1. การพัฒนาระบบข้อมูล เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง
  1.1 เร่งรัดจัดทำข้อมูลดิน โดยเฉพาะการสำรวจและจำแนกดิน มาตราส่วน 1:25,000 โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์(GIS)ให้แล้วเสร็จ ทั้งประเทศประมาณปี 2549 เพื่อสอดคล้องกับข้อมูลภาพถ่ายและการจัดทำสินทรัพย์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งการปรับปรุงข้อมูลสภาพการใช้ที่ดิน ให้ถูกต้องทันสมัย
  1.2 วางแผนและกำหนดเขตการใช้ที่ดินที่เหมาะสมเพื่อการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
  1.3 กำหนดเขตความเหมาะสมของดินกับสินค้าเกษตรเป็นรายพืชโดยนำระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(GIS) มาใช้แบ่งการผลิตสินค้าออกเป็น 3 กลุ่มคือ
กลุ่มที่ 1. สินค้าผลิตเพื่อการส่งออกอาทิ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน กาแฟ สับปะรด ทุเรียน ลำไย
กลุ่มที่ 2. สินค้าผลิตเพื่อใช้ในประเทศ อาทิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาร์มน้ำมัน มันฝรั่ง
กลุ่มที่ 3. สินค้าผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการอาทิ ถั่วเหลือง
  1.4 จัดทำแผนพัฒนาทรัพยากรที่ดินระดับตำบลในพื้นที่ที่มีศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรชุมชน
โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วมวิเคราะห์พื้นที่ใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือก การผลิตพืชและการจัดการดิน
ตามความต้องการและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่
  1.5 จัดทำระบบฐานข้อมูลดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินสนับสนุนศูนย์บริการและถ่าย ทอดเทคโนโลยี การเกษตรชุมชนเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรและเป็นศูนย์การเรียนรู้ ของชุมชนที่ยั่งยืน
  1.6 ติดตามสถานการณ์การใช้ที่ดินในพื้นที่ทำการเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจสำคัญ พื้นที่ป่าไม้ถาวรและพื้นที่แหล่งน้ำ
  1.7 ประเมินกำลังการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญทั่วประเทศ เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อย กาแฟ สับปะรด
ทุเรียน ลำไย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาร์มน้ำมัน มันฝรั่ง ถั่วเหลือง เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุน การวางแผนการตลาด
  1.8 สำรวจและจัดทำระบบฐานข้อมูลพื้นที่ชุ่มน้ำสำหรับการใช้ประโยชน์ในการสงวน และเพิ่มผลผลิต 1.9 สนับสนุนการ ตรวจสอบรับรองเขตป่าไม้ถาวรและเขตเขา ภูเขาและเขตพื้นที่ ลาดชันเกิน35%
  1.9 สนับสนุนให้มี พ.ร.บ. คุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเพื่อวางแผนและกำหนดเขต การใช้ที่ดินรวมทั้งใช้ประโยชน์
ที่ดินได้อย่างเหมาะสมกับสมรรถนะของดินและการลงทุนของรัฐ ในกิจกรรมการเกษตร
 
2. การจัดการทรัพยากรที่ดินในเชิงบูรณาการ ให้สามารถเพิ่มผลผลิตพืช พัฒนาและฟื้นฟูทรัพยากรที่ดิน
ในเชิงคุณภาพโดยมีแนวทางการดำเนินงาน
  2.1 ปรับเปลี่ยนวิธีการวางแผนและการจัดการงบประมาณและบุคลากรเพื่อดำเนินการ ตามแผนพัฒนา ทรัพยากรที่ดิน
เน้นในพื้นที่ศูนย์บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรชุมชน
  2.2 ดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโดยศึกษาและทดลองการพัฒนาที่ดินตามแนว พระราชดำริ ฟื้นฟู
ทรัพยากร ที่ดินและระบบอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยเทคโนโลยีที่ง่ายต่อการปฏิบัติ ของประชาชนและชุมชน เช่น
การปลูกแฝก การปลูกพืชหมุนเวียนคลุมดิน และการแกล้งดิน เป็นต้น รวมทั้งสาธิตและเผยแพร่งานพัฒนาการ
เกษตรจากศูนย์ศึกษาการพัฒนา และขยายผลการพัฒนาการเกษตรไปสู่พื้นที่ที่มีความเหมาะสม
  2.3 สนับสนุนการพัฒนาที่ดินให้เหมาะสมกับการพัฒนาการผลิตในรูปแบบเกษตรยั่งยืนได้แก่ เกษตรธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตรทฤษฎีใหม่ รวมทั้งการพัฒนาการ ผลิตตามแนว
เศรษฐกิจเพียงพอ
  2.4 ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยสนับสนุนการปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อทำการเกษตรอินทรีย์
  2.5 อนุรักษ์ดินและน้ำฟื้นฟูทรัพยากรที่ดินที่มีปัญหาและเสื่อมโทรม ให้มีความอุดมสมบูรณ์ และเหมาะสมกับการใช้
ประโยชน์ เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ทั้งในพื้นที่ผลิตพืชเพื่อการแข่งขัน และในพื้นที่ทำการเกษตรเพียงพอ
ให้เป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของประเทศ รวมทั้งฟื้นฟูอาชีพ เกษตรกรหลังการพักชำระหนี้และช่วยเหลือ
เกษตรกรที่ประสบภัยธรรมชาติ
  2.6 พัฒนาต่อยอดพื้นที่ที่ได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาที่ดินไว้แล้ว เช่น หมู่บ้าน พัฒนาที่ดิน แหล่งน้ำ ระบบ
ส่งน้ำ ทฤษฎีใหม่ให้มีการพัฒนาที่ดินอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ สามารถใช้
ประโยชน์ได้อย่าง มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
  2.7 จัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์พื้นที่ที่ดำเนินการแล้ว เพื่อติดตามผลการศึกษาและขยายการดำเนินงาน
ให้ทั่วถึง
 
