3. ลักษณะของกลุ่มชุดดินและของชุดดินในกลุ่มและการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
3.1 ลักษณะของกลุ่มชุดดิน ลักษณะเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนส่วนดินชั้นล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนเหนียวสีน้ำตาลอ่อนถึงสีเทา พบจุดประสีน้ำตาล สีเหลืองหรือสีแดงปนเหลือง บางพื้นที่จะพบศิลาแลงอ่อนหรือก้อนเหล็กและแมงกานีสสดสมกันในดินชั้นล่างนี้ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดแก่ถึงเป็นกรดแก่มาก ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 4.5-5.5 เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ
3.2 ลักษณะของชุดดินในกลุ่ม
3.2.1ชุดดินร้อยเอ็ด R0I-Et series) ลักษณะเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนสีน้ำตาลปนเทาหรือน้ำตาลอ่อนปนเทา พบจุดประสีน้ำตาลปนเหลืองหรือน้ำตาลแก่ ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินร่วนหรือดินร่วนเหนียวปนทรายสีเทาปนชมพูหรือสีเทาอ่อน พบจุดประสีน้ำตาลปนเหลืองน้ำตาลเข้มและสีแดงปะปนอยู่กับสีพื้น ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดแก่ถึงเป็นกรดแก่มาก ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 4.5-5.5 ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
3.2.2 ชุดดินเรณู (Renu series) ลักษณะเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วนหรือดินทรายร่วนสีน้ำตาลเข้มปนเทาหรือสีน้ำตาลปนเทา ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายถึงดินเหนียวปนทราย สีเทาปนชมพู หรือน้ำตาลอ่อน และจะเป็นสีเทาอ่อนในชั้นลึกของดินล่าง พบจุดประสีน้ำตาลแก่และแดงปนเหลือง ดินบนมีปฏิกิริยาเป็นกรดแก่ถึงเป็นกรดปานกลางค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 5.0-6.0 ส่วนดินชั้นล่างค่าความเป็นกรดเป็นด่างลดลงอยู่ระหว่าง 4.5-5.5 ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
3.2.3 ชุดดินหล่มเก่า (Lom Kao series) ลักษณะเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย หรือ ดินร่วนสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ถึงดินเหนียวปนทรายสีน้ำตาลอ่อนปนแดงหรือน้ำตาลปนแดงในดินชั้นล่างตอนบน และจะเปลี่ยนเป็นสีเทาปนชมพู หรือสีเทาอ่อนปนน้ำตาล พบจุดประสีน้ำตาลในดินชั้นบนและสีน้ำตาลปนเหลืองและแดงปนเหลืองในดินชั้นล่าง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงปานกลางในดินชั้นบน ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.5 และเป็นกรดแก่มากถึงเป็นกรดแก่ในดินชั้นล่าง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 4.5-5.5 ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
3.2.4 ชุดดินสายบุรี (Sai Buri series) ลักษณะเนื้อดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายแป้งสีน้ำตาลเข้มปนเทาหรือสีน้ำตาล ส่วนดินชั้นล่างตอนบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนดินเหนียวสีน้ำตาล หรือสีเหลืองและจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ๆ ในตอนล่าง พบจุดประสีน้ำตาล และสีเหลือง ๆ เกิดขึ้นตลอดหน้าตัดดิน บางแห่งจะพบจุดประสีแดง ๆ เกิดขึ้นในดินชั้นล่าง ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดแก่ ถึงกรดแก่มาก ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในระหว่าง 4.5-5.5 ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
3.2.5 ชุดดินสุไหงปาดี ( Sungai Padi series) ลักษณะเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย สีน้ำตาลเข้มปนเทา ส่วนดินชั้นล่างตอนบนเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายสีเทาอ่อนปนน้ำตาล และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนปนเหลือง หรือสีน้ำตาลซีด พบจุดประสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีเหลืองปนน้ำตาลและน้ำตาลแก่ ตั้งแต่ดินชั้นรองถึงดินชั้นล่าง และมักพบจุดประสีแดงหรือแดงเข้มในดินชั้นล่างลึกๆ ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกรดแก่ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 5.0-6.0 ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
