8. สรุป

         กลุ่มชุดดินที่ 20 เป็นดินเค็มหรือดินที่มีเกลือที่จะละลายได้เป็นองค์ประกอบอยู่สูง จึงไม่เหมาะสมในการปลูกพืชเศรษฐกิจในสภาพปัจจุบัน จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อลดความเค็มของดิน จึงจะสามารถปลูกพืชบางชนิดได้

        กลุ่มชุดดินนี้ประกอบด้วยชุดดินกุลาร้องไห้ หนองแก อุดรและดินชุดร้อยเอ็ดประเภทที่มีคราบเกลือหรือมีเกลืออยู่ในปริมาณสูง พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด ที่ใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน คือ การปลูกข้าว ผลผลิตต่ำถึงค่อนข้างต่ำ ปีใดที่ฝนแล้วน้ำไม่เพียงพอต้นข้าวจะตายเป็นหย่อม ๆ เนื่องจากความเค็มของดิน

       ศักยภาพของดินที่พอจะใช้ประโยชน์ได้ ได้แก่ การทำนาข้าว ถ้าพบในสภาพพื้นที่ราบต่ำพัฒนาเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ โดยเลือกพันธุ์หญ้าทนเค็มมาปลูกดังที่ได้กล่าวมาแล้ว และทางเลือกอีกทางหนึ่ง คือ การปลูกไม้โตเร็วบางชนิดที่สามารถทนเค็มได้ เช่น สมอ กระถินณรงค์ ขี้เหล็ก สะเดาและยูคาลิปตัส เป็นต้น

      อย่างไรก็ตามกลุ่มชุดดินที่ 20 สามารถปรับปรุงแก้ไขเพื่อลดระดับความเค็มของดินลงมาอยู่ในระดับที่สามารถปลูกพืชทั่วไปได้ แต่ต้องลงทุนในการปรับปรุงแก้ไขสูง และจะต้องนำวิธีการหลายอย่างมาประยุกต์ใช้ เช่น วิธีการทางด้านปฐพีวิทยา วิธีการทางด้านพืช ด้านวิศวกรรมและวิธีการด้านกฎหมายจึงจะสามารถแก้ปัญหาดินเค็มได้

 

    ตารางที่ 3 : การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 20 เพื่อให้เหมาะสมในการปลูกพืชแต่ละชนิด

ชนิดพืช

ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน

วิธีการจัดการดิน

1. ข้าว พันธุ์ที่แนะนำ ได้แก่

-พันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ หอมอัม ขาวตาอู๋ กอเดียวเบา แดงน้อย เจ๊กกระโดด

-พันธุ์ กข. ได้แก่ กข.1 กข.6 กข.7 กข.8 กข.15

-พันธุ์ส่งเสริม ได้แก่ ขาวดอกมะลิ 105 สันป่าตอง สขาวตาแห้ง คำผาย 41 เก้ารวง 88 ขาวปากหม้อ148

-ความเค็มของดินและคุณสมบัติทางกายภาพไม่ดี

-ป้องกันการแพร่กระจายโดยการปลูกม้โตเร็วเพื่อช่วยลดระดับน้ำเค็มใต้ดินไม่ให้เกือขึ้นมาสู่ผิวดิน พันธุ์ไม่ที่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่รับน้ำ ได้แก่ ยูคาลิปตัส กระถนณรงค์ ขี้เหล็ก สมอ สะเดา มะขามเทศ เป้นต้น ปลูกในพั้นที่สูงเหนือพ้นที่นา


-การล้างดินด้วยน้ำจืดเพื่อลดระดับความเค็มของดินให้ปฏิบัติดังนี้

1. กำจัดพืชที่ขึ้นอยู่เสียก่อน

2. ปรับผิวหน้าดินให้เรียบ

3. ไถดินให้ลึกกว่า 30 ซม. ทลายดินล่างให้เป็นร่องแล้วปรับระดับผิวดิน

4. แบ่งแปลงขนาดแปลง 1-5 ไร่ แต่ละแปลงมีคันดินดั้นโดยรอบ

5. ทดน้ำเข้าแปลงครั้งละ250-300 ลบ.ม./ไร่ น้ำจะละลายเกลือในดินและชะล้างลงสู่ดินล่าง