3. พัฒนาความเข้มแข็งของเทคโนโลยีการจัดการที่ดินโดยมีแนวทางการดำเนินงาน
  3.1 ปรับเปลี่ยนวิธีวิจัยและวางแผน โดยยึดความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก รวมทั้งศึกษาและพัฒนาเป็นนวัตกรรม
และ /หรือพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ โดยการดำเนินงานจะใช้ยุทธศาสตร์ ์การเกษตรของกระทรวง เกษตร
และสหกรณ์ และนโยบายรัฐบาลเป็นหลัก
  3.2 วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยรวบรวมและจัดทำ ฐานข้อมูล ความรู้ที่มีอยู่ภายใน
ชุมชน พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้้โดยสะดวกและรวดเร็ว
  3.3 ปรับปรุงและพัฒนาต่อยอดเทคโนโยลีและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการพัฒนาที่ดินอย่างมี คุณภาพ มีมาตรฐานให้ ้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในระดับสูงขึ้น เน้นการเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่สำหรับพื้นที่ผลิตเพื่อการแข่งขันและเกษตรพอเพียง
  3.4 วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอินทรีย์ ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร อาทิ ปุ๋ยอินทรีย์ สารอินทรีย์น้ำ เช่น พด.2 ร่วมกับการใช้สารชีวภาพปราบศัตรูพืช ในการปรับสภาพดิน น้ำ และสิ่งแวดล้อม เพื่อการทำเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น
  3.5 วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ การแก้ปัญหาทรัพยากรที่ดิน และการปรับปรุงบำรุงดิน
ที่ง่ายต่อการปฏิบัติในการทำการเกษตรแบบยั่งยืนอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน
  3.6 ส่งเสริมนักวิจัยโดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและองค์กรวิจัยทั้งในและต่างประเทศ สร้างผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา
  3.7 ถ่ายทอดผลงานวิจัยเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินให้ชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วม และรับผิดชอบในการจัดการ
ทรัพยากร ที่ดินอย่างต่อเนื่องไปสู่กลุ่มเป้าหมายเกิดการใช้ประโยชน์ อย่างคุ้มค่า
 
4. พัฒนาระบบถ่ายทอดเทคโนโลยีและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
  4.1 สร้างจิตสำนึกให้คนไทยทุกคนตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของการรักษา ทรัพยากรที่ดิน โดยสอดแทรกไว้
ในหลักสูตรทุกระบบรวมทั้งสร้างเครือข่ายองค์กรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ในการเฝ้าระวังและดูแลรักษาทรัพยากรที่ดิน
ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
  4.2 ขยายการส่งเสริมให้มีการใช้ข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาฝึกอบรมให้มากขึ้น
  4.3 สร้างกระบวนการเรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดทำคลังข้อมูลเพื่อ การเรียนรู้ให้ทุกคนสามารถ
เข้าถึงข้อมูลได้บนเว็บไซด์
  4.4 กระจายข้อมูลข่าวสารด้านการผลิตตามฤดูกาล และการเตือนภัยการเกษตร เพื่อลดความ เสียหายจากผลกระทบ
ของภัยธรรมชาติ
  4.5 ถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการดิน น้ำ พืช ในแปลงเพาะปลูก อย่างถูกต้องและเหมาะสม ให้กับเกษตรกร
  4.6 รณรงค์เผยแพร่ความรู้และความเข้าไจให้แก่เกษตรกรในการใช้สารเคมี อาทิ ปุ๋ย สารปรับสภาพดิน สนับสนุนการใช้สาร ธรรมชาติทดแทนการใช้สารเคมี
  4.7 สนับสนุนการบริการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินที่ดีและเหมาะสมผ่าน ศูนย์บริการและถ่ายทอด เทคโนโลยีการเกษตรขุมชน
  4.8 เผยแพร่และประชาสัมพันธ์การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีพื้นบ้าน และภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานกับ เทคโนโลยีแผนใหม่
  4.9 ประชาสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายความเข้าใจระหว่างเกษตรกรและชุมชนรวมทั้งหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุน กระบวนการพัฒนาและส่งเสริมการทำการเกษตรแบบยั่งยืน โดยเฉพาะเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น
 
5. พัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศด้านทรัพยากรที่ดิน ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
  5.1 เพิ่มประสิทธืภาพการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการงานต่างๆ ของกรมพัฒนาที่ดินให้สูงขึ้น เช่น จัดทำระบบข้อมูล ออกแบบ จัดทำโครงการ และงบประมาณจัดสรรงบประมาณ การจ้างเหมา การจัดทำรายงานต่างๆ รวมทั้งการประเมินผล เป็นต้น ให้สามารถทำงานได้ถูกต้อง แม่นยำรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะงานติดตามผลและรายงาน
ต่างๆ ผ่านเว็บไซด์บนระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
  5.2 ปรับปรุง ข้อมูล และพัฒนาโปรแกรมทั้ง GIS และ MIS ที่ได้มีการจัดทำแล้วให้มีความทันสมัย ถูกต้อง และสะดวก
ต่อการเรียกใช้ เข้าถึง ข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็ว รวมทั้งการพัฒนาโปรแกรมใหม่
  5.3 ปรับปรุงข้อมูลข่าวสารการพัฒนาที่ดิน โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกษตรกร ชุมชน และประชาชนในระดับตำบล หมู่บ้าน ได้รับข้อมูล ถูกต้อง รวดเร็ว
  5.4 เร่งรัดและพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติใกล้ชิดกับเกษตรกร โดยเฉพาะบุคลากรที่ปฏิบัติงานใกล้ชิดกับเกษตรกร
ไดยผ่านศูนย์บริการและถ่ายทอด เทคโนโลยีการเกษตรชุมชน ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้การเกษตรของชุมชน
เพื่อให้เกษตรกรและองค์กรเกษตรสามารถแลกเปลี่ยน และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารกับหน่วยงานของรัฐและภาค
เอกชน ภายในประเทศและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และถูกต้อง
  5.5 พัฒนาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ให้มีทั้งปริมาณและประสิทธิภาพสูง สามารถรองรับ และสนับสนุนระบบฐานข้อมูล GIS/MIS ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย ให้สามารถใช้งานได้สะดวก รวดเร็ว รองรับการถ่ายทอดสารสนเทศสู่ชนบทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5.6 พัฒนาระบบสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบอินเตอร์เน็ต /อินทราเนต ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในรูปข้อมูล-ภาพ-เสียง ให้มีประสิทธิภาพ ความเร็วสูง และกระจาย
กันอย่างทั่วถึง
  5.7 ให้มีการตรวจสอบ บำรุงรักษา การสำรอง และรักษาความปลอดภัยของข้อมูลรวมทั้งการปรับปรุงอุปกรณ์ ระบบคอมพิวเตอร์ ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5.8 พัฒนาระบบอินเตอร์เนตให้สามารถใช้ได้ทั้งการปรับปรุงข้อมูลการให้บริการข้อมูล และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
 
6. ปรับระบบงานและพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรโดยมีแนวทางการดำเนินงาน
  6.1 ด้านการปรับโครงสร้างและระบบงาน
    1) ปรับบทบาทภารกิจและปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรให้เอื้อต่อการปฎิบัติงานเชิงพื้นที่ ปรับบทบาทจากการเป็น
    ผู้ปฏิบัติไปเป็นผู้กำกับดูแลและอำนวยความสะดวก
    2) ปรับระบบงบประมาณ เป็นแบบมุ่งผลลัพธ์ให้สามารถผ่อนคลายการบริหารงบประมาณ ของหน่วยงานได้
    อย่างแท้จริง
    3) พัฒนาระบบมาตรฐานสากลของประเทศไทยด้านการจัดการและสัมฤทธิ์ผลของงาน ภาครัฐ (P.S.O.)     
    อย่างต่อเนื่อง
    4) วางระบบการปฏิบัติงานและระบบข้อมูลที่เชื่อมโยงเป็นเอกภาพ และน่าเชื่อถือโดย ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
    5) ให้ทุกหน่วยงานรณรงค์เผยแพร่ค่านิยมสร้างสรรค์ และจรรยาบรรณการทำงานที่มุ่ง ประโยชน์ของประชาชนด้วย     ความสุจริต ขยันอดทนมี ความรับผิดชอบ มุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ และสามารถทำงานร่วมกับประชาชน
    6) เตรียมความพร้อมให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ ได้แก่ การปรับปรุงและซ่อมแซมแหล่งน้ำ     
    ขนาดเล็กโดยกรมฯจะให้คำปรึกษาแนะนำเทคนิคการ ออกแบบและควบคุมตรวจสอบงาน
 
