8. สรุป
กลุ่มชุดดินที่ 25 เกิดจากการทับถมของตะกอนลำน้ำเก่าทับอยู่บนชั้นหินผุ มีสภาพพื้นทีราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ เป็นดินตื้น มีชั้นลูกรังหรือกรวดปะปนอยู่ในเนื้อดินปริมาณมากมีสภาพการระบายน้ำค่อนข้างเลว ในช่วงฤดูฝนมีน้ำขังนาน 3-4 เดือน จึงมีศักยภาพเหมาะสมในการทำนา การพัฒนาที่ดินเพื่อเพิ่มศักยภาพของดิน กะทำได้ลำบากและต้องลงทุนสูง โดยเฉพาะปัญหาเรื่องดินตื้น ซึ่งต้องขุดทำลายชั้นลูกรงออกแล้วเอาดินจากแหล่งอื่นมาใส่เป็นต้น อย่างไรก็ตามกลุ่มชุดดินนี้สามารถเลือกปลูกพืชที่มีระบบรากสั้น และมีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดีหลังการปลูกข้าว หรือสามารถเปลี่ยนสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยการพัฒนาเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์หรือปลูกป่าไม้โตเร็วทดแทน
การใช้ประโยชน์กลุ่มดินที่ 25 ควรใช้ระบบไร่นาสวนผสม คือมีการใช้ที่ดนิในการปลูกข้าว ไม้ผล ทำสวนผัก และทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไป การพัฒนาแหล่งน้ำและบ่อเลี้ยงปลา
ตารางที่ 3 สรุปการจัดการกลุ่มชุดดินที่ 6 เพื่อให้เหมาะสมในการปลูกพืชแต่ละชนิด
ชนิดพันธุ์พืช |
ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ที่ดิน |
วิธีการจัดการดิน |
1. ข้าว พันธุ์ที่แนะนำ ขาวตาหยก ไข่มุก รวงยาว สีรวง อัลฮัมดุลิลละห์ ดอนทราย เหลือง ประทิว123 อพอลโล ทุ่งทอง นวลแก้ว ขาวดอกมะลิ105 กข.21 กข23 กข7 กข13 สุพรรณบุรี90 ตะเภาแก้ว เล็บมือนาง
2.พืชไร่
2.1ข้าวโพดหวาน
2.3 ถั่วเหลือง
2.4 อ้อย
3.2ผักรับประทานผลได้แก่ พริก มะเขือ มะเขือเทศ แตงต่าง ๆ และถั่วฝักยาว
4.1 มะม่วง
4.2 ส้มเขียวหวาน
4.3 มะพร้าว
(ปลูกเฉพาะภาคใต้)
4.6 เงาะ |
-ดินขาดธาตุอาหารพืชที่จำเป็นบางอย่าง
-ดินขาดธาตุอาหารพืชบางอย่าง
-ดินขาดธาตุอาหารพืชบางอย่าง |
-ใช้ปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-20-0 อัตรา 25-40 กก./ไร่หรือ สูตร 16-16-8 อัตรา 30-40 กก./ไร่ โดยหว่านก่อนปักดำ 1-3 วัน หลังจากนั้นใช้ปุ๋ยยูเรียเป็นปุ๋ยแต่งหน้า อัตรา 5-10 กก./ไร่ ใส่เมื่อข้าวตั้งท้อง
การเตรียมพื้นที่เพาะปลูก 1).กรณีปลูกในช่วงฤดแล้งหรือหลังการเก็บเกี่ยวข้าวควรดำเนินการดังต่อไปนี้คือให้ยกร่องปลูกสูงขึ้นจากผิวดินเดิม 10-20 ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำขังแช่เมื่อมีการให้น้ำหรือมีฝนตก และควรทำร่องรอบกระทงนาและทำร่องภายในแปลงนาห่างกันประมาณ 8-12 เมตรและร่องมีความกว้าง 40-50 ซม. เป็นการช่วยการระบายน้ำผิวดินและสะดวกในการให้น้ำและเข้าไปดูแลพืชที่ปลูก 2).ในกรณีเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดินจากนาข้าวเป็นพื้นที่ปลูกพืชำร่แบบถาวรคือปลูกทั้งฤดูฝนและฤดูแล้งให้สร้างคันดินรอบพื้นที่ปลูกและภายในพื้นที่ปลูกให้ยกร่องปลูกแบบถาวร สันร่องปลูกกว้างประมาณ 1.5 เมตร ลึกประมาณ 1 เมตร บนสันร่องอาจแบ่งซอยเป็นสันร่องย่อยโดยยกแปลงให้สูงขึ้นประมาณ 10-20 ซม. และกว้างอยู่ระหว่าง 1.5 2.0 เมตร เพื่อช่วยระบายน้ำบนสันร่องและสะดวกในการที่จะเข้าไปดูแลพืชที่ปลูก -ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ได้แก่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกอัตรา 1.5-2.0ตันต่อไร่ หว่านให้ทั่วแปลงปลูกแล้วไดคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ตากดินให้แห้งประมาณ 20-30 วันก่อนที่จะย่อยดินปลูกพืช -ปลูกพืชตระกูลถั่วหรือใส่วัตถุปรับปรุงดินอย่างอื่นเช่นขี้เลื่อย แกลบ กากน้ำตาลหรือเศษพืชแล้วไดกลบไปในดิน เมื่อสลายตัวดีแล้วจะช่วยให้ดินร่วนซุย และเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน -แก้ไขโดยการใช้ปุ๋ยเคมี สำหรับสูตรอัตรา และวิธีการใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่ปลูก -ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-20-20 หรือสูตร 15-15-15 หรือสูตรอื่นที่มีธาตุอาหารพืชใกล้เคียงกัน ใช้อัตรา 50-100 กก.