6. ปล่อยน้ำเข้าเพิ่มในแปลงอีก 250-300 ลบ.ม./ไร่ ทุก ๆ 2-3 วัน และตรวจสอบความเข้มข้นของเกลือที่ละลายออกมา

- การปรับปรุงดินเค็ม เพื่อช่วยเร่งการละลายเกลือออกและให้มีคุณสมบัติทางกายภาพเหมาะสมในการปลูกข้าว ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

 

ตารางที่ 3 (ต่อ)

ชนิดพืช

ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน

วิธีการจัดการดิน

 

 

 

 

 

 

 

 


- ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

1. ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอัตรา 4-5 ตัน/ไร่ ทำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานจะทำให้ดิน ร่วนซุยและช่วยเร่งการชะล้างเกลือออกไปจากดิน

2. ใส่วัสดุปรับปรุงดิน ได้แก่ แกลบ อัตราแนะนำ 2-5 ตัน/ไร่ เพื่อทำให้ดินไม่แน่นทึบ ทำให้การปักดำง่าย และรากข้าวชอนไซไปหาอาหารได้สะดวก ต้นข้าวแข็งแรงต้านทานโรคและแมลงได้ดี

3. การปลูกพืชปุ๋ยสดไถกลบลงในดินพืชปุ๋ยสดที่แนะนำได้แก่ โสนอัฟริกา โสนคางคก โสนจีนแดง โสนอินเดีย ฯลฯ ปลูกก่อนปลูกข้าวประมาณ 3 เดือน แล้วไถกลบลงไปในดิน เมื่อปุ๋ยสดอายุประมาณ 60 วัน

4. ใส่สารเคมี ได้แก่ ยิบซัม เพื่อช่วยสะเทินความเป็นด่าง และให้แคลเซียมในยิบซัมไปไล่ที่โซเดียมออกจากดินแล้วใช้น้ำชะล้างดซเดียมออกจากพื้นที่ ซึ่งจะช่วยลดความเค็มของดิน

- ปรับปรุงโดยการใช้ปุ๋ยเคมีสูตรปุ๋ยที่แนะนำคือ 16-16-18 หรือสูตร 18-12-6 หรือสูตรา 15-15-15 อัตรา 30 กก./ไร่ แบ่งใส่ 3 ครั้ง ครั้งละเท่า ๆ กัน ครั้งแรกใส่หลังปักดำ 7-10 วัน ครั้งที่สองระยะที่ข้าวแตกกอสูงสุด และครั้งที่สามใส่ระยะที่ข้าวตั้งรวงวิธีใส่ให้หว่านทั่วแปลง

ตารางที่ 3 (ต่อ)

ชนิดพืช

ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน

วิธีการจัดการดิน

2. หญ้าเลี้ยงสัตว์ พันธุ์ที่แนะนำ ได้แก่ หญ้าแพรก หญ้าชันกาด หญ้าขน หญ้ากินนี หญ้านวลน้อย และหญ้าเนเปียร์ลูกผสม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3.ไม้ยืนต้น ที่แนะนำได้แก่ ยูคาลิปตัส กระถิน ณรงค์ สะเดา ขี้เหล็ก สมอ แคบ้าน มะขามเทศ มะขามหวาน และมะขามเปรี้ยว

-ความเค็มของดินและดินระบายน้ำเลว มีน้ำท่วมขัง 3-4 เดือนในช่วยฤดูฝน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 





-ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ



-ความเค็มของดินระบายน้ำเลว มีน้ำขังที่ผิวดิน 3-4 เดือนในช่วงฤดูฝน

 

 

 






-ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

-การปรับปรุงแก้ไขขึ้นกับระดับความเค็มของดิน

1. ดินเค็มน้อยถึงปานกลาง ถ้าต้องการเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดินจากนาข้าวเป็นพื้นที่ปลูกหญ้า ให้ปฏิบัติดังนี้

