8. สรุป
กลุ่มชุดดินที่ 52 ประกอบด้วยชุดดินบึงชนัง และชุดดินตาคลี เป็นดินตื้นถึงตื้นมาก พบชั้นก้อนหินปูนหรือเศษหินปูนภายในความลึก 50 ซม. จากผิวดินบนเป็นส่วนใหญ่ และเกิดบริเวณที่เหลือค้างจากการกร่อนของหินปูนและที่ลาดเชิงเขาหินปูน และหินอัคนีเนื้อละเอียดสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด ความลาดเทอยู่ระหว่าง 1-5%
ลักษณะเนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียว สีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินเหนียวปนก้อนปูนหรือปูนมาร์ล สีเทาเข้ม สีน้ำตาลเข้มมากปนเทา สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงเป็นด่างแก่ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 7.0-8.5 ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง
ศักยภาพของชุดดินกลุ่มนี้เหมาะสมในการปลูกพืชไร่รากตื้นและพืชผัก ถ้ามีหน้าดินหนากว่า 15 ซม. และเหมาะสมในการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นบางชนิด แต่จะต้องเตรียมหลุมปลูกเป็นพิเศษ คือขุดหลุมปลูกให้ใหญ่และหาหน้าดินจากที่อื่นมาใส่ก่อนปลูก
ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินที่สำคัญ ได้แก่ปัญหาดินตื้น ต้องจัดการเป็นพิเศษ ดินเป็นจะด่างจะทำให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชบางชนิดถูกตรึง หรือไม่ละลายมาเป็นประโยชน์ต่อพืช ทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารบางชนิด คือมีใบเหลืองและชงักการเจริญเติบโต
การจัดการดิน ควรเน้นด้านการเลือกชนิดพืช พืชรากตื้น และขึ้นได้ดีในดินต่างมาปลูกและควรมีหน้าดินที่ไม่มีก้อนปูนหรือเศษหินปูนปะปนอยู่มาก มีความหนามากกว่า 15 ซม. ในกรณีที่จะใช้ปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นต้องขุดหลุมปลูก การรักษาความชื้นในดิน และการพัฒนาแหล่งน้ำมีความจำเป็นสำหรับกลุ่มชุดดินนี้ ถ้าจะใช้ในการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้ง
การใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมคือปลูกพืชไร่รากตื้นและพืชผัก และปลูกไม้ผลบางชนิด เช่น มะละกอ น้อยหน่า ทับทิม มะม่วง ขนุน ฯลฯ แต่การใช้ประโยชน์ที่แนะนำได้แก่ การเกษตรแบบผสมผสานระหว่างการปลูกพืชไร่-พืชผัก และพัฒนาทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือการปลูกพืชไร่-พัฒนาทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และปลูกไม้ผลโตเร็วบางชนิด ซึ่งควรเป็นกิจกรรมที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน
ตารางที่ 3 สรุปการจัดการกลุ่มชุดดินที่ 52 เพื่อให้เหมาะสมแก่การปลูกพืชแต่ละชนิดที่แนะนำ
ชนิดพืช |
ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน |
วิธีการจัดการดิน |
1. พืชไร่ |
- ดินตื้นและดินมีความชื้นในดินต่ำในบางช่วง
|
- เลือกดินที่มีหน้าดินหนากว่า 15 ซม. ไม่มีก้อนปูนหรือเศษหินปะปนอยู่มาก - ไถเตรียมดินให้ลึกกว่า 15 ซม. พร้อมกับใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-1.5 ตัน/ไร่ เพื่อช่วยทำให้ดินร่วนซุยยิ่งขึ้น หรือปลูกพืชปุ๋ยสดแล้วไถกลบลงดิน เมื่อปุ๋ยพืชสดอายุ 60 วัน หรือออกดอกประมาณ 50% พันธุ์พืชปุ๋ยสดที่แนะนำได้แก่ ปอเทือง หว่านเมล็ดพืชปุ๋ยสดในกลางเดือนเมษายนหรือต้นเดือนพฤษภาคม - เลือกพันธุ์พืชรากตื้นมาปลูก - ใช้วัสดุคลุมดิน เช่น