ภาคผนวก 1 : การจัดการดินเปรี้ยวจัดเพื่อเลี้ยงปลา
1. ผลกระทบของดินเปรี้ยวจัดที่มีต่อการเลี้ยงปลา
ดินเปรี้ยวจัดเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงปลา เพราะทำให้เกิดปัญหาหลายประการดังนี้
1.1 ปลาตาย น้ำในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด มีความเป็นกรดสูง ค่า pH ต่ำกล่า 4 ปลาและกุ้งจะตาย จากการศึกษาพบว่า ค่า pH มีผลต่อปลาดังนี้
pH 4 หรือต่ำกว่า เป็นจุดอันตรายที่สามารถทำให้ปลาตายได้
pH ปลาบางชนิดอาจไม่ตายแต่มักให้ผลผลิตต่ำ เนื่องจากมีการเจริญเติบโตช้า และทำให้การสืบพันธุ์หยุดชะงัด
pH 6.5-8.0 เป็นระดับที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
pH 9.0-11.0 ไม่เหมาะสมแก่การดำรงชีวิต หากปรากฏว่าสัตว์น้ำต้องอาศัยอยู่เป็นเวลานานจะทำให้ผลผลิตต่ำ
pH 11 หรือมากกว่า เป็นพิษต่อ ปลา และสัตว์น้ำสัตว์น้ำ
1.2 ทำให้การใช้ปุ๋ยบ่อเลี้ยงไม่ได้ผล บ่อปลาที่สร้างในบริเวณที่ดินเปรี้ยวจัดนั้น แม้จะใส่ปุ๋ยก็อาจจะไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร เช่น ใส่ปุ๋ยฟอสเฟต จะไปรวมกับธาตุเหล็กและอลูมินัม ทำให้แพลงค์ต่อนและสาหร่ายชั้นต่ำไม่สามารถใช้ฟอสฟอรัสได้เท่าที่ควรจะเป็น
1.3 ผลิตผลพืชชั้นต่ำของบ่อปลาต่ำ เนื่องจากชิลเกตซึ่งเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญของไดอะตอมพืชชั้นต่ำอื่น ๆ จะถูกเหล็กและอลูมินัม ดึงเอาไปใช้ในสภาพเดียวกันกับฟอสเฟตทำให้ในบ่อซึ่งมีซิลิเกตจำกัดอยู่แล้วมีน้อยยิ่งขึ้น ธาตุโมลิบดิมันที่จำเป็นต่อการย่อยไนโตเจนและการทำงานของเซลล์ในสาหร่ายชั้นต่ำก็เช่นกันจะถูกเหล็กและอลูมนัมดึงไปใช้หมดทำให้บ่อปลาที่สร้างในที่ดินที่เป็นกรดมีผลิตผลขั้นต้นต่ำ
1.4 ปลาหรือกุ้งที่เลี้ยงโตช้า เนื่องจากมีเหล็ก และอลูมินัมละลายอยู่ในน้ำเป็นปริมาณมากจึงทำให้น้ำในบ่อเป็นกรดจัด ซึ่งทำให้พืชชั้นต่ำที่เป็นอาหารปลาไม่เจริญงอกงามเท่าที่ควร
2. วิธีการแก้ไขความเป็นกรดเป็นด่าง
การแก้ไขความเป็นกรดของดินและน้ำในบ่อปลา ทำได้เพียงวิธีเดียวคือ การใช้ปูนแก้ไขความเป็นกรด ปูนที่ใช้แล้วแต่ละหาได้สะดวก แต่เท่าที่ใช้กันอยู่ได้แก่ ปูนขาว ปูนมาร์ล และหินปูนฝุ่น ปริมาณของการใช้ย่อมขี้นอยู่กับชนิดของปูน และลักษณะเนื้อดิน แต่เนื่องจากดินเปรี้ยวจัด ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว ดังนั้นควรใช้อัตราปูนเพื่อปรับระดับความเป็นกรดเป็นด่าง ของน้ำในบ่อให้มีค่าอยู่ประมาณ 6.5-8.0
วิธีการแก้ไขปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดในการทำบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำทำได้ดังต่อไปนี้
2.1 การเตรียมพื้นที่สร้างบ่อ เมื่อขุดบ่อแล้วควรไถพื้นที่กันบ่อและตากดินไว้ให้แห้ง
