7. ข้อเสนอแนะการใช้กลุ่มชุดดินที่ 1 เพื่อการเกษตร
เนื่องจากกลุ่มชุดดินนี้พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบถึบที่ลุ่มต่ำ ในช่วงฤดูฝนมักมีน้ำขังนานระหว่าง 4-5 เดือน เนื้อดินเป็นดินเหนียว การระบายน้ำเลว จึงมีศักยภาพเหมาะสมในการทำนามากกว่าปลูกพืชอย่างอื่น การปลูกข้าวมีข้อจำกัดน้อยหรือไม่มีเลย ผลผลิตข้าวที่ได้ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับดินนาทั่วไป แต่ถ้าเกษตรกรต้องการจะเปลี่ยนหภาพการใช้ประโยชน์จากนาข้าวในปัจจุบันเป็นการใช้ประโยชน์อื่นก็สามารถทำได้ ถ้าได้มีการปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาที่ดินเพื่อป้องกันน้ำท่วมและสภาพการระบายน้ำของดินที่เลวให้ดีขื้น ทางเลือกการใช้ประโยชน์ที่ดินกลุ่มนี้มีหลายทางได้แก่
7.1 การเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดินจากนาข้าวเป็นพื้นที่ปลูกไม้ผล เช่น มะม่วง ส้มเขียวหวาน ส้มโอ กล้วยหอม และมะพร้าว เป็นต้น หรือปลูกผักต่าง ๆ ที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงหรือปลูกไม้โตเร็ว สามารถปลูกพืชดังกล่าวนี้ได้ ถ้าได้มีการปรับปรุงพื้นที่ โดยทำคันดินรอบบริเวณเพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝน และทำการยกร่องปลูกเพื่อช่วยการระบายน้ำของดิน ดังรายละเอียดที่ได้กล่าวแล้ว
7.2
การเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดินจากนาข้าวเป็นบ่อเลี้ยงปลา
ซึ่งเป็นทางเลือกอีกหนึ่งในการใช้ที่ดินกลุ่มนี้
น่าจะเป็นการใช้ที่ดินที่เหมาะสมและให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงพันธุ์ปลาที่แนะนำให้เลี้ยงได้แก่
ปลาดุกอุยเทศ ปลาไน ปลานิล
และปลาตะเพียนขาว
ส่วนการจัดการบ่อปลาและวิธีการเลี้ยงปลาแต่ละชนิดนั้น
ควรขอคำแนะนำจากประมงอำเภอ
ประมงจังหวัดหรือที่กรมประมง
7.3การเปลี่ยนสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินจากนาข้าวเป็นการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
ซึ่งเป็นทางเลือก
อีกทางนึ่ง
โดยเฉพาะการเลี้ยงโคนมที่ต้องการพื้นที่ไม่มากนักและจะให้ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจสูงกว่าการใช้ที่ดินกลุ่มนี้เพื่อปลูกข้าว
7.4 การใช้ทีดินแบบไร่นาสวนผสม น่าจะเป้นทางเลือกการใช้ที่ดินที่เหมาะสมสำหรับดินกลุ่มนี้ในกรณีที่เกษตรการมีที่มากพอ โดยแบ่งการใช้ที่ดินออกเป็นนาข้าว ที่ปลูกไม้ผล และที่ทำบ่อเลี้ยงปลา หรือแบ่งการใช้ที่ดินออกเป็นที่ปลูกไม้ผล ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ และที่ทำบ่อเลี้ยงปลา หรือแบ่งการใช้ที่ดินออกเป็นที่ปลูกข้าว ที่ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ และที่ปลูกไม้ผล เป็นต้น การที่เกษตรกรจะเลือกทำไร่นาสวนผสมแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะราคาพืชผลหรือผลผลิตทางการเกษตรที่จะผลิตออกสู่ตลาด ที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนสูงและกิจกรรมในไร่นาสวนผสมนั้นจะเอื้อประโยชน์ต่อกัน เช่น การปลูกหญ้าเลี้ยงวัวนม ซึ่งวัวนมจะถ่ายมูลออกมาและนำไปใช้เป็นปุ๋ยบำรุงต้นไม้ผล และใส่ลงไปในบ่อเลี้ยงปลาทำให้เกิดตะไคร่น้ำ (Plankton) เป็นอาหารแก่ปลาที่เลี้ยงจะเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิต ด้านปุ๋ยและอาหารปลา นอกจากที่กล่าวแล้วการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบไร่นาสวนผสมจะช่วยให้เกษตรกรลดความเสี่ยงในด้านราคาผลผลิตและเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ทำให้ที่ดินมีความสามารถในการผลิตที่ยั่งยืน (sustained soil productivity) ถ้าได้มีการจัดการดินให้ถูกต้องและเหมาะสมกับการใชประโยชน์ที่ดินแต่ละชนิดที่ได้กล่าวมาแล้วในข้อ 6