6.2
ด้านการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรของกรมพัฒนาที่ดิน
    1) พัฒนาบุคลากรของกรมฯ ให้รองรับกลไกการดำเนินงานของศูนย์บริการแลถ่าย ทอดเทคโนโลยีการเกษตร     
    ชุมชนของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ อันได้แก่ การพัฒนาบุคลากรกรมฯ ให้สามารถวางแผนการ     
    พัฒนาทรัพยากรที่ดิน การพัฒนาหมอดิน อาสาทุกตำบล ให้เป็นวิทยากรและช่วยงานบริการของกรมฯ
    ได้เป็นอย่างดี  เช่น การหาข้อมูลความต้องการของเกษตรกร เป็นต้น
    2) พัฒนากำลังคนและความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการบริหาร การจัดการด้านปริมาณและ     คุณภาพให้สอดคล้องกับ ภารกิจ
    3) สนับสนุนและจัดหาทุนการศึกษา และทุนฝึกอบรมดูงาน และการแลกเปลี่ยน ฝึกงานในองค์กรระหว่างประเทศ     รวมทั้งทุนแลกเปลี่ยน ทางวิชาการ
    4) พัฒนาทักษะและเพิ่มความรู้ความสามารถในการวิจัย วิเคราะห์ปัญหาและแนวทาง แก้ไขในระดับพื้นที่ให้     
    ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
    5) เร่งรัดพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะบุคลากรที่ปฏิบัติ งานใกล้ชิดกับเกษตรกร
    6) เพิ่มศักยภาพในการเจรจาในเวทีความตกลงด้านทรัพยากรธรรมชาติ โดยพัฒนา ทักษะความสามารถของ
    บุคลากรทั้งด้านปริมาณและ คุณภาพในการเจรจาต่อรอง ตลอดจนสร้างระบบฐานข้อมูลและเครือข่าย
    ระหว่างองค์กรภายในประเทศและต่างประเทศ
    7) พัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น หมอดินอาสา
   

8) สร้างเครือข่ายการบริหารจัดการ โดยให้มีหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ตำบล เป็นตัวแทนของกรมฯ ช่วยเหลือ
    งานด้านการดูแลทรัพยากร ที่ดิน โดยหมอดินอาสาประจำตำบล จะเข้าร่วมเป็นกรรมการของศูนย์บริการ
    และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรชุมชน และเป็น วิทยากรหลักด้านการพัฒนาที่ดินของศูนย์บริการ

    9) สร้างเครือข่ายของการเรียนรู้ในช่วงของการอบรมหมอดินอาสาจะมีช่วงที่ นำหมอดินอาสาไปดูงานภาคสนาม     
    ตามจุดเรียนรู้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประสบผลสำเร็จในการ ปฏิบัติแล้ว โดยอาจเป็นพื้นที่แปลงสาธิตของกรมฯ
    พื้นที่แปลงสาธิต ของหน่วยงานอื่นๆ พื้นที่แปลงสาธิตหรือพื้นที่ของเกษตรกรตลอดจนศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ
    อันเนื่องมาจาก พระราชดำริในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้หมอดินอาสาได้ศึกษารูปแบบวิธีการที่ประสบ ผลสำเร็จแล้ว
    จะได้นำไปประยุกต์ ใช้ในพื้นที่ของตนเองและถ่ายขยายผลแก่เกษตรกรต่อไป สำหรับจุดเรียนรู้หรือพื้นที่
    ที่ประสบผลสำเร็จนั้นกรมฯ จะประสานข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ว่าแต่ละจังหวัดมีจุดเรียนรู้เรื่องอะไร
    ตั้งอยู่ที่ไหนแล้วจัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อ ให้สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต/สถานีพัฒนาที่ดินใช้วางแผน
    สำหรับการศึกษาดูงาน ของหมอดินอาสาต่อไป รวมทั้งเพื่อเป็นข้อมูลให้หมอดินอาสาประจำตำบลสามารถ
    นำหมอดินอาสาในเครือข่ายไปดูงานได้