4. การประเมินความเหมาะสมของดินสำหรับการปลูกพืชต่าง ๆ
เมื่อพิจารณาถึงสภาพพื้นที่ ลักษณะเนื้อดินและการระบายน้ำของดิน กลุ่มชุดดินที่ 26 มีเหมาะสมในการปลูกพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้นและพืชผัก ซึ่งเกษตรกรก็ได้ใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชไร่ ไม้ผลและพืชผักอยู่แล้ว ซึ่งพอสรุปชั้นความเหมาะสมของดินตามตารางที่ 2 ดังนี้
ตารางที่ 2 : ชั้นความเหมาะสมของกลุ่มชุดดินที่ 26 สำหรับการปลูกพืชชนิดต่าง ๆ
ชนิดพืช |
ชั้นความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืชเมื่อดินมีความลาดชันต่างกัน | หมายเหตุ |
||
26 B 2-5% |
26 C 5-12% |
26 D 12-20% |
||
ข้าว พืชไร่ แตงโม ถั่วลิสง สับปะรด ข้าวโพดหวาน กล้วย มะละกอ พืชผักต่าง ๆ ไม้ยืนต้น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว มะม่วงหิมพานต์ กาแฟ โกโก้ สะตอ ไม้โตเร็ว ไม้ผล เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง ขนุน ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ |
3t
1 1 1 1 1 1 1
1 1 1 1 1 1 1 1
1 1 1 1 1 1 |
3t
1t 1t 1t 1t 1t 1t 1m
1 1 1t 1 1 1t 1 1
1 1 1 1 1 1 |
3t
2e 2e 2e 2e 2t 2t 2e
1t 1t 2t 1t 1t 1t 1t 1t
1t 1t 1t 1t 1t 1t |
-
ในสภาพปัจจุบันไม่สามารถปลูกพืชไร่ได้ในช่วงฤดูแล้งถ้าไม่มีแหล่งน้ำที่เพียงพอ |
หมายเหตุ : 1 การแบ่งชั้นความเหมาะสมของดินสำหรับการปลูกพืชแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ
ชั้นที่ 1 เหมาะสม
ชั้นที่ 2 ไม่ค่อยเหมาะสม
ชั้นที่ 3 ไม่เหมาะสม
2 สัญลักษณ์ที่แสดงถึงข้อจำกัดในการปลูกพืช
e มีศักยภาพในการเกิดการชะล้างพังทลายรุนแรง
m หมายถึง ดินมีความชื้นไม่เพียงพอในการปลูกพืชไร่และพืชผัก
t สภาพพื้นที่ไม่เหมาะสม ความลาดชันสูง ยากในการกักเก็บน้ำ
3 การจัดชั้นความเหมาะสมของดินสำหรับการเพาะปลูกในฤดูฝน และฤดูแล้งเป็นการทำการเกษตรแบบอาศัยน้ำฝน