1.) ทำคันดินรอยพื้นที่ปลูกหญ้าเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝน และมีประตูปิด – เปิดเพื่อระบายน้ำเข้า – ออก และช่วยในการชะล้างดินเค็ม และที่แนวคันดินด้านในให้ขุดเป็นร่องขนาดกว้างระหว่าง 1.5-2.0 เมตร ลึกประมาณ 1 เมตร เพื่อช่วยในการระบายน้ำของดินและเป็นที่สะสมน้ำเค็มก่อนที่จะระบายออกหรือสูบออก

2.)   ไถปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เกลือไปสะสมอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนี่งให้พื้นที่ปลูกหญ้า

3.)   ทำร่องระบายน้ำในพื้นที่ปลูกหญ้าขนาดกว้างประมาณ 50 ซม. และลึกประมาณ 30-50 ซม. ยาวตามขนาดของพื้นที่ และขุดให้ต่อเนื่องกับร่องระบายน้ำรอบพื้นที่ปลูกและร่องระบายน้ำในบริเวณปลูกหญ้าที่กล่าวห่างกันประมาณ 15-20 เมตร

4.) การเตรียมดินปลูกให้ไถดินคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตราระหว่าง 2-3 ตัน/ไร่ หรือวัสดุปรับปรุงดิน เช่นแกลบ อัตรา 2-4 ตัน/ไร่ เพื่อให้ดินร่วนซุย ซึ่งจะช่วยเร่งการชะล้างเกลือออกไปจากดิน การปลูกหล้าควรปลูกในช่วงฤดูฝน

2.ดินเค็มมาก ถ้าจะใช้ในการปลูกหญ้าจะต้องปฏิบัติดังนี้

1.) ทำคันดินรอบพื้นที่ปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝน และคูระบายน้ำรอบพื้นที่ปลูกด้วย พร้อมทั้งมีประตูปิด- เปิด เพื่อการระบายน้ำเข้า-ออก เมื่อมีความจำเป็น คูระบายน้ำของพื้นที่ปลูกมีขนาดเท่ากับที่กล่าวมาแล้ว

2.) ยกร่องปลูกให้มีขนาดกว้าง6-8 เมตร และมีร่องระบายน้ำระหว่างร่องปลูก มีขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร และลึกประมาณ 50-75 ซม. เพื่อช่วยการระบายน้ำของดินและช่วยในการชะล้างดินเค็มบนแปลงปลูกได้เร็วขึ้น

3.) ปรับปรุงดินบนแปลงปลูกให้ร่วนซุยด้วยการใส่วัสดุปรับปรุงดิน เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 3-4 ตัน/ไร่ เพื่อช่วยเร่งการชะล้างเกลือออกดิน

4.) การปลูกหญ้าทนเค็ม ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เพื่อหลีกเลี่ยงดินแห้งในช่วงที่หญ้าตั้งตัว ที่จะทำให้เกลือขึ้นสู่ผิวดินที่จะทำให้ความเค็มของดินเพิ่มขึ้น

- ปรับปรุงโดยการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 30-40 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 20-25 กก./ไร่ หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 อีตรา 10-15 กก./ไร่ โดยใส่โรยสองข้างแถวหญ้าที่ปลูกเมื่อหญ้าตั้งตัวหรือหลังปลูก 20-25 วัน

-การปรับปรุงแก้ไขให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

1.) ทำคันรอบพื้นที่ปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังและมีคูระบายน้ำรอบพื้นที่ปลูก เพื่อช่วยในด้านการระบายน้ำออก

2.) ยกร่องปลูกให้มีขนาดกว้าง 4-8 เมตร และระหว่างร่องปลูก มีร่องระบายน้ำขนาดกว้าง 75-100 ซม. ลึกประมาณ 75 ซม. เพื่อช่วยในการระบายน้ำของดินและเร่งการชะล้างเกลือออกจากดินบนร่องปลูก

3.) ขุดหลุมให้มีขนาด 50x50x50 ซม. หรือใหญ่กว่า คลุกเคล้าดินในหลุมปลูกด้วยวัสดุปรับปรุงดิน เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ประมาณ 10-15 กก./หลุม และพูนดินในหลุมปลูกให้สูงกว่าพื้นดินบนร่องปลูก ประมาณ 20 ซม. และควรปลูกในช่วงฤดูฝน เพื่อให้ไม่ยืนต้นที่ปลูกตั้งตัวด้วยการเจริญเติบโตตลอดฤดูฝน

