6 การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 1 เพื่อให้เหมาะสมในการปลูกพืช
ในการจัดการเพื่อปรับปรุงแก้ไขดินกลุ่มนี้ให้เหมาะสม ในการปลูกพืชจะต้องพิจารณาจากข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วพิจารณาร่วมกับชนิดของพืชที่จะทำการเพาะปลูก อย่างไรก็ตามจากการจัดชั้นความเหมาะสมของดินจะเห็นว่ากลุ่มชุดดินนี้เหมาะสมในการปลูกข้าวมากกว่าปลูกพืชไร่ ไม้ผล หรือพืชผัก ถ้าจะใช้ปลูกพืชอื่นนอกเหนือจากการปลูกข้าวจะต้องปรับปรุงสภาพพื้นที่เพื่อป้องกันน้ำท่วมและสภาพการระบายน้ำของดินจึงจะสามารถปลูกพืชได้ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง ดังนั้นจึงแบ่งการจัดการดินออกตามชนิดของพืช ดังนี้
6.1 การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 1 สำหรับปลูกข้าวหรือทำนา ซึ่งดินกลุ่มนี้นับว่าเป็นดินที่มีความเหมาะสมเป็นอย่าง มากในการปลูกข้าว มีข้อจำกัดน้อยหรือไม่มีเลย การจัดการเพียงแต่รักษาเสถียรภาพทางการผลิตและการเพิ่มผลผลิตในบางพื้นที่เท่านั้น การจัดการควร เน้นในประเด็นต่อไปนี้
6.1.1 การคัดเลือกพันธ์ข้าวที่เหมาะสมและให้ผลผลิตสูงมาปลูก พันธ์ข้าวที่แนะนำแบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ
6.1.1.1 พันธ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง ได้แก่ ขาวปากหม้อ 148 ขาวตาแห้ง 17 เก้ารวง 88 เหลืองประทิว 123 น้ำสะกุย 19 ขาวดอกมะลิ 105 พิษณุโลก 60-1 นางมล s-4 และปทุมธานี 60
6.1.1.2 พันธ์ข้าวที่ไม่ไวต่อแสงได้แก่ กข.1-6กข7 กข9 กข10 กข11 กข21 กข25 สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 70 พิณษุโลก 60-2
6.1.2
การบำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ควรดำเนินการดังต่อไปนี้
6.1.2.1
การไถกลบตอซังหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วจะเป็นการช่วยเพิ่มอินทรีย
วัตถุให้แก่ดินและช่วยทำให้ดินร่วนซุย
6.1.2.2 การปลูกพืชตะกูลถั่วในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วหมุนเวียนกับพืชไร่อย่างอื่น ซึ่งจะมีส่วนช่วยรักษาและปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินและเป็นการเพิ่มผลผลิตของพืชหลักที่ปลูก
6.1.2.3 การปลูกพืชปุ๋ยสดแล้วไถกลบลงไปในดิน เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยรักษาและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน ตลอดทั้งช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้นพืชปุ๋ยสดที่แนะนำได้แก่ ปอเทือง โสน โสนอัฟริกัน และถั่วต่าง ๆ โดยปลูกพืชปุ๋ยสดเหล่านี้ในช่วงฤดูแล้ง แล้วไถกลบลงในดินก่อนปลูกข้าว 2-3 เดือน
6.1.2.4 การใช้ปุ๋ยเพื่อรักษาและปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินและช่วยเพิ่มผลผลิตของข้าวที่ปลูก ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ได้แก่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกต่าง ๆ โดยใช้อัตรา 2.-3 ตันต่อไร่ เพื่อช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดิน ส่วนการใช้ปุ๋ยเคมีนั้นยังมีความจำเป็นเพื่อเพิ่มแร่ธาตุอาหารบางอย่างให้แก่ข้าว สำหรับสูตรอัตราและวิธีการใช้พอกล่าวสรุปได้ดังนี้