ฟางข้าว เศษหญ้า ตอซังข้าวโพด ข้าวฟ่างหรือวัสดุอย่างอื่น โดยเฉพาะการปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง เมื่อวัสดุที่กล่าวสลายตัวจะช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินอีกทางหนึ่ง - เลือกพันธุ์พืชที่สามารถขึ้นได้ดีในดินที่เป็นด่าง เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มะละกอ น้อยหน่า มะพร้าว ฯลฯ - พัฒนาแหล่งน้ำเสริมในการเพาะปลูก ได้แก่แหล่งน้ำในไร่นา หรือปรับปรุงแหล่งน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติ - การไถเตรียมดินปลูกให้ลึกและทำให้ดินร่วนซุย เมื่อเวลาฝนตกจะได้ชะเอาปูนบางส่วนลงไปในส่วนลึกของหน้าตัดดิน พร้อมกับใส่ปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยลดความเป็นด่างของดินลง - ใส่สารเคมีแก้ความเป็นด่างของดิน เช่น ผงกำมะถัน กรดกำมะถัน จะช่วยลดความเป็นด่างของดินและเพิ่มธาตุรองได้แก่ ซัลเฟอร์ให้แก่ดิน เมื่อมีการปลูกพืชตระกูลถั่ว |
1.1 ถั่วเหลือง ถั่วเขียว หรือ ถั่วลิสง
1.2 ข้าวโพด-ข้าวฟ่าง
1.3 อ้อย |
- ดินขาดธาตุอาหารพืชบางอย่างและความอุดมสมบูรณ์เสื่อมลง |
- ปลูกพืชตระกูลถั่วสลับกับพืชไร่หรือปลูกพืชตระกูลถั่วแซมระหว่างแถวพืชหลัก หรือปลูกพืชปุ๋ยสดแล้วไถกลบเมื่อพืชปุ๋ยสดอายุประมาณ 60 วันหรือออกดอกประมาณ 50% - ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร อัตรา และวิธีการใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชดังนี้ - ใส่ปุ๋ยสูตร 0-45-0 อัตรา 15-20 กก.ต่อไร่ หรือสูตร 0-40-0 อัตรา 20-25 กก./ไร่ หรือสูตร 0-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่ง ใส่รองก้นร่องปลูกหรือโรยข้างแถวปลูก แล้วพรวนดินกลบเมื่อถั่วอายุ 20-25 วัน และพ่นเหล็กซัลเฟต 0.5% ทางใบ หลังปลูก 3-5 ครั้ง - ใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 40-60 กก.ต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 20-30 กก./ไร่ ในกรณีที่ดินมีธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชสูง ถ้าในกรณีที่มีอยู่ต่ำให้ใช้ปุ๋ยสูตร 20-20-0 อัตรา 40-50 กก./ไร่ หรือสูตร 23-23-0 อัตรา 35-45 กก./ไร่ หรือสูตร 25-25-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่ง ใส่โดยโรยข้างแถวปลูกแล้วพรวนดินกลบ หลังปลูก 20-25 วัน - ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-8-8 หรือสูตร 16-16-16 อัตรา 70-90 กก./ไร่ หรือสูตร 18-6-6 หรือ 18-8-8 อัตรา 65-85 กก.ต่อไร่ เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งการใส่ให้แบ่งครึ่งใส่สำหรับอ้อยปลูกใส่ครั้งแรกหลังปลูก 1 เดือน ครั้งที่สองใส่หลังปลูก 2-3 เดือน ส่วนอ้อยตอใส่ครั้งแรกต้นฝนและครั้งที่สองหลังจากครั้งแรก 30-45 วัน วิธีใส่โรยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ |
1.4 ละหุ่ง
1.5 งา
1.6 ฝ้าย
|
-ดินขาดธาตุอาหารพืชบางอย่างหรือมีไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต |
- ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 25-30 กก./ไร่ หรือ 46-0-0 อัตรา 15-20 กก.ต่อไร่ วิธีใส่พันธุ์ต้นพันธุ์ใหญ่โรยรอบโคนแล้วพรวนดินกลบส่วนพันธุ์อายุสั้นโรยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ ใส่หลังปลูก 20-25 วัน - ใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 25-30 กก.ต่อไร่ หรือ 46-0-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ ใส่โดยโรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วัน แล้วพรวนดินกลบหรือหว่านทั้งหมดถ้าปลูกแบบหว่าน - ใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 20-30 กก.ต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ ถ้าในกรณีดินมีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชต่ำให้ใช้ปุ๋ยสูตร 20-20-0 หรือ 23-23-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ หรือสูตร 16-20-0 อัตรา 35-45 กก./ไร่ ใส่โดยโรยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบหลังปลูก 20-25 วัน -ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดไม่เล็กกว่า 75x75x75 ซม. แล้วหาหน้าดินมาใส่และผสมคลุกเคล้ากับปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 20-30 กก./หลุม ก่อนปลูก - ปลูกพืชคลุมดินระหว่างแถวไม้ผล - พัฒนาแหล่งน้ำเสริมในการเพาะปลูก - ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร อัตรา และวิธีการใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ผล ดังนี้ |
2.1 มะม่วง
|
- เตรียมหลุมปลูก ใส่ปุ๋ยสูตร 0-3-0 อัตรา 500 กรัม/ต้น คลุกเคล้ากับดินในหลุมปลูก - ก่อนตกผล (0-4 ปี) ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 400-500 กรัม/ต้นxอายุปี หรือสูตร 15-30-15 อัตรา 300-400 กรัม/ต้นxอายุปี ร่วมกับปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 200-250 กรัม/ต้นxอายุปี หรือ 46-0-0 อัตรา 100-125 กรัม/ต้นxอายุปี แบ่งใส่ปุ๋ยผสม 2 ครั้ง ๆ ละเท่า ๆ กัน โดยหว่านให้สม่ำเสมอรอบบริเวณทรงพุ่มห่างจากโคนต้นประมาณ 30 ซม. แล้วพรวนดินกลบหรือใส่ปุ๋ยสูตร 20-20-10 อัตรา 500-600 กรัม/ต้นxอายุปี แบ่งใส่ 4 ครั้ง ครั้งละเท่า ๆ กันช่วงระยะเวลาที่ใส่คือเดือนมีนาคม พฤษภาคม สิงหาคม และตุลาคม - ตกผลแล้ว ใส่ปุ๋ยสูตร 14-9-20 หรือ 15-5-20 อัตรา 500-600 กรัม/ต้นxอายุปี ร่วมกับปุ๋ยสูตร 14-0-20 อัตรา 500-600 กรัม/ต้นxอายุปี แบ่งใส่ปุ๋ยผสม 2 ครั้ง ๆ ละเท่า ๆ กัน หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วและปุ๋ยเดี่ยวใส่ครั้งที่ 3 หลังติดผลแล้วหรือใส่ปุ๋ยสูตร 15-5-20 อัตรา 800-900 กรัม/ต้นxอายุปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง ครั้งละเท่า ๆ กัน - ควรใส่ปุ๋ยสูตร 14-12-12 หรือ 20-15-15 อัตรา 1 กก./ต้น ระยะต้นอ่อนถึงก่อนออกดอก หลังจาก 1 ปีขึ้นไปใส่ประมาณ 1-1.5 กก./ต้น - ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-10 อัตรา 100-200 กรัม/ต้น/ครั้ง อายุ 1 3 ปี ใส่ 6 ครั้งต่อปี อายุ 4-6 ปี ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หนึ่งครั้งต่อปี อัตรา 20-30 กก./ต้น ใส่ห่างต้น - ก่อนออกดอก 3 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 กก./ต้น/ปี - ปลายฤดูฝนใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-14 อัตรา 1-2 กก./ต้น/ปี |
|
2.4 มะขามหวาน |
