3. ลักษณะของกลุ่มดิน ชุดดิน และการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
3.1 ลักษณะของกลุ่มชุดดิน เนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอดหน้าตัดดิน ดินบนมีลักษณะการทับถมเป็นชั้นๆ ของดินและอินทรียวัตถุที่ได้จากากรขุดลอกร่องน้ำ ดินล่างมีสีเทา บางแห่งพบเปลือกหอยปะปนอยู่ด้วย นอกจากนี้ยังพบจุดประสีน้ำตาลเข้มและสีน้ำตาลปนเหลืองอยู่ในดินชั้นล่าง ที่ประมาณความลึก 1 เมตรลงไปจะพบโคลนก้นทะเลสีเทาปนน้ำเงิน ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่างปานกลางค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 7.0-8.5 มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง ลักษณะเด่นของกลุ่มดินที่ 8 ก็คือเป็นกลุ่มดินที่เกษตรกรได้เปลี่ยนสภาพพื้นที่จากราบเรียบทำเป็นร่องสวน หรือขนัดสวนปลูกไม้ผลอย่างถาวร จึงทำให้ลักษณะของดินและการใช้ประโยชน์เปลี่ยนแปลงไปจากของเดิม
3.2 ลักษณะของชุดดินในกลุ่ม
3.2.1 ชุดดินธนบุรี (Thonburi series) ลักษณะเนื้อดินบนเป็นดินเหนียวสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้มส่วนดินชั้นล่างเป็นดินเหนียวสีน้ำตาลปนเทาตอนบนและสีเทาตอนล่างและที่ความลึกประมาณ 1.5 เมตร จะเปลี่ยนเป็นสีเทาอมเขียว หรือเทาอมน้ำเงิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกรดเล็กน้อยในดินชั้นบน ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.5
3.2.2 ชุดดินสมุทรสงคราม (Samut Songkhram series) ลักษณะเนื้อดินเป็นดินเหนียวสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้ม ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินเหนียวสีน้ำตาลปนเทา หรือเทาอมเขียวมะกอก และจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเทาอมเขียวหรือเทาอมน้ำเงิน ซึ่งเกิดขึ้นที่ความลึกระหว่าง 50-125 ซ.ม. จากผิวดินบน จะพบจุดประสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเขียวมะกอกในดินชั้นล่าง ปฏิกิริยาของดินเป็นด่างปานกลาง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 8.0-8.5
3.2.3 ชุดดินดำเนินสะดวก (Damnoen Saduak series) ลักษณะเนื้อดินบนเป็นดินเหนียวสีดำหรือสีเทาเข้มมาก ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินเหนียวสีเทาอ่อน เทาอ่อนอมเขียวมะกอก และเปลี่ยนเป็นสีเทาอมเขียวที่ความลึกประมาณ 120 ซม. จากผิวดินบน ในดินชั้นล่างยังพบจุดประสีน้ำตาลปนเหลืองและน้ำตาลอมเขียวมะกอกและพบเศษของเปลือกหอยอีกด้วย ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงเป็นด่างอย่างอ่อนในดินชั้นบน ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 7.0-8.0 และค่าความเป็นกรดเป็นด่างจะสูงขึ้นในดินชั้นล่างคืออยู่ระหว่าง 8.0-8.5
3.3 การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
การประเมินได้ใช้คุณสมบัติทางเคมีได้แก่ ค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (C.E.C.) เปอร์เซนต์การอิ่มตัวด้วยเบส (B.S.) ปริมาณอินทรียวัตถุ (O.M.) ปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชซึ่งได้จากผลของการวิเคราะห์ดินที่เป็นตัวแทนของชุดดินในกลุ่มโดยพิจารณาจากดินบนหนาประมาณ 30 ซม. วิธีการประเมินใช้วิธีในคู่มือการวินิจฉัยคุณภาพดินสำหรับประเทศไทย พิมพ์เผยแพร่โดยกรมพัฒนาที่ดิน ผลของการประเมินสรุปได้ดังนี้
ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์ดินและระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ชุดดิน / Profile code |
ค่าเฉลี่ยผลการวิเคราะห์ดินบนหนา 30 ซม. |
ระดับความ อุดมสมบูรณ์ |
||||
C.E.C. Me/100g soil |
B.S % |
O.M % |
P ppm. |
K Ppm. |
||
ธนบุรี/C9/1 | 31.20 |
75 |
1.09 |
7.3 |
105 |
ปานกลาง |
สมุทรสงคราม/SE 54/1 | 34.30 |
91 |
4.09 |
34.0 |
575 |
สูง |
ดำเนินสะดวก/SE 51/1 | 47.6 |
93 |
3.95 |
24.30 |
237 |
สูง |
สรุป จากการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินชุดดินธนบุรี สมุทรสงคราม และดำเนินสะดวก พบว่าดินชุดธนบุรีมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ส่วนดินชุดสมุทรสงครามและดำเนินสะดวกมีความอุดมสมบูรณ์สูง