1. ปุ๋ยสำหรับพันธ์ข้าวที่ไวต่อแสง ใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 18-22-0 ปรือปุ๋ยสูตรอื่นที่มีธาตุอาหารพืชใกล้เคียงกัน เป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนปักคำ อัตรา 25-30 กก.ต่อไร่ โดยใส่ร่วมกับปุ๋ยอื่นเช่นปุ๋ยยูเรียอัตรา 5-10 กก. ต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต (20%N) หรือปุ๋ยแอมโมเนียคลอไรด์ อัตรา 10-20 กก.ต่อไร่ เป็นปุ๋ยแต่งหน้าหลังปักดำ 35-50 วัน ถ้าใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 18-22-0 เพียงอย่างเดียวให้ใช้อัตรา 30-35 กก.ต่อไร่
2. ปุ๋ยสำหรับพันธ์ข้าวที่ไม่ไวต่อแสง ใส่ปุ๋ยรองพื้นก่อนปักดำ สูตร 16-20-0 หรือ 18-22-0 สูตรใดสูตรหนึ่งโดยหว่านให้สม่ำเสมอ อัตรา 25-35 กก.ต่อไร่ แล้วคราดปุ๋ยให้เข้ากับดิน หลังจากปลูกข้าวแล้ว 35-50 วันให้ใส่ปุ๋ยแต่งหน้าด้วยปุ๋ยยูเรียอัตรา 10-15 กก. ต่อไร่หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (20%N) หรือปุ๋ยแอมโมเนียคลอไรด์ อัตรา 20-30 กก.ต่อไร่
สำหรับการใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 18-22-0 เพียงอย่างเดียวให้แบ่งใส่เท่าๆกันสองส่วน ส่วนที่หนึ่งใส่ในระยะปักดำ ส่วนที่สองใส่หลังจากการใส่ปุ๋ยส่วนที่หนึ่งแล้ว 30 วัน หรือใส่ในระยะที่ต้นข้าวกำเนิดช่อดอก
6.2 การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 1 สำหรับปลูกพืชไร่
การปลูกพืชไร่ในกลุ่มชุดดินที่ 1 สามารถทำได้ใน 2 ลักษณะคือ การปลูกพืชไร่ในช่วงฤดูแล้ง หลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว คือระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน พืชไร่ที่ปลูกควรมีอายุไม่เกิน 120 วัน เช่นข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเทียน ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และข้าวฟ่างเป็นต้น และการปลูกพืชไร่มีลักษณะถาวร จะทำได้ต้องมีการปรับปรุงสภาพพื้นที่เพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝนและมีการยกร่องปลูกเพื่อช่วยการระบายน้ำของดินต้องลงทุนสูงกว่าการปลูกพืชไร่ในลักษณะแรก แต่สามารถปลูกพืชไร่ตลอดทั้งปี หรือปลูกพืชไร่ที่มีอายุเกิน 120 วันได้ เช่นฝ้าย สับปะรด และละหุ่งเป็นต้น ดังนั้นเกษตรกรสามารถเลือกการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ในสองลักษณะที่กล่าว การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 1 ให้เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชไร่ความปฏิบัติดังนี้
6.2.1 การเตรียมพื้นที่ปลูก ในกรณีปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าวหรือปลูกฤดูแล้ง ให้ยกร่องปลูกให้สูงขึ้น 20-30 ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำขังแช่ถ้ามีฝนตกหรือการให้น้ำชลประทานควรมีร่องระบายน้ำรอบแปลงนาหรือภายในแปลงนาห่างกัน 15-20 เมตร ควรมีความกว้าง 40-50 ซม. เป็นการช่วยระบายน้ำผิวดินและสะดวกในการให้น้ำและเข้าไปดูแลแปลงปลูกพืชไร่ส่วนการเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดินจากนาข้าวเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่แบบถาวรคือปลูกทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง ต้องสร้างคันดินรอบพื้นที่ปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝน และภายในพื้นที่ให้ยกร่องปลูกแบบถาวรโดยให้สันร่องกว้าง 6-8 เมตร มีคูระบายน้ำกว้างประมาณ 1.5 เมตร ลึกประมาณ 1 เมตร บนสันร่องใหญ่อาจแบ่งซอยเป็นสันร่องย่อยโดยยกแปลงให้สูงขึ้นประมาณ 10-20 ซม. และกว้างระหว่าง 1.5 2.0 เมตร เพื่อช่วยในการระบายน้ำบนสันร่องป้องกันไม่ให้ดินแฉะมากเวลารดน้ำหรือเมื่อมีฝนตกและยังสะดวกในการที่จะเข้าไปดูแลด้านการกำจัดวัชพืชการใส่ปุ๋ยและการจำกัดศัตรูพืช