- ปรับปรุงแก้ไขด้วยการใช้ปุ๋ยเคมี สูตรที่แนะนำ 16-8-8 หรือ15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 100-200 กรัม/ต้น/ปี ใส่ในปีที่ 1-3 หรือจนไม้ยืนต้นตั้งตัวได้ดี

หมายเหตุ : กลุ่มชุดดินที่ 20 ส่วนใหญ่ไม่เหมาะสมในการปลูกพืชไร่และพืชผัก ถ้าจะใช้ปลูกต้องลงทุนในการพัฒนาที่ดินหรือปรับปรุงแก้ไขสูงมาก และควรจะเลือกเฉพาะในดินที่มีความเค็มน้อย ในดินชุดกุลาร้องไห้ หรือดินชุดร้อยเอ็ด ที่มีคราบเกลือปรากฎผิวดินเล็กน้อย

ตารางที่ 4 ชนิดของพืชที่เจริญเติบโตได้ในพื้นที่ดินเค็มระดับต่าง ๆ

ค่าการนำไฟฟ้า

(dS/m)

2 - 4

4 - 8

8 –12

12 – 16ขึ้นไป

เปอร์เซ็นต์เกลือ(%)

0.12-0.25

0.25-0.5

0.5-0.75

0.75-1.0 ขึ้นไป

ชั้นคุณภาพของดิน

เค็มน้อย

เค็มปานกลาง

เค็มมาก

อาการของพืช

พืชบางชนิดแสดงอาการ

เค็มปานกลาง

พืชทนเค็มบางชนิดและพืชชอบเกลือเท่านั้นที่เติบโตให้ผลผลิตได้

พืชสวน

ถั่วฝักยาว

ผักกาด

คื่นฉ่าย

พริกไทย

แตงร้าน

แตงไทย

มะนาว

บวบ กะหล่ำดอก พริกยักษ์ กะหล่ำปลี ถั่วลันเตา มันฝรั่ง น้ำเต้า กระเทียม หอมใหญ่ หอมแดง ผักชี แตงโม ข้าวโพดหวาน ผักกาดหอม องุ่น

ผักโขม

ผักกาดหัว

มะเขือเทศ

ถั่วพุ่ม

หน่อไม้ฝรั่ง

คะน้า

กะเพรา

ผักบุ้งจีน

ชะอม

พืชไร่และพืชอาหารสัตว์

ถั่วเขียว

ถั่วแขก

ถั่วเหลือง

ถั่วแดง

ถั่วลิสง

ถั่วปากอ้า

งา

ข้าว ทานตะวัน ปอแก้ว ป่าน ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า อัญชัน มันสำปะหลัง โสนอินเดีย โสนพื้นเมือง หญ้าเจ้าชู้

ข้าวทนเค็ม คำฝอย มันเทศ

โสนอัฟริกัน โสนคางคก หญ้าขน หญ้ากินนี หญ้านวลน้อย

ฝ้าย หญ้าแพรก หญ้าไฮบริดเนเปียร์ หญ้าชันกาด หญ้าแห้วหมู

ป่าน

ศรนารายณ์

ไม้ผลและไม้ผลโตเร็ว

อาโวกาโด

กล้วย

ลิ้นจี่

มะม่วง

ทับทิม ชมพู่

แค ปาล์มน้ำมัน มะกอก มะเดื่อ

ฝรั่ง มะยม สมอ

มะม่วงหิมพานต์

กระถินณรงค์

ยูคาลิปตัส

ขี้เหล็ก

ละมุด พุทรา

มะขาม มะพร้าว

อินทผลัม

มะขามเทศ สน

สะเดา

ที่มา : เอกสารคู่มือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เรื่องดินเค็ม กลุ่มปรับปรุงดินเค็ม กองอนุรักษ์ดินและน้ำ กรมพัฒนาที่ดิน พิมพ์ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2539

back.gif (2807 bytes)forward.gif (2807 bytes)