4. ความเหมาะสมของกลุ่มชุดดินสำหรับการปลูกพืชต่าง ๆ
โดยทั่วไปแล้ว กลุ่มชุดดินที่ 17 มีศักยภาพเหมาะสมที่จะใช้ในการทำนามากกว่าการปลูกพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักในช่วงฤดูฝน แต่สามารถปลูกพืชไร่หรือพืชผักที่มีอายุสั้นได้ในช่วงฤดูแล้ง ถ้ามีแหล่งน้ำธรรมชาติหรือมีน้ำชลประทานเข้าถึง ดังนั้นในการจัดชั้นความเหมาะสมของกลุ่มชุดดินที่ 17 ในการปลูกพืชต่าง ๆ นั้นจะจัดทั้งการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งซึ่งพอสรุปได้ในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 : ชั้นความเหมาะสมของกลุ่มชุดดินที่ 17 สำหรับการปลูกพืชชนิดต่าง ๆ
|
ชั้นความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช |
|
ชั้นความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช |
||
ในฤดูฝน |
ในฤดูแล้ง |
ในฤดูฝน |
ในฤดูแล้ง |
||
ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ปอแก้ว มันสำปะหลัง ละหุ่ง งา ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง แตงโม ยาสูบ อ้อย สัปปะรด |
1s 3f 3f 3f 3f 3f 3f 3f 3f 3f 3f 3f 3f 3f |
3w 1m 1m 3m - 1m 1m 1m 1m 1m 1s 1s - - |
ฝ้าย หม่อน พืชผักต่างๆ ไม้ผล ลำไย ลิ้นจี่ ส้ม ขนุน มะม่วง มะพร้าว ไม้โตเร็วต่าง ๆ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ |
3f 3f 3f
3f 3f 3f 3f 3f 3f 3f 3f
|
- - 1m
- - - - - - - 1 |
หมายเหตุ : 1. การแบ่งชั้นความเหมาะสมของกลุ่มชุดดินที่ 17 สำหรับการปลูกพืชแบ่งออกเป็น 3 คือ
ชั้นที่ 1 :
เหมาะสม
ชั้นที่ 2 :
ไม่ค่อยเหมาะสม
ชั้นที่ 3 : ไม่เหมาะสม
2. สัญลักษณะที่แสดงถึงข้อจำกัดในการปลูกพืช
f : หมายถึง
การมีน้ำท่วมหรือน้ำขังทำให้พืชที่ปลูกเสียหายในช่วงฤดูฝน
m : หมายถึง
เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในการปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง
w : หมายถึง
มีน้ำไม่เพียงพอในการปลูกข้าวในช่วงฤดูแล้ง
3. การจัดชั้นความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช เป็นการเพาะปลูกแบบอาศัย น้ำฝน เป็นหลัก
4. การปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้นหรือพืชไร่อายุเกิน 8 เดือน เช่น มันสำปะหลัง อ้อย สับปะรด หม่อน ฯลฯ ไม่เหมาะสมที่จะนำมาปลูกในกลุ่มชุดดินที่ 17 เพราะในช่วงฤดูฝนมีน้ำขังและระดับน้ำใต้ดินตื้น จะปลูกได้ต้องมีการปรับสภาพพื้นที่ คือ ทำคันดินรอบพื้นที่เพื่อป้องกันน้ำท่วมและมีการยกร่องปลูกเพื่อช่วยการระบายน้ำของดินในช่วงฤดูฝน