6.2.2 การทำให้ดินร่วนซุย เนื่องจากดินกลุ่มนี้เป็นดินเหนียวจัดควรมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ได้แก่ ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกต่าง ๆ อัตรา 1-2 ตันต่อไร่ เมื่อใส่แล้วให้ไถคลุกเคล้ากับดินและตากดินให้แห้งประมาณ 20-30 วัน ก่อนที่ย่อยดินปลูกพืช
6.2.3 การใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเพิ่มผลผลิตพืชไร่ที่ปลูก สำหรับสูตร อัตราการใช้และวิธีการใส่ปุ๋ยพอกล่าวสรุปได้ดังนี้
6.2.3.1 ปุ๋ยสำหรับถั่วเหลือง ถั่วเขียวและถั่วลิสง สูตรปุ๋ยที่ควรใช้คือ 0-46-0 อัตรา 15-20 กก.ต่อไร่ หรือสูตร 0-40-0 อัตรา 15-20 กก.ต่อไร่หรือสูตร 0-20-0 อัตรา 30-40 กก.ต่อไร่ ให้ใส่ตอนปลูกหรือหลังปลูก 20-25 วัน การใส่ให้ใส่รองก้นร่องปลูกหรือโรยข้างแถวปลูกแล้วพรวนดินกลบ
6.2.3.2 ปุ๋ยสำหรับข้าวโพดและข้าวฟ่าง สูตรปุ๋ยที่ควรใช้คือ 21-0-0 อัตรา 40-60 กก.ต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 20-30 กก.ต่อไร่ ถ้าชุดดินที่มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชต่ำ ควรใช้ปุ๋ยสูตร 20-20-0 อัตรา 40-50 กก.ต่อไร่ หรือสูตร 23-23-0 อัตรา 35-45 กก.ต่อไร่ หรือสูตร 25-25-0 อัตรา 30-40 กก.ต่อไร่ ให้ใส่ปุ๋ยหลังการปลูก 20-25 วัน โดยใส่โรยข้างแถวปลูกแล้วพรวนดินกลบ
6.2.3.3 ปุ๋ยสำหรับอ้อย (อ้อยเคี้ยว) ปุ๋ยเคมีที่ควรใช้คือสูตร 16-8-8 อัตรา 70-90 กก.ต่อไร่ หรือสูตร 20-10-10 อัตรา 50 กก.ต่อไร่ สำหรับอ้อยปลูกโดยใส่ครั้งเดียวโรยปุ๋ยข้างแถวอ้อยแล้วพรวนกลบเมื่ออ้อยอายุ 60-90 วัน ส่วนอ้อยตอใส่ปุ๋ยสูตร 10-50-5 อัตรา 40-50 กก.ต่อไร่ ใส่ครั้งเดียวโรยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ สำหรับปุ๋ยที่ใส่เพื่อแต่งต่อใช้สูตร 15-10-10 อัตรา 100 กก.ต่อไร่ แบ่งใส่สองครั้ง ใส่ครั้งแรกหลังจากการแต่งกอ และครั้งที่สองใส่หลังครั้งแรก 40-60 วัน
6.2.3.4 ปุ๋ยสำหรับละหุ่ง สูตรปุ๋ยที่ควรใช้คือ 20-20-0 อัตรา 25-50 กก.ต่อไร่ แบ่งใส่สองครั้งเท่า ๆ กัน ครั้งแรกใส่รองกันหลุมก่อนปลูก และครั้งที่สองใส่เมื่อต้นละหุ่งอายุ 25-30 วัน ในกรณีชุดดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอยู่สูให้ใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 25-30 กก.ต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 15-20 กก.ต่อไร่ ใส่หลังปลูก 20-25 วัน โดยโรยข้างแถวละหุ่งแล้วพรวนดินกลบ
6.2.3.5 ปุ๋ยสำหรับฝ้าย สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือ 21-0-0 อัตรา 20-30 กก.ต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 15-20 วัน โดยโรยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ
6.2.3.6 ปุ๋ยสำหรับข้าวโพดฝักอ่อน สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือ 20-20-0 อัตรา 25-35 กก.ต่อไร่ หรือสูตร 23-23-0 อัตรา 25-35 กก.ต่อไร่ หรือสูตร 25-25-0 อัตรา 20-30 กก.ต่อไร่ หรือ 16-20-0 อัตราใส่ร่วมกับปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 30-40 กก.ต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 15-20 กก.ต่อไร่ การใส่ปุ๋ยหลักให้แบ่งใส่สองครั้ง จำนวนครึ่งหนึ่งใส่เป็นปุ๋ยรองกันหลุม และอีกครึ่งหนึ่งให้ใส่หลังปลูกข้าวโพดแล้ว 20-25 วัน ส่วนปุ๋ยร่วมนั้นให้ใส่ร่วมกับปุ๋ยส่วนที่สอง โรยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ
6.2.3.7 ปุ๋ยสำหรับงา สูตรปุ๋ยทีแนะนำคือ 21-0-0 อัตรา 30-40 กก.ต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 15-20 กก.ต่อไร่ ใส่หลังปลูก 20-25 วัน โดยโรยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ หรือหว่านทั่วแปลงปลูกถ้าเป็นการปลูกแบบหว่าน ส่วนการใช้ปุ๋ยสำหรับพืชไร่อื่น นอกเหนือจากที่กล่าวให้ขอคำแนะนำการใช้ปุ๋ยจากกรมวิชาการเกษตร
6.3 การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 1 สำหรับการปลูกผัก
การปลูกผักบนกลุ่มชุดดินที่ 1 จะทำได้สองลักษณะเช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่กล่าวคือ ในช่วงฤดูแล้วหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมิถุนายนและการปลูกผักที่มีการใช้ที่ดินเป็นลักษณะถาวร สำหรับการจัดการดินให้เหมาะสมในการปลูกผักทั้งสองลักษณะที่กล่าว ควรปฏิบัติดังนี้
6.3.1 การเตรียมพื้นที่ปลูกในกรณีปลูกในช่วงฤดูแล้ง ให้ยกร่องสูงจากผิวดินเดิม 20-30 ซม.และมีความกว้าง 1.5-2.0 เมตร และร่องระหว่างแปลงควรกว้าง 30-50 ซม. เพื่อสะดวกในการให้น้ำ การใส่ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช และการฉีดยากำจัดศัตรูพืช ตลอดทั้งป้องกันไม่ให้น้ำขังแฉะเมื่อมีฝนตกและควรมีร่องระบานน้ำรอบ ๆ แปลงปลูกหรือรอบกะทงนาด้วย
ส่วนการเตรียมพื้นที่ปลูกผักแบบถาวร คือปลูกได้ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง จะต้องทำคันรอบพื้นที่เพื่อป้องกันน้ำท่วมและพื้นที่ปลูกภายในให้ยกร่องสวนมีขนาดกว้างประมาณ 6-8 เมตร มีคูระบายน้ำกว้างประมาณ 1.5 เมตร และลึกประมาณ 100 ซม. บนสันร่องใหญ่อาจแบ่งซอยเป็นสันร่องย่อย โดยยกแปลงให้สูงขึ้นประมาณ 10-20 ซม. และกว้างประมาณ 1-2 เมตร เพื่อช่วยระบายน้ำบนสันร่องและป้องกันไม่ให้ดินแฉะมากเวลาให้น้ำหรือมีฝนตก
6.3.2 การทำให้ดินร่วนซุย เนื่องจากดินกลุ่มนี้เป็นดินค่อนข้างเหนียวจัด หรือเหนียวจัด ควรมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คือปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกต่าง ๆ อัตรา 1-2 ตันต่อไร่ โดยใส่คลุกเคล้ากับดินและตากดินให้แห้งก่อนที่จะมีการย่อยดินสำหรับการปลูกผัก
6.3.3 การรักษาและปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน นอกจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่กล่าวแล้ว ในการใช้กลุ่มชุดดินนี้ในการปลูกผักจำเป็นต้องมีการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของผัก สูตร อัตรา และวิธีการใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของผัก แต่พอจะแบ่งออกได้ดังนี้
6.3.3.1 ผักที่ปลูกเพื่อรับประทานใบ เช่น ผักบุ้ง คะน้า ผักกาดขาว ผักกาดเขียวปลี หอมแบ่ง ผักกาดหอม ฯลฯ ควรใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 40-50 กก.ต่อไร่ โดยแบ่งใส่สองครั้งเท่า ๆ กัน ครั้งแรกใส่เมื่อย้ายผักปลูกแล้วประมาณ 7 วัน และครั้งที่สองใส่หลังปลูกแล้ว 20-25 วัน สำหรับวิธีการใส่ให้ใส่สองข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ กรณีปลูกโดยหว่านเมล็ดให้ใส่ปุ๋ยครั้งเดียวหลังจากแตกใบแล้ว 2-3 ใบใส่โดยหว่านให้ทั่วแปลงแล้วรดน้ำให้ชุ่ม อย่าให้ปุ๋ยค้างอยู่บนใบพืช
