8. สรุป
กลุ่มชุดดินที่ 11 เป็นดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดกำมะถัน ลักษณะเนื้อดินเป็นดินเหนียว การระบายน้ำเลว ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำท่วมขังที่ผิวดินระหว่าง 4-6 เดือน ส่วนใหญ่ใช้ในการทำนา แต่ให้ผลผลิตต่ำ เนื่องจากความเป็นกรดจัด กลุ่มชุดดินนี้ประกอบด้วยชุดดินที่สำคัญ คือ ดินชุดรังสิต ธัญญบุรี เสนา และดอนเมือง ซึ่งพบมากในภาคกลางใต้และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้พบในเนื้อที่ไม่มากนัก รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 2,834,400 ไร่
ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์กลุ่มชุดดินนี้ได้แก่ ดินเป็นกรดจัด มีสภาพการระบายน้ำเลวและน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝน จึงเป็นข้อจำกัดในการปลูกไม้ผล พืชไร่และพืชผัก ดินขาดธาตุอาหารพืชบางอย่างและธาตุอาหารบางอย่างละลายออกมามากจนเกินไปจนเปแนพิษต่อพืช และดินไม่ร่วนซุย จึงไม่ค่อยเหมาะในการปลูกพืชไร่และพืชผัก อย่างไรก็ตามกลุ่มชุดดินนี้มีศักยภาพเหมาะสมในการปลูกข้าวหรือทำนา พันธุ์ข้าวที่สามารถทนต่อความเปรี้ยวของดินกลุ่มนี้ได้แก่ กข.7 กข.13 กข.21 กข.23 สุพรรณบุรี 90 แก่นจันทร์ ลูกแดง ตำเมไหร อัลฮัมดูลิลละห์ ช่องนางเอื้อง และขาวดอกมะลิ 105 นอกจากใช้ปลูกข้าวในช่วงฤดูฝนแล้ว ในฤดูแล้งยังสามารถใช้ปลูกพืชไร่อายุสั้นและพืชผักได้อีกด้วย
การใช้ประโยชน์กลุ่มชุดดินนี้ทางการเกษตรควรใช้ในรูปแบบไร่นาสวนผสมน่าจะเหมาะสมที่สุด โดยการแบ่งพื้นที่ออกเป็นพื้นที่ทำนา ปลูกไม้ผลโดยการยกร่อง ที่ขุดบ่อน้ำและเลี้ยงปลา และที่อยู่อาศัย อัตราส่วน 4:3:2:1 ตามลำดับน่าจะเหมาะสมที่สุด สำหรับกิจกรรมในไร่นาสวนผสมนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะเศรษบกิจในด้านราคาและความต้องการของตลาดสำหรับผลผลิตทางการเกษตร
ตารางที่ 3 สรุปการจัดการกลุ่มดินที่ 11 ให้เหมาะสมแก่การปลูกพืชชนิดต่างๆ
ชนิดพืช |
ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน |
วิธีการจัดการดิน |
1. ข้าว | ||
พันธุข้าวที่แนะนำ -นาปี ได้แก่ แก่นจันทร์ ข้าวลูกแดง ตำเมไหร อัลฮัมดูลัลละห์ ช่อนางเอื้อง ขาวดอกมะลิ 105 -นาปรัง ได้แก่ กข.21 กข.23 กข.4 สุพรรณบุรี 90 |
-ดินเป็นกรดจัด | -ใช้ปูนมาร์ลหรือหินปูนฝุ่นในอัตราดังนี้ เขตชลประทาน -pH ดินน้อยกว่า 4 ใช้อัตรา 2 ตัน/ไร่ -pH ดิน 4-4.5 ใช้อัตรา 1 ตัน/ไร่ เขตเกษตรน้ำฝน -pH ดินน้อยกว่า 4 ใช้อัตรา 2.5 ตัน/ไร่ -pH ดิน 4.-45 ใช้อัตรา 1.5 ตัน/ไร่ -ใช้น้ำล้างความเป็นกรด ในกรณีที่มีแหล่งน้ำมากพอ โดยปล่อยน้ำขังในนาแล้วถ่ายออกหลายๆ ครั้ง ครั้งที่ 1 หลังไถดะ ปล่อยน้ำแช่ขัง 1 สัปดาห์ แล้วถ่ายออก ครั้งที่ 2 หลังไถแปร ปล่อยน้ำแช่ขัง 10 วัน แล้วถ่ายออก ครั้งที่ 3 หลังปักดำ ปล่อยน้ำแช่ขัง 2 สัปดาห์ แล้วถ่ายออก ต่อจากนั้นถ่ายน้ำ 4-5 สัปดาห์ต่อครั้ง จนข้าวตั้งท้อง |