ต่อไร่แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละเท่า ๆ กันคือใส่รองกันหลุมก่อนปลูกและใส่เมื่อข้าวโพดอายุ 25 วันและใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กก.ต่อไร โดยใส่สองข้างแถวข้าวโพด แล้วพูนดินกลบโคน เมื่อข้าวโพดอายุ 25-30 วัน -ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 หรือสูตรอื่นที่มีเนื้อธาตุอาหารพืชใกล้เคียงกันอัตรา 30 กก.ต่อไร่แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ใส่เป็นปุ๋ยรองพื้น 15 กก.ต่อไร่และ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยที่เหลือเมื่อต้นถั่วอายุ 20-25 วัน โดยโรยปุ๋ยสองข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ ในกรณีปลูกถั่วเขียวโดยวิธีหว่านให้ใช้อัตราเดียว การปลูกถั่วเขียวที่จะให้ได้รับผลผลิตสูงควรคลุกเมล็ดด้วยเชื้อโซเบียมก่อนปลูก -ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-21 อัตรา 20-30 กก.ต่อไร่ หรือสูตร 10-20-10 อัตรา25-35 กก.ต่อไร่ (กรณีชุดดินที่มีโพแทสเซี่ยมเป็นองค์ประกอบอยู่สูง) โดยแบ่งใส่ 2 ครั้งและการใส่ให้ปฏิบัติ เช่นเดียวกับการใส่ปุ๋ยถั่วเขียวที่กล่ามาแล้ว -ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-8-8 หรือ 16-6-6 อัตรา 70-90 กก./ไร่ หรือสูตร 18-6-6 หรือ 18-8-8 อัตรา 65-85 กก./ไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละเท่ากัน ใส่ครั้งแรกหลังปลูก 1 เดือน และครั้งที่สองหลังปลูก 2-3 เดือน สำหรับการปลูกอ้อยในปีแรก ส่วนอ้อยตอใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-14 หรือ 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 40-50 กก./ไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกต้นฝนครั้งที่ 2 หลังครั้งแรก1-2 เดือนและใส่ร่วมกับปุ๋ยสูตร 20-0-0 อัตรา 25-30 กก./ไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ การใส่ปุ๋ยทั้งสอง ครั้งให้โรยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ -การเตรียมพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาการระบายน้ำของดินและน้ำท่วมให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่ที่ได้กล่าวมาแล้ว -แก้ไขโดยการใช้ปุ๋ยเคมี สำหรับสูตร อัตรา และวิธีการใส่ขึ้นอยู่กับชนิดของผังดังนี้ -ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือสูตรอื่นที่มีธาตุอาหารพืชเท่าเทียมกัน อัตรา100กก./ไร่โดยใส่ก่อนปลูก1 วันด้วยวิธีหว่านให้ทั่วทั้งแปลง แล้วกลบด้วยดินบาง ๆ และใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 20 กก./ไร่ ใส่หลังปลูก 20-25 วัน
-ใส่เคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100 ต่ำไร่ โดยใส่ก่อนปลูก 1 วัน และใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 20 กก./ไร่ ใส่หลังปลูก 25 วัน -ใส่ปุ๋ยเคมี อัตราและวิธีการใช้เช่นเดียวกับผักคะน้า
