4. การประเมินความเหมาะสมของกลุ่มชุดดินที่ 20 สำหรับการปลูกพืชต่าง ๆ
ในสภาพปัจจุบันกลุ่มชุดดินที่ 20 ไม่มีความเหมาะสมในการปลูกพืชเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมีปริมาณเกลืออยู่สูง แต่มีบางพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์ในการทำนาถ้ามีน้ำเพียงพอ ในบางช่วงที่มีน้ำไม่พอหรือฝนไม่ตกดินจะแห้ง ข้าวที่ปลูกมักจะตายเนื่องจากความเค็มของดิน ในฤดูแล้งไม่สามารถปลูกพืชไร่และพืชผักได้ อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือกในการใช้ที่ดิน จึงได้จัดชั้นความเหมาะสมของดินออกเป็น 3 อย่างคือ การปลูกพืชในช่วงฤดูฝน ฤดูแล้ง และหลักการพัฒนาที่ดิน หรือในเขตชลประทาน ดังที่แสดงไว้ในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 : ชั้นความเหมาะสมของกลุ่มชุดดินที่ 20 สำหรับการปลูกพืชต่าง ๆ
|
ชั้นความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช |
การปรับปรุงแก้ไขหรือการพัฒนาที่ดินที่ควรดำเนินการ |
||
ฤดูฝน |
ฤดูแล้ง |
หลังการพัฒนาที่ดิน/ในเขตชลประทาน |
||
ข้าว พืชไร่
ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ปอแก้ว ละหุ่ง แตงโม อ้อย ฝ้าย ผักต่างๆ ไม้ผล-ไม้ยืนต้น มะพร้าว มะม่วง ส้ม ขนุน ฝรั่ง กล้วย หญ้าเลี้ยงสัตว์ |
2
3fx 3fx 3fx 3fx 3fx 3fx 3fx 3fx 3fx
3fx 3fx 3fx 3fx 3fx 3fx 3fx |
3
3xm 3xm 3xm 3xm 3xm 3xm 3xm 3xm 3xm
3xm 3xm 3xm 3xm 3xm 3x 3xm |
1
2x 2x 2x 2x 2x 2x 2x 2x 2x
1x 2x 1x 1x 1x 1x 1x |
-ใส่วัสดุปรับปรุงดิน
เช่น แกลบ ขี้เลื่อย
ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อช่วยให้เกลือชะล้างออกไปได้ง่าย -ทำการล้างเกลือด้วยน้ำชลประทานหรือน้ำฝน -พัฒนาแหล่งน้ำให้เพียงพอ -ทำการล้างเกลือด้วยน้ำจืด -ยกร่องปลูกเพื่อช่วยการระบายน้ำของดินให้ดีขึ้นและช่วยในการล้างเกลือ -ปรับปรุงดินด้วยวัสดุปรับปรุงดิน เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ฯลฯ
-ยกร่องปลูกเพื่อช่วยการระบายน้ำของดินและเร่งการชะล้างเกลือออกจากดิน
-ทำการล้างดินเค็มด้วยน้ำจืดหรือน้ำฝน |
หมายเหตุ : 1. การแบ่งชั้นตามความเหมาะสมของดินแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ
ชั้นที่ 1
เหมาะสม
ชั้นที่ 2
ไม่ค่อยเหมาะสม
ชั้นที่ 3 ไม่เหมาะสม
2. สัญลักษณ์ที่แสดงถึงข้อจำกัดในการปลูกพืช
f หมายถึง
ดินมีน้ำท่วมขัวในช่วงฤดูฝน
m หมายถึง
ดินมีความชื้นในเพียงพอในการปลูกพืช
x หมายถึง
ดินมีความเค็มสูงถึงสูงมาก
3. การจัดชั้นความเหมาะสมของดินสำหรับการปลูกพืชในฤดูฝนและฤดูแล้ว เป็นการทำการเกษตรแบบอาศัยน้ำฝน