5. ปัญหาและข้อจำกัดของกลุ่มชุดดินที่ 11 ในการปลูกพืช
5.1 ดินเป็นกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด
5.2 ดินมีสภาพการระบายน้ำเลว ไม่เหมาะในการปลูกพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก
5.3 น้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝน ไม่เหมาะในการปลูกพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก
5.4 ดินขาดธาตุอาหารพืชบางอย่างและธาตุอาหารพืชบางอย่างละลายออกมามากจนเป็นพิษต่อพืชที่ปลูก เช่น ธาตุเหล็กและอลูมินั่ม
5.5 ดินเหนียวจัด ยากในการเตรียมดินปลูก
ตารางที่ 2 ชั้นความเหมาะสมของกลุ่มชุดดินที่ 11 สำหรับปลูกพืชต่างๆ
ชนิดของพืช |
ชั้นความเหมาะสมของดินสำหรับการปลูกพืช |
การปรับปรุงและการพัฒนาที่ดินที่ควรดำเนินการ |
||
ในฤดูฝน |
ในฤดูแล้ง |
หลังการพัฒนาที่ดิน |
||
ข้าว
พืชไร่ ข้าวโพด-ข้าวฟ่าง ปอแก้ง ละหุ่ง ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว อ้อย (เคี้ยว) สับปรด ฝ้าย ผักต่างๆ ไม้ผลและไม้ยืนต้น มะม่วง ขนุน ส้มโอ-ส้มเขียวหวาน มะพร้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน หญ้าเลี้ยงสัตว์ |
1a
3fa 3fa 3fa 3fa 3fa 3fa 3fa 3fa 3fa 3fa
3fa 3fa 3fa 3fa 3fa 3fa 3fa |
2aw
2a 2a 2ad 2ad 2ad 2ad - - - 2ad
- - - - - - 1 |
1
1 1s 1s 1s 1s 1s 1s 1s 1s 1s
1d 2d 1d 1 2d 1d 1 |
-แก้ปัญหาดินเปรี้ยวจัดด้วยการใส่ปูนหรือปูนมาร์ล -พัฒนาแหล่งน้ำให้เพียงพอ -ใส่ปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดิน การจัดการให้ดำเนินการดังนี้ 1. ทำคันรอบพื้นที่ปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วม 2. ยกร่องปลูก เพื่อช่วยการระบายน้ำและล้างความเป็นกรดของดิน 3.
ใส่ปูนเพื่อแก้ความเป็นกรดของดิน
- -ดำเนินการเช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่
-ทำคันดินรอบพื้นที่เพื่อป้องกันน้ำท่วมและแก้ไขความเป็นกรดของดิน |
หมายเหตุ : 1. ชั้นความเหมาะสมของดินแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ
ชั้นที่ 1 เหมาะสม
ชั้นที่ 2 ไม่ค่อยเหมาะสม
ชั้นที่ 3 ไม่เหมาะสม
2. สัญลักษณ์ที่แสดงถึงข้อจำกัดในการปลูกพืช
a : ดินเป็นกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด
d : ดินมีการระบายน้ำเลวหรือไม่ดี
f : น้ำท่วมขังในบางช่วง
s : ดินเหนียวจัด ไม่ร่วนซุย ยากในการเตรียมดิน
3. การจัดชั้นความเหมาะสมในการปลูกพืชช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง เป็นการเพาะปลูกแบบอาศัยน้ำฝน