- อายุ 1-2 ปี ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก 30-50 กก./ต้น/ปี หรือใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 450 กรัม/ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง ๆ ละ 100,150 และ 200 กรัม ตามลำดับ อายุ 3-5 ปี หรือติดผลแล้วควรใส่ปุ๋ยผสมที่มีฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูง เช่น สูตร 12-12-17 , 13-13-21 หรือ 14-14-14 อัตราที่ใส่ปีละครึ่งหนึ่งของอายุต้นมะขาม โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน หว่านให้สม่ำเสมอรอบบริเวณทรงพุ่ม ห่าจากโคนต้นประมาณ 30 ซม. แล้วพรวนดินกลบ - อายุเกิน 6 ปีขึ้นไป หรือมะขามติดผลเต็มที่แล้วให้ใส่ปุ๋ยดังนี้ 1) ระยะพักตัว ให้ปุ๋ยทางใบสูตร 11-45-11 หรือ 10-52-17 ให้ทุก 2-3 สัปดาห์ เพื่อช่วงให้มะขามออกดอกมาก 2) ระยะแตกใบอ่อน ให้ปุ๋ยทางใบสูตร 11-45-11 หรือ 10-52-17 พ่นทุก ๆ 7 วัน 3) ระยะเริ่มออกดอก ให้ปุ๋ยทางใบสูตร 11-45-11 หรือสูตร 10-52-17 หรือ 15-30-17 ก็ได้ 4) ระยะเริ่มติดฝัก พ่นด้วยสารอิมเบลเสลลิน 1 หลอด (50 มิลลิกรัม) ต่อน้ำ 100 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน 5) ระยะติดฝักเล็ก ให้ปุ๋ยทางใบสูตร 30-20-10 อัตรา 2-3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน 6) ระยะฝักขนาดกลาง ให้ปุ๋ยทางใบสูตรเท่าเช่น 15-15-15 หรือ 20-20-20 อัตราที่ใช้ตามคำแนะนำในสลาก 7) ระยะฝักขนาดใหญ่แล้ว ให้ปุ๋ยทางใบสูตร 12-22-32 หรือ 6-30-30 อัตราที่ใช้ตามคำแนะนำในสลาก |
|
3. ผัก
3.2 ผักรับประทานผล
3.3 ผักรับประทานหัวและราก |
- ความร่วนซุยของดินไม่ค่อยดีเมื่อใช้เพาะปลูกนาน ๆ
- ดินขาดธาตุอาหารพืชบางอย่าง |
- ให้ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอัตรา 1-2 ตันต่อไร่ หว่านให้ทั่วแปลงแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากับดินขณะเตรียมดินปลูก หรือมีการปลูกพืชปุ๋ยสดสลับกับการปลูกผักแล้วไถกลบลงดินเมื่อสลายตัวดีแล้วจะช่วยทำให้ดินร่วนซุยยิ่งขึ้น - ปรับปรุงแก้ไข้โดยการใช้ปุ๋ยเคมี สูตร อัตรา และวิธีการใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ดังนี้ ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 40-50 กก./ไร่ หรือสูตร 16-16-16 อัตรา 35-40 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละเท่า ๆ กัน ครั้งแรกใส่หลังย้ายกล้าปลูก 5-7 วัน ครั้งที่สอง ใส่หลังครั้งแรก 20-25 วัน หรือใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 อัตรา 25-30 กก./ไร่ร่วมกับสูตร 21-0-0 อัตรา 20-25 กก./ไร่หรือ 46-0-0 อัตรา 8-10 กก./ไร่ การใส่ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ครั้งแรกทั้งหมดหลังย้ายกล้าปลูก 5-7 วัน ครั้งที่สองใส่ปุ๋ยเดี่ยว หลังครั้งแรก 20-25 วัน - ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 60-65 กก.ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละเท่า ๆ กัน ครั้งแรกใส่หลังย้ายกล้าปลูก 5-7 วัน ครั้งที่ 2 เมื่อเริ่มออกดอกหรือหลังย้ายกล้าปลูก 30 วัน
- หรือใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 อัตรา 40-50 กก./ไร่ เป็นการใส่ปุ๋ยครั้งแรกและใส่ทั้งหมด สำหรับการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 25-30 กก./ไร่ หรือ 46-0-0 อัตรา 10-15 กก./ไร่ - ใส่ปุ๋ยสูตร 16-8-14 อัตรา 60-70 กก.ต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละเท่า ๆ ครั้งแรก ใส่รองก้นหลุมก่อนปลูกส่วน ครั้งที่สอง ใส่สองข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ ใส่หลังปลูกแล้ว 30 วัน |