2. ขั้นตอนการดำเนินงาน
การดำเนินงานของโครงการศึกษามีขั้นตอน ดังนี้
2.1การศึกษารวบรวมและบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและสมบัติของกลุ่มชุดดินแต่ละกลุ่ม ข้อมูลดังกล่าว ประกอบด้วย
2.1.1 ข้อมูลกายภาพและสิ่งแวดล้อมของดิน ซึ่งประกอบด้วย
-สภาพภูมิอากาศ ซึ่งได้แก่ ปริมาณน้ำฝน ความชื้นสัมพัทธ์ และอุณหภูมิในภาคต่าง ๆที่พบดินกลุ่มนั้นๆแพร่กระจายอยู่
-วัตถุต้นกำเนิดของดินในกลุ่มอย่างกว้าง ๆ
-สภาพธรณีสันฐานที่ดินชนิดต่าง ๆ ในกลุ่มแพร่กระจายอยู่
-สภาพพื้นที่และความลาดชัน
-สภาพการระบายน้ำ การเก็บกักน้ำ การซาบซึมน้ำแต่ละชุดดินในกลุ่มและของกลุ่มดินเอง
-พืชพรรณและการใช้ประโยชน์ที่ดินของกลุ่มดินโดยทั่วไป
-ประมาณกรวดหินที่บางบนผิวดิน (ถ้ามี)
-สภาพการชะล้างพังทลายของชุดดินต่างๆในกลุ่ม
-การแพร่กระจายของกลุ่มดินที่พบในภาคและจังหวัดต่างๆ
2.1.2 ข้อมูลเกี่ยวข้องกับการจำแนกดิน ของแต่ละชุดดินในกลุ่มในระดับวงศ์ (family) ตามระบบอนุกรรมวิธานดิน
2.1.3 ข้อมูลลักษณะของดิน
เป็นการบรรยายถึงลักษณะหน้าที่ตัดของแต่ละชุดดินในกลุ่ม
ได้แก่
ลักษณะการเรียงชั้นของดิน
ความตื้นลึกของดิน
ปริมาณและชนิดของก้อนกรวดหินภายในชั้นดิน
(ถ้ามี) ลักษณะของเนื้อดิน
โครงสร้างของดิน สีดิน จุดประ
(ถ้ามี) และปฏิกิริยาของดิน
ทั้งของดินบนและดินล่าง
2.1.4 ระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินทำการประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของแต่ละชุดดินในกลุ่มและของกลุ่มดินโดยรวม โดยใช้วิธีการประเมินในคู่มือการวินิจฉัยคุณภาพของดินในประเทศไทย (Soil Interepretation Handbook for Thailand 1973 ) หรือวิธีการของกองสำรวจและจำแนกดิน กรมพัฒนาที่ดิน ความอุดมสมบูรณ์ดังกล่าวนี้ประเมินโดยใช้สมบัติทางเคมี 5 ประการของดินคือประมาณอินทรีย์วัตถุในดิน (Organic Matter) ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดิน(Cation Exchange Capacity) เปอร์เซ็นต์ความอิ่มตัวด้วยธาตุที่มีฤทธิ์เป็นด่าง (Base Saturation)ปริมาณธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโปแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ได้ในดิน (Available Phosphorous andPotassium) โดยจะพิจารณาเฉพาะดินบนในระดับความลึก 0-30 ซม.