6. การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 52 เพื่อให้เหมาะสมในการปลูกพืช

        6.1 การจัดการเกี่ยวกับดินตื้น ในกรณีที่จะใช้ในการปลูกพืชไร่ ควรเลือดดินที่มีเนื้อดินบนหนากว่า 15 ซม. ขึ้นไปและเลือกพืชไร่รากตื้นมาปลูก เช่น ข้าวโพด ข้าวฟาง ถั่วเขียว ถั่วลิสง และอื่น ๆ ส่วนในกรณีที่จะใช้ปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ควรขุดหลุมให้มีขนาด 1x1x1 เมตร แล้วนำหน้าดินหรือเนื้อดินจากที่อื่นมาผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ เช่นปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อัตรา 20-30 กก./หลุม เมื่อผสมแล้วนำกลบลงในหลุมก่อนปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น

        6.2 การจัดการเกี่ยวกับดินเป็นด่าง การจัดการต้องทำให้ดินร่วนซุย เพื่อน้ำฝนที่ตกลงมาจะได้ชะล้างแคลเซี่ยมและหรือแมกนีเซียมคาร์บอเนต ลงไปในส่วนลึกของหน้าตัดดิน โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่นปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดค่าความเป็นด่างให้ต่ำลง นอกจากที่กล่าวแล้วอาจจะใส่กำมะถัน หรือกรดกำมะถันลงไปในดินก็จะช่วยลดความเป็นด่างของดินลง แต่เป็นวิธีที่ลงทุนค่อนข้างสูง

    ตารางที่ 2 ชั้นความเหมาะสมของกลุ่มชุดดินที่ 52 สำหรับการปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ตามความหนาของชั้นดิน

 

ชนิดพืช

ชั้นความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืชต่างๆ

 

หมายเหตุ

หน้าดินหนากว่า

25 ซม.

หน้าดินหนาน้อยกว่า

25 ซม.

ข้าว

พืชไร่

ข้าวไร่

ข้าวโพด

ข้าวฟ่าง

ถั่วเหลือง

ถั่วเขียว

ถั่วลิสง

มันสำปะหลัง

อ้อย

ฝ้าย

งา

แตงโม

พืชผักต่าง ๆ

ไม้ผล-ไม้ยืนต้น

มะม่วง

ขนุน

มะละกอ

น้อยหน่า

กล้วย

มะพร้าว

มะม่วงหิมพานต์

ยางพารา

ยูคาลิปตัส

หญ้าเลี้ยงสัตว์

3t

 

1

1

1

1k

1k

1k

1

1

2g

1g

1k

1w

 

2g

2g

1g

1g

1g

2g

2g

3gk

2g

1

3t

 

1g

1g

1g

1gk

1gk

1gk

1g

1g

2g

2g

2gk

1gw

 

2g

2g

1g

1g

1g

2g

2g

3gk

2g

1

1) การปลูกพืชไร่และพืชผัก ทำเฉพาะในช่วงฤดูฝน ส่วนในฤดูแล้งไม่สามารถปลูกได้ เนื่องจากขาดแคลนน้ำ เพราะไม่มีระบบชลประทานเข้าถึงมีปลูกบ้างเฉพาะบริเวณที่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้กลุ่มชุดดินนี้ในการปลูกพืชไร่รากตื้นและพืชผักต่าง ๆ ควรเน้นด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและการรักษาความชื้นในดิน

 

 

 

2) การปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นควรเตรียมหลุมปลูกเป็นพิเศษ คือขุดหลุมให้โตกว่าปรกติและหาหน้าดินจากที่อื่นมาใส่ในหลุมปลูกให้เต็มและคลุกเคล้ากับปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

 

 

 

3) การพัฒนาทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ควรเน้นทุ่งหญ้าผสมถั่วเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารสัตว์

    หมายเหตุ : 1 การแบ่งชั้นความเหมาะสมของกลุ่มชุดดินที่ 52 สำหรับการปลูกพืช แบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ

                            ชั้นที่1 เหมาะสม

                            ชั้นที่ 2 ไม่ค่อยเหมาะสม

                            ชั้นที่ 3 ไม่เหมาะสม

                    2. สัญลักษณ์ที่แสดงถึงข้อจำกัดในการปลูกพืช

                            g หมายถึง ดินตื้นมีชั้นเศษหิน กรวดหรือลูกรังอยู่ตื้นจนเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของรากพืช

                            k หมายถึง ดินเป็นด่างจัด เนื่องจากมีก้อนปูนปนอยู่ในเนื้อดินเป็นปริมาณมาก

                            t หมายถึง สภาพพื้นที่ไม่อำนวยต่อการปลูกพืชบางชนิด เช่น สูงไป เก็บกักน้ำไม่อยู่

                           w หมายถึง มักขาดแคลนน้ำในการปลูกพืช

          การจัดการอีกอย่างหนึ่งคือการคัดเลือกพันธุ์พืชที่สามารถขึ้นได้ดีในดินที่เป็นด่าง เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ฝ้าย มะละกอ น้อยหน่า ฯลฯ มาปลูกก็จะทำให้การใช้กลุ่มดินชุดที่ 52 มีประสิทธิภาพ

        6.3 การจัดการเกี่ยวกับความชื้นในดิน เนื่องจากกลุ่มชุดดินนี้มักขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูกและมีความชื้นไม่เพียงพอต่อการปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง จึงควรใช้วัสดุ เช่น ฟางข้าว เศษหญ้า หรือต้นซังข้าวโพด – ข้าวฟ่าง คลุมหน้าดินระหว่างแถวพืชที่ปลูก และมีการปลูกพืชคลุมดินในสวนไม้ผลหรือไม้ยืนต้น เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน ถ้าเป็นไปได้ควรมีการพัฒนาแหล่งน้ำในไร่นาให้กระจายในบริเวณพื้นที่เพาะปลูก เพื่อช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินในการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งได้

        6.4 การปรับปรุงและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถึงแม้ว่าชุดดินนี้จะมีความอุดมสมบูรณ์สูง แต่เมื่อเพาะปลูกพืชไปนาน ๆ ย่อมจะลดลง จึงควรดำเนินการดังต่อไปนี้

            6.4.1 การจัดระบบการปลูกพืชบำรุงดิน ได้แก่การปลูกพืชตระกูลถั่วสลับกับการปลูกพืชหลัก การปลูกพืชปุ๋ยสดแล้วไถกลบลงดิน การปลูกพืชตระกูลถั่วแซมระหว่างแถวพืชหลัก การปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินในสวนผลไม้และไม้ยืนต้น ซึ่งระบบการปลูกพืชที่กล่าวจะช่วยรักษาและปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ได้อีกทางหนึ่ง

            6.4.2 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก นอกจากเพิ่มธาตุอาหารพืชแล้วยังช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินอีกด้วย โดยเฉพาะด้านความร่วนซุย และความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน อัตราการใช้อยู่ระหว่าง 0.5-1.0 ตันต่อไร่

            6.4.3 การใช้ปุ๋ยเคมี เมื่อมีการใช้ที่ดินปลูกพืชไปนาน ๆ ความอุดมสมบูรณ์ของดินย่อมเสื่อมลง หรือดินอาจขาดธาตุอาหารพืชที่จำเป็นบางอย่าง จึงต้องมีการใช้ปุ๋ยเคมีสำหรับสูตร อัตราและวิธีการใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ซึ่งได้สรุปไว้ในตารางที่ 3

 

   

 

back.gif (2807 bytes)forward.gif (2807 bytes)