ครั้งแรก ใส่หลังย้ายปลูก 5-7 วัน ครั้ง ที่ 2 ใส่เมื่อเริ่มออกดอกหรือหลังย้ายปลูกประมาณ 1 เดือน โดยใส่สองข้างแถวแล้วกลบดิน สำหรับถั่วฝักยาวใช้ปุ๋ยสูตร 10-30-10 อัตรา 30-40 กก./ไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง เท่า ๆ กันคือ ครั้งแรกใส่รองก้นหลุม ก่อนปลูกกลบดินแล้วหยอดเมล็ด ครั้งที่ 2 ใส่เมื่อเริ่มออกดอกโดยวิธีหว่านทั่วแปลง แล้วรดน้ำทันที -การเตรียมพื้นที่ปลูกเพื่อแก้ปัญหาการระบายน้ำของดินและน้ำท่วมขังให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเตรียมพื้นปลูกพืชไร่ที่ได้กล่าวมาแล้ว -แก้ไขโดยใช้ปุ๋ยเคมี สำหรับสูตร อัตรา และวิธีการใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ผล -ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือสูตรอื่นที่มีธาตุอาหารเท่าหรือใกล้เคียงกัน อัตราใช้และวิธีใส่ดังนี้ อายุ 1-2 ปี ใส่ 1กก./ต้น โดยใส่ 2 ครั้งในช่วยเดือนมีนาคมและกันยายน อายุ 3 ปี ใส่ 1.5 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง เช่นเดียวกัน อายุ 4 ปี ใส่ 2 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง อายุ 5 ปี ใส่ 2.5 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง อายุ 6 ขึ้นไปใส่ 3 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง -ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือสูตรอื่น สูตรที่มีธาตุอาหารเท่าหรือใกล้เคียงกันอัตราและวิธีใช้ดังนี้ อายุ 1-2 ปี ใส่อัตรา 1กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 3 ปี ใส่อัตรา 1.5 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 4 ปี ใส่ 2 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 5 ปี ใส่ 2.5 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 6 ขึ้นไปใส่ 3 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี -ใช้สูตรและอัตราดังต่อไปนี้ อายุ 1 ปี ใช้สูตร 15-15-15 หรือสูตรอื่นสูตรที่มีธาตุอาหารเท่าหรือใกล้เคียงกันอัตรา 1 กก./ต้นแบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 2 ปี ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 2 กก./ต้นแบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 3-4 ปี ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 2 กก./ต้นแบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 5 ปี ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 2.5 กก./ต้นแบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 6 ปีขึ้นไป ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 3 กก./ต้นแบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี -ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ 2 ครั้ง/ปี ดังนี้ อายุ 1 ปี ใช้อัตรา 1 กก./ต้น อายุ 2 ปี ใช้อัตรา 2 กก./ต้น อายุ 3 ปี ใช้อัตรา 3 กก./ต้น อายุ 4 ปี ใช้อัตรา 4 กก./ต้น อายุ 5 ปี ใช้อัตรา 5 กก./ต้น -อายุ 1 ปี ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1.5 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ปีละ 4-5 ครั้ง -อายุ 2 ปี ใส่ปุ๋ยสูตร 15-10-30 อัตรา 2.5 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ปีละ 4-5 ครั้ง -อายุ 3 ปี ใส่ปุ๋ยสูตร 15-10-30 อัตรา 3.5 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง คือช่วงต้นกลางและปลายฤดูฝน -อายุ 4 ปี ใส่ปุ๋ยสูตร 10-10-30 อัตรา 4.5 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง คือช่วงต้น กลางและปลายฤดูฝน -อายุ 5 ปีขึ้นไป ใส่ปุ๋ยสูตร 10-10-30 อัตรา 5.5 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้งคือ ช่วงต้นกลางและปลายฤดูฝน - อายุ 1-3 ปี ยังไม่ให้ผล ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 