3. ลักษณะและการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน

        3.1 ลักษณะของกลุ่มชุดดิน : เป็นดินลึก เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือทรายร่วน ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายหรือดินร่วนปนดินเหนียว สีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา พบจุดประสีน้ำตาล สีเหลืองหรือสีแดง อาจพบก้อนปูน (secondary lime concretion ) ประปนอยู่ด้วยและมีเกลือโซเดียมสะสมอยู่สูงถึงสูงมาก ในช่วงฤดูแล้งจะพบคราบเกลือ ปรากฏให้เห็นเป็นหย่อม ๆ บนผิวดิน ปฏิกิริยาของดินชั้นบนเป็นกรดแก่ถึงเป็นกรดปานกลาง ค่าของความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 5.0-6.0 ส่วนดินชั้นล่างเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่างปานกลาง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.5-8.0 ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ

        3.2 ลักษณะของชุดดิน

            3.2.1 ชุดดินกุลาร้องไห้(Kula Ronghai : Ki) ลักษณะเนื้อดินบนเป็นดินร่วนหรือร่วนปนทราย สีน้ำตาลหรือน้ำตาลอ่อน ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายดินร่วนปรือร่วนเหนียวสีเทาอ่อน เทาปนชมพูหรือน้ำตาลปนเทา และจะพบชั้นดินทรายที่ความลึกประมาณ 1 เมตรา จากผิวดินบน นอกจากที่กล่าวแล้ว ยังพบจุดประสีน้ำตาลแก่น้ำตาลปนเหลืองหรือเหลืองปนน้ำตาล เกิดขึ้นตลอดหน้าตัดดิน ปฏิกิริยาริยาของดินบนเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นฯกรดปานกลาง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.5 และเป็นกลางถึงเป็นด่างปานกลางในดินชั้นล่าง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 7.0-8.0 ใช้ประโยชน์ในการทำนาเป็นส่วนใหญ่

            3.2.2 ชุดดินหนองแก (Nong Kae series) ลักษณะเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายร่วนสีน้ำตาล น้ำตาลปนเทาหรือน้ำตาลเข้มปนเทา ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินร่วน ร่วนเหนียวปนทราย หรือร่วนเหนียวสีเทาปนชมพูสีน้ำตาลซีดหรือน้ำตาลซีดมาก พบจุดประสีน้ำตาลแก่ น้ำตาลอ่อนอมเขียวมะกอก น้ำตาลปนเหลืองตั้งแต่ดินบนตอนล่างลงไป และมักจะพบสีน้ำตาลเข้มมากฉาบอยู่ที่ก้อนดิน ( soil peds ) นอกจากที่กล่าวแล้ว ยังพบก้อนเหล็กแมงกานีสและปูนในดินชั้นล่าง ปฏิกิริยาริยาของดิน เป็นฯกรดแก่ถึงเป็นกรดปานกลางในดินชั้นบน ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 5.0-6.0 และเป็นด่างอย่างอ่อนถึงเป็นด่างปานกลางในดินชั้นล่าง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 7.5-8.0 ใช้ประโยชน์ในการทำนา เป็นป่าหญ้า ป่าละเมาะและบางแห่งใช้ปลูกมะพร้าว

           3.2.3 ชุดดินอุดร (Udon : series) ลักษณะเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือทรายร่วนสีน้ำตาล น้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลปนเทา ส่วนดินชั้นล่างเนื้อดินและสีจะแตกต่างกันมากแต่ส่วนใหญ่จะมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ดินเหนียวปนทรายหรือดินเหนียวเกิดขึ้นสบลับกับดินร่วนปนทราย หรือดินทรายร่วนสีเทา ปนชมพู สีเทาอ่อนปนน้ำหรรือสีเทา พบจุดประสีออกน้ำตาลและเหลืองตลอดหน้าตัดดิน ในช่วงฤดูแล้งจะพบคราบเกลือสีขาวที่ผิวดิน ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของดินชุดนี้ ปฎิกิริยาดินของดินชั้นบนเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่างอย่างอ่อนค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.5-7.5 ส่วนดินชั้นล่างเป็นด่างปานกลาง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 8.0 ใช้ในการทำนาและทำเกลือสินเธาว์

            3.2.4 ชุดดินร้อยเอ็ดประเภทมีคราบเกลือ (Roi-Et saline variant ) มีลักษณะต่าง ๆคล้ายดินร้อยเด็ด แต่มีปฏิกิริยาเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่าง ในช่วงฤดูแล้งมีคราบเกลือปรากฏขึ้นที่หน้าผิวดิน ใช้ประโยชน์ในการทำนา

        3.3. การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                   การประเมินอาศัยคุณสมบัติทางเคมีได้แก่ ค่าความสามารถในารแลกเปลี่ยนประจุบวก (C.E.C. ) ค่าเปอร์เซ็นต์การอิ่มตัวด้วยธาตุที่เป็นด่าง (%B.S.) ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ( % O.M. ) ปริมาณธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชที่ได้จากผลการวิเคาระห์ดินที่เป็นตัวแทนของชุดดินในกลุ่มพิจารณาเฉพาะดินบนหนาประมาณ 30 ซม. การประเมินใช้วิธีประเมินในคู่มือการวินิจฉัยคุณภาพดินที่พิมพ์เแยแพร่โดยกรมพัฒนาที่ดิน ผลของการประเมินพอสรุปได้ดังนี้

ตารางที่ 1 : ผลการวิเคราะห์ดินและระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน


ชุดดิน/Profile code

ค่าเฉลี่ยผลการวิเคราะห์ดินบนหนา 30 ซม.

 

ระดับความอุดมสมบูรณ์

C.E.C

B.S.

O.M.

P

K

Meq/110g soil

%

%

ppm.

ppm.

กุลาร้องไห้/NE-S 22/4

หนองแก/SW 57/15

อุดร/NE-S 20-52

7.90

9.20

3.0

46.0

84.0

88.5

0.55

0.40

0.36

2.7

4.9

1.4

17.0

79

25

ต่ำ

ต่ำ –ปานกลาง

ต่ำ

สรุป : จากการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของชุดดินกุลาร้องไห้ หนองแกและอุดร ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 20 พบว่ามีความอุดมสมบูรณ์อยู่ในระดับต่ำ

back.gif (2807 bytes)forward.gif (2807 bytes)