6.3.3.2 ผักที่ปลูกเพื่อรับประทานผล ได้แก่ พริก มะเขือ มะเขือเทศ แตงต่าง ๆ และถั่วฝักยาว เป็นต้น สูตรปุ๋ยที่ควรใช้ได้แก่สูตร 15-15-15 อัตรา 50-60 กก.ต่อไร่ โดยแบ่งใส่สองครั้งเท่า ๆ กัน ครั้งแรกใส่หลังจากย้ายปลูก 5-7 วัน ครั้งที่สองใส่เมื่อเริ่มออกดอกหรือหลังการย้ายกล้าปลูกแล้วประมาณ 30 วัน โดยใส่สองข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ
6.3.3.3 ผักที่ปลูกเพื่อรับประทานหัว เช่น หอม กระเทียม หัวหอมใหญ่ แครอท ฯลฯ ควรใช้ปุ๋ยสูตร 20-10-10 อัตรา 40-50 กก.ต่อไร่ แบ่งใส่สองครั้งเท่า ๆ กัน ครั้งแรกใส่ก่อนปลูกโดยหว่านทั่วแปลง ครั้งที่สองใส่หลังปลูกแล้วประมาณ 30 วัน โดยวิธีหว่านให้ทั่วแปลงแล้วรดน้ำทันที
6.4 การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 1 สำหรับปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น
กลุ่มชุดดินที่ 1 มีข้อจำกัดอย่างมากในการปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น เพราะเป็นดินที่เกิดในที่ราบต่ำ มีน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝน 4-5 เดือน ดินมีการระบายน้ำเลว ในสภาพปัจจุบันไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการปลูกไม้ผล หรือไม้ยืนต้น เว้นแต่จะได้มีการปรับปรุงสภาพพื้นที่แล้วการพัฒนาที่ดินให้เหมาะสม ในกรณีที่เกษตรกรต้องการเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดิน จากที่ใช้ทำนาอยู่ในปัจจุบันเป็นการปลูกไม้ผล หรือไม้ยืนต้น ควรจะได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
6.4.1 ทำคันดินรอบพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน ถ้าเป็นไปได้ควรจะติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำออกเมื่อมีฝนกตหนัก
6.4.2 ยกสันร่องสำหรับปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ตามความยาวของพื้นที่ที่ต้องการปลูกให้มีขนาดกว้างประมาณ 6 เมตร สูงอยู่ระหว่าง 80-100 ซม. ส่วนท้องร่องระหว่างร่องปลูกกว้าง 1.5-2.0 เมตร ความลึกประมาณ 1 เมตร ซึ่งร่องที่กล่าวนี้ นอกจากช่วยระบายน้ำของดินแล้วยังช่วยในการเก็ยกักน้ำไว้รดตันไม้ที่ปลูกอีกด้วย ร่องน้ำระหว่างสันร่องที่ใช้ปลูกพืชควรต่อเนื่องกับร่องรอบสวนที่อยู่ติดกับคันดินปัองกันน้ำท่วม เพื่อประโยชน์ในการระบายน้ำเข้าออกเมื่อมีฝนตก
6.4.3 การเตรียมหลุมปลูกควรมีขนาดกว้าง xยาวxลึก อยู่ระหว่าง 50-100 ซม. โดยขุดหลุมแยกดินชั้นบนและชั้นล่างไว้ต่างหาก กองไว้บนปากหลุมแล้วทิ้งตากแดดไว้ 1-2 เดือน เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดิน ก่อนปลูกคลุกดินที่กองไว้กับปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 10-20 กก.ต่อหลุม แล้วนำกลับลงไปในหลุมก่อนปลูกไม้ผล
6.4.4 การรักษาและปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน การใส่ปุ๋ยแก่ไม้ผลนั้นควรใส่ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ควรใส่ปีละครั้งในอัตรา 10-30 กก.ต่อต้นต่อปี ส่วนปุ๋ยเคมีนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ผล ซึ่งพอกล่าวสรุปได้ดังนี้