0.5-1.0 กก./ต้น ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ในตอนต้นและตอนปลายฤดูฝนสำหรับปีต่อไปใส่ปุ๋ยเพิ่มขึ้น 0.5 กก./ต้น/ปี ให้ใส่ปุ๋ยหลังจากตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชแล้ว โดยใส่ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ เงาะที่ให้ผลแล้วแบ่งใส่ 3 ช่วง ครั้งแรก ใส่สูตร 15-15-15 อัตรา 2.0-3.0 กก./ต้น หลังจากเก็บผลผลิตและได้ตัดแต่งกิ่งพร้อมกำจัดวัชพืชแล้ว ครั้งที่สอง ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 อัตรา 2.0-3.0 กก./ต้น ก่อนการออกดอก ครั้งที่ 3 ใส่ปุ๋ย 9-24-24 หรือ 15-15-15 อัตรา 1.0-2.0 กก./ต้น ใส่เมื่อติดผลแล้ว และในระยะก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-17-2 อัตรา 1-2 กก./ต้น |
ุ4.7 ทุเรียน |
- ทุเรียนอายุ 1-2 ปี ยังไม่ให้ผล ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 0.5 กก./ต้น โดยแบ่งใส่ 2-3 ครั้ง ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์และให้เพิ่มขึ้น 0.5 กก./ต้น/ปี ทุเรียนที่ให้ผลแล้วครั้งแรกใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 3.0-5.0 กก./ต้น หลังจากเก็บผลผลิตแล้วครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา3.0-5.0 กก./ต้น ใส่ก่อนออกดอก 1-2 เดือน ครั้งที่ 3 ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-21 หรือ 8-24-24 หรือ 12-12-17-2 อัตรา 1.0-2.0 กก./ต้น หลังจากออกดอกประมาณ 60 วัน |
|
4.8 มังคุด |
- มังคุดยังไม่ให้ผล ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 0.5 กก./ต้น/อายุ 1 ปี โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ในต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน หลังจากเก็บผลแล้ว ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 กก./ต้น ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของต้นใหญ่หรือเล็ก ก่อนออกดอกและติดผลเล็ก ๆ ใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-17-2 อัตรา 1-2 กก./ต้น |
|
4.9 ลองกอง |
- ยังไม่ให้ผล ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 0.5 กก./ต้น/อายุ 1 ปี โดยแบ่งใส่ 2 ครั้งในช่วงต้นและปลายฤดูฝน เมื่อให้ผลผลิตแล้วใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ประมาณ 0.5-1 กก./ต้น |
|
4.10 โกโก้ |
-อายุ 1 ปี ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 0.2 กก./ต้น/ครั้ง อายุ 3 ปี ใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-17-2 อัตรา 0.6 กก./ต้น/ครั้ง อายุ 4 ปี ใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-17-2 อัตรา 0.7 กก./ต้น/ครั้ง โดยแบ่งใส่ 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ใส่ก่อนฤดูฝน ครั้งที่ 2 ใส่กลางฤดูฝนและ ครั้งที่ 3 ใส่ปลายฤดูฝน |
|
5.ไม้ยืนต้น สนปฏิพัทธ์ กระถิน เทพา และยูคาลิปตัส |
- น้ำท่วมขัง และดินมีการระบายน้ำเลว |
- การเตรียมพื้นที่ปลูกให้ปฏิบัติอย่างเดียวกับการเตรียมพื้นที่ปลูกไม้ผล ส่วนการจัดการอย่างอื่นไม่จำเป็น |
6.หญ้าเลี้ยงสัตว์ |
-น้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝน |
-ทำคันดินรอบพื้นที่เพาะปลูก ไม่ให้มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ปลูก - ติดตั้งปั้มน้ำออกจากพื้นที่ในช่วงที่มีฝนตกชุกหรือมีปริมาณมาก |
หมายเหตุ: สูตรปุ๋ยที่แนะนำสำหรับพืชต่าง ๆ ที่กล่าว อาจใส่ปุ๋ยสูตรอื่นที่มีธาติอาหารพืชเท่าหรือใกล้เคียงกันได้ และที่มีขายในตลาดท้องถิ่น