3.2.6 ชุดดินโคกเคียก (Khok Khian series ) ลักษณะเนื้อดินบนส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย สีน้ำตาลปนเทาหรือน้ำตาลอ่อนปนเทา ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายสีเทาหรือเทาอ่อน สำหรับอนุภาคทรายจะมีลักษณะเป็นเหลี่ยม (angular) พบจุดประสีออกทางน้ำตาลตลอดหน้าตัดของดิน ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกรดแก่ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 5.0-6.0 ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
3.2.7 ชุดดินสงขลา( Songkhla series) ลักษระเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายสีน้ำตาลเข้มปนเทา ส่วนดินชั้นล่างตอนบนเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายหยาบสีน้ำตาลหรือน้ำตาลซีดและจะเปลี่ยนเป็นสีเทาหรือเทาอ่อนในตอนล่าง พบจุดประสีน้ำตาลและเหลืองเกิดขึ้นตลอดหน้าตัดของดิน ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดแก่ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 4.5-5.0 ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
3.2.8 ชุดดินบุณฑริก (Buntharik series) ลักษณะเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วนสีน้ำตาลเข้มมากปนเทา หรือน้ำตาลปนเทาหรือน้ำตาลซีดมาก ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายถึงดินเหนียวปนทรายสีเทาอ่อนปนน้ำตาลหรือน้ำตาลซีด พบจุดประสีแดงเป็นจำนวนมากในดินชั้นล่าง และมักพบเศษหินทรายที่กำลังสลายตัวในดินชั้นล่างลึกตั้งแต่ 100 ซม.ลงไป ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดแก่ถึงเป็นกรดแก่มาก ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 4.5-5.5
3.2.9 ชุดดินวิสัย ( Visai serier ) ลักษณะเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย สีน้ำตาลเข้มปนเทา ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินร่วนปนทราย ถึงดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนเหนียวสีเทาอ่อน หรือน้ำตาลอ่อน พบจุดประสีออกน้ำตาลเหลืองและแดงตลอดหน้าตัดดิน และจะพบสิลาแลงอ่อน (plinthite) เกิดขึ้นติดต่อกัน หรือมีปริมาณเกิน 50 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตรในดินชั้นล่าง ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดแก่ ถึงเป็นกรดเล็กน้อยในดินชั้นบน และเป็นกรดปานกลาง ถึงเป็นกรดแก่ ในดินชั้นล่าง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 5.0-6.0 ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
3.3. การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ในการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินแต่ละชุด ได้ใช้ค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (C.E.C) ค่าความอิ่มตัวด้วยเบส (B.S.) ปริมาณอินทรียวัตถุ (O.M.) ปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชซึ่งได้จากผลของการวิเคราะห์ดินที่เป็นตัวแทนของชุดดินในกลุ่มดิน โดยพิจารณาเฉพาะผิวดินหนาประมาณ 30 ซม. วิธีการประเมินใข้วิธีในคู่มือการวินิจฉัยคุณภาพของดินในประเทศไทยปี ค.ศ. 1973 (Soil Interpretation Handbook for Thailand, 1973) พิมพ์เผยแพร่โดยกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งผลการประเมินพอสรุปได้ดังนี้
ตารางที่ 1 : ผลการวิเคราะห์ดินและระดับความอุดมสมบูรณ์ของชุดดิน
สรุป จากการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินชุดต่าง ๆ ในกลุ่มชุดที่ 17 พบว่าดินทุกชุดมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ
ชุดดิน / Profile code หรือ Lab No. |
ค่าเฉลี่ยผลการวิเคราะห์ดินบนหนา 30 ซม. |
ระดับความอุดมสมบูรณ์ |
||||
C.E.C Me/100g soil |
B.S % |
O.M % |
P p.pm |
K pp.m |
||
ร้อยเอ็ด
/ NE-N32 / 8 เรณู / NE-N29 / 87 หล่มเก่า / NC47 / 16 สายบุรี / S62 / 53 สุไหงปาดี / S71 / 100 โคกเคียน / S71 / 17 สงขลา / S68 / 51 บุณฑริก / NE- S24 / 2 วิสัย / S58 / 4 |
2.25 4.70 4.40 5.20 3.80 3.50 2.97 6.63 1.70 |
65.00 22.50 37.00 9.00 8.50 22.50 11.33 62.33 29.50 |
0.34 1.47 0.97 1.98 1.59 1.12 2.22 0.45 0.60 |
9.05 2.30 2.90 2.45 5.05 5.10 4.40 1.57 1.75 |
58.50 46.50 31.00 52.50 17.00 32.50 13.00 45.78 15.50 |
ต่ำ ต่ำ ต่ำ ต่ำ ต่ำ ต่ำ ต่ำ ต่ำ ต่ำ |