-ดินขาดธาตุอาหารที่จำเป็นบางชนิด | -ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 หรือ 16-16-8 อัตรา 25-40 กก./ไร่ หว่านให้ทั่วแปลงก่อนปักดำ 1 วัน หลังจากนั้นใช้ปุ๋ยยูเรีย 5-10 กก./ไร่ ในช่วงตั้งท้องหรือเมื่อเริ่มสร้างรวง | |
2. พืชไร่ | -ดินมีการระบายน้ำเลว และมีน้ำแช่ขังในช่วงฤดูฝน | -ยกร่องปลูกมี
2 แบบ
|
-ดินเป็นกรดจัด | -ใช้ปูนมาร์ลหรือหินปูนฝุ่นในอัตราดังนี้ เขตชลประทาน -pH ดินน้อยกว่า 4 ใช้อัตรา 2 ตัน/ไร่ -pH ดิน 4-4.5 ใช้อัตรา 1 ตัน/ไร่ เขตเกษตรน้ำฝน -pH ดินน้อยกว่า 4 ใช้อัตรา 2.5 ตัน/ไร่ -pH ดิน 4.-45 ใช้อัตรา 1.5 ตัน/ไร่ |
|
2.1 ข้าวโพด | -ดินขาดแร่ธาตุอาหารบางชนิด | -ใส่ปุ๋ยเคมีตามความต้องการของข้าวโพดสูตร
10-10-10 อัตรา 50-100 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2
ครั้งๆ ละเท่ากัน ครั้งที่ 1 ใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก ครั้งที่ 2 ใส่เมื่ออายุ 25 วัน ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 10 กก./ไร่ ใส่เมื่ออายุ 25-30 วัน โดยโรยสองข้างแถวข้าวโพดแล้วกลบ |
2.2
ถั่วเขียว ถั่วลิสง |
-ใส่ปุ๋ยสูตร
12-24-12 อัตรา 20 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้งๆ
ละเท่าๆ กัน ครั้งที่ 1 ใส่รองพื้นก่อนปลูก ครั้งที่ 2 เมื่ออายุได้ 20-25 วัน |
|
3. พืชผัก | -ดินมีการระบายน้ำเลว และมีน้ำแช่ขังในช่วงฤดูฝน | -ยกร่องปลูกมี
2 แบบ
|
-ดินเป็นกรดจัด | -ใช้ปูนมาร์ลหรือหินปูนฝุ่น 2-3 ตัน/ไร่ หรือ 2 กก. ต่อตารางเมตร โดยคลุกเคล้าปูนให้เข้ากับดินทิ้งไว้ 17 วันก่อนปลูก | |
-ดินเป็นดินเหนียวจัดมีโครงสร้างแน่นทึบ | -ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ 5 ตัน/ไร่ หรือ 3 กก.ต่อตารางเมตร โดยใส่ก่อนปลูก 1 วัน | |
-ดินขาดรแร่ธาตุอาหารบางชนิด | -ใส่ปุ๋ยเคมีตามความต้องการของพืช กลุ่มรับประทานใบและลำต้น ได้แก่ ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกาดเขียวปลี ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กก./ไร่ โดยใส่ก่อนปลูก 1 วัน ใช้ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 20 กก./ไร่ ใส่หลังปลูก 20-25 วัน |
ชนิดพืช |
ปัญหาและข้อจำกัดใน การใช้ประโยชน์ที่ดิน |
วิธีการจัดการดิน |
กลุ่มรับประทานผล
เช่น พวกมะเขือ มะเขือเทศ
แตงต่างๆ ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50-60
กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้งเท่าๆ กัน ครั้งที่ 1 หลังจากย้ายกล้าปลูกแล้ว 7 วัน ครั้งที่ 2 หลังจากย้ายกล้าปลูกแล้ว 30 วัน หรือเมื่อเริ่มออกดอก โดยใส่สองข้างแถวแล้งกลบ ถั่วฝักยาว ใช้ปุ๋ยสูตร 10-30-10 อัตรา 30-40 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง เท่าๆ กัน ครั้งแรก ใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก ครั้งที่สอง ใส่เมื่อเริ่มออกดอก กลุ่มรับประทานหัว ได้แก่ หอมแดง กระเทียม หอมหัวใหญ่ ใช้ปุ๋ยสูตร 20-10-10 อัตรา 40-50 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้งเท่าๆ กัน ครั้งแรก ใส่ก่อนปลูก หว่านให้ทั่วแปลง ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากปลูก 30 วัน โดยหว่านทั่วแปลงแล้วรดน้ำทันที่ |
ชนิดพืช |
ปัญหาและข้อจำกัดใน การใช้ประโยชน์ที่ดิน |
วิธีการจัดการดิน |
4. ไม้ผล | -ดินมีการระบายน้ำเลว
มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน -ดินเป็นกรดจัด |
-สร้างคันดินขนาดใหญ่ล้อมรอบแปลง
พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำ
เพื่อระบายน้ำออกตามความต้องการและทำการยกร่องสำหรับปลูกไม้ผลตามวิธีการในข้อ
6.3.2 -ระบายน้ำที่เป็นน้ำเปรี้ยวออกจากคูระบายน้ำ 3-4 เดือน/ครั้ง ควบคุมระดับน้ำในคูไม่ให้ต่ำกว่าชั้นดินเลนที่มีสารไพไรท์และใส่ปูนมาร์ลหรือหินปูนฝุ่นให้ทั่วทั้งร่องที่จะปลูกในอัตรา 1-2 ตัน/ไร่ หรือ 15 กก./หลุม |
-ดินเป็นดินเหนียวจัด มีโครงสร้างแน่นทึบ | -ขุดหลุมปลูกขนาดกว้าง ยาว ลึกระหว่าง 50-100 ซม. แยกชั้นดินบนและดินล่างไว้ต่างหากทิ้งไว้ 1-2 เดือน เอาส่วนที่เป็นหน้าดินผสมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักแล้วกลบให้เต็มหลุม ปุ๋ยหมักใส่อัตรา 5-10 กก./ตัน | |
-ดินขาดแร่ธาตุอาหารบางชนิด | -ใส่ปุ๋ยเคมีตามความต้องการของพืชที่ปลูก ดังนี้ | |
4.1
ปาล์มน้ำมัน (ปลูกในภาคใต้) |
อายุ 1 ปี
ใส่ปุ๋ย 5 ครั้ง สูตรปุ๋ย 12-12-17 หรือ
13-13-21 อัตรา 2.0-2.5 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3
ครั้ง และใส่ปุ๋ยเดี่ยวสูตร 21-0-0
อัตรา 2.0-2.5 กกง/ตัน/ปี หรือ 46-0-0 อัตรา
1.0-1.2 กก./ตัน อายุ 2-4 ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง ต้น กลาง ฤดูฝน ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 14-14-21 หรือ 15-15-21 อัตรา 3.0-5.0 กก./ตัน และปลายฤดูฝน ใช้ปุ๋ยสูตร 12-12-17 อัตรา 3.0-6.5 กก./ตัน อายุ 5 ปีขึ้นไป แบ่งใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง ต้น กลาง และปลายฤดูฝน ใช้ปุ๋ยสูตร 14-9-21 หรือ 14-9-20 หรือ 12-9-21 อัตรา 8-9 กก./ต้น ร่วมกับโบแรกซ์ 50-100 กรัม/ตัน/ปี |
ชนิดพืช |
ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน |
วิธีการจัดการดิน |
4.2 มะม่วง |
ก่อนตกผล
(อายุ 0-4 ปี) ใส่ปุ๋ย 4 ครั้ง
เดือนมีนาคม พฤษภาคม สิงหาคม
และตุลาคม ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา
400-500 กรัม/ตันxอายุปี หรือสูตร 15-30-15
อัตรา 300-400 กรัม/ต้นxอายุปี
ร่วมกับปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 200-250