ตารางที่ 3 การใส่ปุ๋ยเคมีอัตราการใช้ วิธีการ และระยะการใส่ปุ๋ยสำหรับไม้ผลที่แนะนำบางชนิด
พืช |
ปุ๋ยเคมีสุตรแนะนำ |
อัตราการใช้ปุ๋ยกก./ต้น/ครั้ง อัตราต่ำ อัตราสูง |
วิธีการและระยะเวลาการใส่ปุ๋ย |
ขนุน
ส้ม
องุ่น |
20-10-10
15-15-15
15-15-15 |
0.10 0.20
1 2
03 - |
1) อายุ 1-3
ปี ใส่ 6 ครั้ง/ปี 2) อายุ 4-6 ปี ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ปีละครั้ง ในอัตรา 20-30 กก./ตันใส่ห่างต้น 3) ก่อนออกดอก 3 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 กก./ต้น 4) ปลายฝนใช้ปุ๋ยสูรา 14-14-21 อัตรา 1-2 กก./ต้น
1) ในปีแรกควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 10-20 กก./ตัน ปุ๋ยเคมีใช้อัตรา 150-200 กรัม/ต้น ใส่ 4-6 ครั้งต่อปี 2) ในปีที่ 2 ใช้ปุ๋ยอัตรา 2 กก./ต้น แบ่งใส่ 4 ครั้ง ครั้งละ 500 กรัม/ต้น 3) สำหรับส้มที่ติดผลแล้วใช้ปุ๋ยในอัตรา 2 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 4ครั้ง เท่า ๆ กัน ตามระยะเวลาดังนี้ ครั้งที่ 1 ใส่หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตและตัดแต่งกิ่งแล้ว ครั้งที่ 2 ใส่ก่อนออกดอก 15วัน ครั้งที่ 3 ใส่หลังออกดอก 2-3 เดือน ครั้งที่ 4 ใส่ก่อนเก็บผล 2-3 เดือน 1) ระยะก่อนติดผลแบ่งใส่ครั้งละเท่า ๆ กัน 4 ครั้ง/ปี 2) เมื่อมะม่วงมีอายุมากจนได้ผลแล้วแบ่งปุ๋ยใส่ 3 ครั้งคือ ครั้งที่ 1 หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตและตัดแต่งกิ่งแล้วโดยใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ครั้งที่ 2 ใส่ออกดอก 2-3 เดือน โดย ใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 1) เมื่อเริ่มปลูกองุ่นจนถึงระยะตัดกิ่งได้ ใส่ปุ๋ยรอบ ๆต้น ห่างประมาณ 30 ซม. 2) ระยะตัดแต่ง ใส่ครั้งแรกก่อนตัดแต่งกิ่ง 15 วัน ครั้งที่สอง หลังตัดแต่งกิ่ง 45 วันโดยใช้ปุ๋ยสูตรเดิมอัตราเดิม 3) หลังจากตัดแต่งกิ่งแล้ว 75 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-21 ใน อัตรา 0.3 กก./ต้น |
สำหรับปุ๋ยเคมีที่ควรใช้กับมะพร้าวที่ยกร่องปลูกบนกลุ่มชุดดินที่ 1 ควรเป็นสูตร 13-13-13
หรือ 12-12-17 ใส่ร่วมกับปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต อัตราปุ๋ยที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุของมะพร้าวดังนี้
อายุมะพร้าว ปี |
ปุ๋ยสุตร 13-13-13 หรือ 12-12-17 กก./ต้น |
ปุ๋ยแมกนีเซี่ยมซัลเฟต กรัม/ต้น |
1 2 3 4 5 |
1 2 3 4 5 |
- 250 500 750 1,000 |
การใส่ให้ทำร่องรอบดคนต้นมะพร้าวให้ลึกประมาณ 10 ซม. และกว้างประมาณ 12 ซม. รัศมีห่างจากดคนระหว่าง 0.5-2.0 เมตร ขึ้นอยู่กับอายุและขนาดของต้นมะพร้าว เสร็จแล้วโรยปุ๋ยลงบนร่องรอบโคนแล้วพรวนดินกลบ ส่วนมะพร้าวที่มีอายุตั้งแต่ปีที่ 6 ขึ้นไปให้แบ่งการใส่ออกเป็นสองครั้งคือใส่ในช่วงต้นและปลายฤดูฝน
6.5 การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 1 สำหรับปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ มีพันธุ์หญ้าหลายพันธุ์ที่สามารถขึ้นได้ดีในดินกลุ่มนี้ เช่นหญ้าขน หญ้าปล้องน้ำ และหญ้าชันกาศ เป็นต้น ถ้าได้มีการปรับปรุงแก้ไขสภาพน้ำขังแช่หรือน้ำท่วมในฤดูฝนสามารถปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ได้เป็นอย่างดีซึ่งเป็นทางเลือกในการใช้ประโยชน์ของกลุ่มดินชุดนี้อีกทางหนึ่ง