สภาพพื้นที่บริเวณที่สำรวจส่วนใหญ่มีลักษณะค่อนข้างราบ มีความลาดชัน 0–2 % พื้นที่มีความ
ลาดเทจากด้านทิศตะวันออกไปสู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ บริเวณสูงสุดในพื้นที่อยู่ทางด้านตะวันออก
ของพื้นที่ มีความสูงประมาณ 297 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง และบริเวณต่ำที่สุดในพื้นที่ตะวันตก
ของพื้นที่ มีความสูงประมาณ 294.5 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

 
 
 

          พื้นที่โครงการฯ ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพัดพาเอาความชุ่มชื้นมาจาก
ทะเลจีนใต้ จึงทำให้ฝนตกชุกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึง
เดือนกุมภาพันธ์  จะได้รับอิทธิพลจาก   ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดพาความกดอากาศ สูงมา
จากประเทศจีน จึงทำให้อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง มีปริมาณฝนเฉลี่ย 1,108.9 มิลลิเมตร/ปี โดย
ฝนตกสูงสุดในเดือนสิงหาคม ประมาณ 202.5 มิลลิเมตร และฝนตกน้อยสุดเพียง 6.5 มิลลิเมตร ใน
เดือนกุมภาพันธ์  อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 13.1 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม และเดือนเมษายนมี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 36.0 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 25.7 องศาเซลเซียส
และมีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยประมาณ 70.8 เปอร์เซ็นต์ โดยเดือนสิงหาคมมีความชื้นสัมพัทธ์สูงที่สุด
ประมาณ 79 เปอร์เซ็นต์ เดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำสุดประมาณ 63 เปอร์เซ็นต์

 
 
 

          ดินที่พบในบริเวณพื้นที่ศูนย์อำนวยการโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ อำเภอสันป่าตองจัดอยู่
ในชุดดินสันป่าตอง   เกิดจากตะกอนน้ำพาบริเวณเนินตะกอนรูปพัดและตะพักลำน้ำ   สภาพพื้นที่เป็น
ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ความลาดชัน 2-5 % การระบายน้ำ ดีปานกลาง การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน
ช้าถึงปานกลาง การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลางถึงเร็ว เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือ
ดินทรายปนดินร่วน สีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลปนเทาเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย
(pH 5.5-6.5) ดินล่างเป็นดินร่วนปนทรายถึงดินร่วนเหนียวปนทรายในส่วนลึก ๆ สีน้ำตาลซีดหรือสีน้ำตาล
ปนเหลืองอ่อน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5) 

 
 
 

          จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านกายภาพและสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่
ี่โครงการฯ สามารถกำหนดการใช้ที่ดินให้สอดคล้องกับศักยภาพของดิน และความเป็นไปได้ทาง
เศรษฐกิจ จะได้เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมดี สำหรับการปลูก มะม่วง มะขาม ขนุน สับปะรด ทานตะวัน
และข้าวฟ่าง แต่มีข้อจำกัดที่ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ เสี่ยงต่อการขาดน้ำเล็กน้อยถึงปานกลาง
หากฝนทิ้งช่วง พื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลาง สำหรับการปลูกลำไย ส้มและข้าวโพด แต่ดินมีข้อจำกัด
ที่เนื้อดินบนในช่วงความลึก 0 - 30 ซม. จึงควรใช้อินทรียวัตถุในการปรับสภาพดินให้ร่วนซุยเพื่อเพิ่มความ
อุดมสมบูรณ์แก่ดิน ควรจัดหาแหล่งน้ำสำรอง โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกไม้ผล
          ดังนั้น เมื่อพิจารณาศักยภาพและข้อจำกัดของดิน แผนการใช้ที่ดิน แผนงานและกิจกรรม
ของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อดำเนินการในเชิงบูรณาการ  และจากการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ จึง
สามารถกำหนด แผนผังศูนย์อำนวยการโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ อำเภอสันป่าตอง จังหวัด
เชียงใหม่ เพื่อการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