กรัม/ตันxอายุปี หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0
อัตรา 100-125 กรัม/ตันxอายุปี หรือสูตร
20-20-10 อัตรา 500-600 กรัม/ตันxอายุปี ตกผลแล้ว ใส่ปุ๋ยหลังเก็บและใส่คงที่เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต อายุ 12 ปี แล้ว 2 ครั้ง และหลังติดผลแล้ว 1 ครั้ง ใส่ปุ๋ยสูตร 14-9-20 หรือ 15-5-20 อัตรา 500-600 กรัม/ตันxอายุปี ร่วมกับปุ๋ยสูตร 14-0-20 อัตรา 100-150 กรัม/ต้นxอายุปี หรือสูตร 15-3-12 อัตรา 500-600 กรัม/ตันxอายุปี หรือสูตร 15-5-2 อัตรา 800-900 กรัม/ตันxอายุปี |
4.3 ส้มเขียวหวาน |
ก่อนตกผล
(อายุ 0-3 ปี) ใส่ปุ๋ย 4 ครั้ง ทุกๆ 3
เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 18-6-6 อัตรา 250-300
อัตรา 250-300 กรัม/ตันxอายุปี หรือสูตร
25-7-7 อัตรา 200-250 กรัม/ตันxอายุปี
ร่วมกับปุ๋ยสูตร 14-0-20 อัตรา 200-250
กรัม/ตันxอายุปี หรือปุ๋ยสูตร 16-3-5
อัตรา 500-600 กรัม/ต้นxอายุปี หรือสูตร
18-4-510 อัตรา 400-500 กรัม/ต้นxอายุปี ตกผลแล้ว ใส่ปุ๋ยหลังเก็บผลผลิตแล้ว 2 ครั้ง และติดผลแล้ว 1 ครั้ง และใส่คงที่เมื่อ อายุ 12 ปี ใส่ปุ๋ยสูตร 12-3-6 อัตรา 600-700 กรัม/ตันxอายุปี หรือสูตร 14-4-9 อัตรา 500-650 กรัม/ตันxอายุปี ร่วมกับปุ๋ยสูตร 14-0-20 อัตรา 100-500 กรัม/ตันxอายุปี หรือสูตร 15-3-12 อัตรา 500-600 กรัม/ตันxอายุปี |
|
4.4 มะพร้าว |
อายุ 1-5 ปี
ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง
ในช่วงต้นและปลายฤดูฝน
ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 15-15-15 หรือ 16-16-16
อัตรา 1.00 กก./ต้นxอายุปี
ร่วมกับปุ๋ยสูตร 0-0-6 อัตรา 0.5
กก./ต้นxอายุปี อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ใส่ปุ๋ย 2 ครั้งในช่วงต้นและปลายฤดูฝน ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 6 กก./ต้นxอายุปี หรือ 15-15-15 หรือ16-16-16 อัตรา 0.5 กก./ตันxอายุปี ร่วมกับปุ๋ยสูตร 0-0-6 กก./ต้นxอายุปี |
5. ไม้ยืนต้น | -ดินเป็นกรดจัด | -เลือกชนิดพืชที่สามารถทนดินเปรี้ยว ได้แก่สนปฏิพัทธ์ กระถินเทพา ยูคาลิปตัส สาคู เสม็ด |
-ดินมีการระบายน้ำเลว มีน้ำแช่ขังในฤดูฝน | -เลือกชนิดพืชที่ทนต่อสภาพน้ำขัง ได้แก่ เสม็ด ถ้าจะปลูกพืชชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ ต้องมีการปรับสภาพพื้นที่เพื่อป้องกันการแช่ขังของน้ำบ้าง โดยทำร่องห่างๆ กัน ระบายน้ำออกจากพื้นที่ | |
6. พืชอาหารสัตว์ | -ดินมีการระบายน้ำเลว มีน้ำแช่ขังในฤดูฝน | -ปรับสภาพพื้นที่ให้สามารถระบายน้ำออกได้ โดยทำเป็นร่องห่างๆ กัน เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่ |
-ดินเป็นกรดและขาดธาตุอาหารบางชนิด | -เพิ่มผลผลิตได้โดยมีการเตรียมพื้นที่ เช่น มีการไถพรวนใช้ปูนและปุ๋ยทริปเปิลฟอสเฟตอัตรา 2,000 และ 80 กก./ไร่/ปี ตามลำดับ |