว้ 2-3 วันจึงระบายน้ำออก จะค่อยๆ ช่วยลดความเค็มของดินลงได้

            6.2.2 การป้องกันการแพร่กระจายของดินเค็ม ในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการแพร่เกลือที่อยู่บนพื้นที่รับ น้ำ (recharge area ) จะต้องจัดการไม่ให้มีการเพิ่มเติมน้ำเค็มจากพื้นที่ให้น้ำ ( discharge area ) ที่เป็นแหล่งที่มีเกลือ ซึ่งอยู่ในลุ่มถัดสูงขึ้นไป ไม่ให้มีเกลือสะสมมากยิ่งขึ้น นอกจากวิธีการทางด้านวิศวกรรมที่ต้องลงทุนสูงที่จะนำมาใช้แล้ว ยังใช้วิธีปลูกต้นไม้เป็นธรรมชาติบนพื้นที่รับน้ำ จะช่วยลดปัญหาการแพร่กระจายของดินเค็มได้ พันธุ์ไม้ที่แนะนำให้นำมาปลูกได้แก่ ยูคาลิปตัส กระถินณรงค์ ขี้เหล็ก สมอ มะขาม สะเดา เป็นต้น

            6.2.3 การปรับปรุงดินเค็มเพื่อการปลูกพืชและเพิ่มผลผลิต สมารถดำเนินการได้ดังต่อไปนี้

                6.2.3.1 การใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 4-5 ตัน/ไร่ อย่างต่อเนื้องเป็นเวลานาน จะทำให้ดินร่วนซุยหรือมีคุณสมบัติทางกายภาพดีขึ้น จะช่วยเร่งการชะล้างเกลือออกไปจากดิน และจะช่วยเพิ่มความสามารถของดินในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ( cation exchange capacity ) ซึ่งจะมีส่วนที่ทำให้ดินมีความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารต่าง ๆที่เป็ฯประโยชน์ต่อพืชได้มากขึ้นและยังช่วยให้ดินมีความสามารถในการดูดซับความชื้นไว้ได้ดีอีกด้วย

                6.2.3.2 การใช้วัสดุปรับปรุงดิน เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ฟางข้าว ฯลฯ จะช่วยทำให้ดินร่วนซุย ไม่แน่นทึบ ลดความหนาแน่นของดินลง มีการถ่ายเทอากาศและน้ำดีขึ้น ทำให้การปักดำได้ง่าย และรากข้าวชอนไซไปในดินได้สะดวก ต้นข้าวแข็งแรง ต้านทานโรคและแมลงได้ดี สำหรับแกลบอัตราที่แนะนำอยู่ระหว่าง 2-5 ตัน/ไร่ ควรใส่ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยว

                6.2.3.3 การปลูกพืชปุ๋ยสดแล้วไถกลบลงไปในดิน จะช่วยเพิ่มผลผลิตของข้าวและพืชเศรษฐกิจที่ปลูกได้ พืชปุ๋ยสดที่แนะนำ ได้แก่ โสนอิฟริกัน โสนคางคก โสนจีนแดง โสนอินเดีย ฯลฯ ปลูกก่อนปลูกข้าวประมาณ 3 เดือน แล้วไถกลบลงไปดิน เมื่อโสนหรือพืชปุ๋ยสดอายุได้ประมาณ 60 วัน แล้วพักดินไว้ 30 วัน เพื่อให้โสนปรือพืชปุ๋ยสดสลายตัวก่อนทำกรปลูกข้าว

            ซึ่งวิธีการทั้ง 3 วิธี ที่กล่าว เกษตรกรสามารถปฏิบัติด้วยตนเองและเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย และมีประสิทธิภาพในการปรับปรุงแก้ไขดินเค็ม ตลอดทั้งการเพิ่มผลผลิตของข้าวได้ระดับหนึ่ง

                6.2.3.4 การใช้สารเคมี เช่น ยิบซัมคลุกเคล้ากับดินเพื่อช่วยสะเทินความเป็นด่าง และให้แคลเซียมในยิบซัมไปไล่ที่โซเดียมออกจากดิน แล้วใช้น้ำชะล้างโซเดียมออกนอกพื้นที่เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดความเค็มของดินหรือให้สามารถปลูกพืชได้

        6.3 การรักษาและปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน เนื่องจากกลุ่มจากดินที่ 20 มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จำเป็นต้องมีการใช้ปุ๋ยปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ ปุ๋ยที่ใช้ควรใส่ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี สำหรับสูตร อัตราและวิธีการใช้นั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่ปลูก ซึ่งได้มีการเสนอแนะไว้ในตารางที่ 3

   

back.gif (2807 bytes)forward.gif (2807 bytes)