2.2 สูบน้ำเข้าสู่บ่อ จากนั้นการวัด pH น้ำเป็นระยะจนกระทั้งน้ำในบ่อมี pH ต่ำกว่า 4 จากนั้นก็ทำการระบายน้ำออก แล้วก็สูบน้ำเข้า ติดตามค่า pH เหมือนเดิม ทำการระบายน้ำเข้าออกเพื่อล้างดิน จนกระทั่ง pH ของน้ำคงที่ โดยทั่วไปแล้วจะใช้ระยะเวลาในการล้างดินประมาณไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง
2.3 ใส่หินปูนบริเวณรอบขอบบ่ออัตรา 05.-1 กก./ตารางเมตร
2.4 ใส่ปูนกันบ่อให้ทั่วในอัตรา 1-2 ต้นต่อไร่ ปริมาณของปูนที่จะใช้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณแร่ไพไรท์ที่มีอยู่ในดินหรือสังเกตจากปริมาณของสารประกอบสีเหลืองฟางข้าวที่เรียกกับปริมาณแร่ไพไรท์ที่มีอยู่ในดิน หรือสังเกตจากปริมาณของสารประกอบสีเหลืองฟางข้าวที่เรียกว่าจาโรไซท์บริเวณก้นบ่อหรือขอบบ่อ ถ้าพบสารสีเหลืองฟางข้าวในปริมาณมาก ก็จำเป็นต้องใช้วัตถุปูนในปริมาณมาก จากนั้นก็สูบน้ำเข้าในบ่อและตรวจสอบค่า pH ของน้ำ ปรับให้ค่า pH ของน้ำในบ่อมีค่าระหว่าง 6.5-8.0 โดยการใช้หินปูน ปูนมาร์ล หรือปูนขาว ในอัตราประมาณ 50-100 กก./ไร่ การวัดค่า pH ของน้ำ ควรวัดในช่วงเช้ามืด เนื่องจากจะเป็นเวลาที่ค่า pH ของน้ำในบ่อมีค่าต่ำที่สุด ต่อจากนั้นเมื่อทำการจัดสัตว์น้ำในช่วงเก็บเกี่ยวแล้วไม่ควรตากบ่อ เมื่อทำความสะอาดก้นบ่อแล้วควรสูบน้ำเพื่อให้พื้นบ่อมีน้ำขังให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะไม่เช่นนั้นก้นบ่อจะกลายสภาพเป็นกรดอย่างรวดเร็ว
3. วิธีการเลี้ยงปลาชนิดต่าง ๆ
หลังจากบ่อเลี้ยงปลาได้รับการปรับปรุงเพื่อแก้ไขปัญหารเรื่องความเป็นกรดจัดของดินแล้วน้ำแล้ว ปลาที่แนะนำให้เลี้ยงได้แก่ ปลาดุกอุยเทศ ปลาไน ปลานิล และปลายตะเพียนขาว ปลาแต่ละชนิดมีวิธีการเลี้ยง พออธิบายโดยสังเขปได้ดังนี้
3.1 ปลาดุกอุยเทศ
ปลาดุกอุยเทศหรือปลาดุกลูกผสม เป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เป็นปลาที่ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างแม่พันธุ์ปลาดุกอุย (chansmacracephalus) กับพ่อพันธุ์ปลาดุกอาฟริกา (chraias gariepinus) โดยวิธีผสมเทียม เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว มีความทนทานโรค จึงมีอัตรารอดสูง และใช้เวลาเลี้ยงค่อนข้างสั้น เนื้อปลามีรสชาติดี เป็นที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย
3.1.1 อัตราการปล่อย
ปลาดุกอุยเทศสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อซีเมนต์ อัตราที่เหมาะสมในการปล่อยเลี้ยงในบ่อที่ทำการปรับปรุงแล้วประมาณ 20-30 ตัวต่อตารางเมตร ใช้ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 3-4 เดือน จึงสามารถจัดขึ้นมาบริโภคหรือจำหน่ายได้
3.1.2 การใช้อาหาร
เมื่อปล่อยลูกปลาดุกผสมลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงที่ลูกปลาดุกมีขนาดเล็ก 2-3 ซม. ควรให้อาหารผสมคลุกน้ำปั้นเป็นก้อนให้ลูกปลากิน โดยให้กินวันละ 2 ครั้ง ใช้ถาดหรือยอใส่อาหารแล้วหย่อยลงในน้ำ โดยวางไว้หลาย ๆ จุด เมื่อลูกปลามีขนาดโตขึ้นความยาวประมาณ 5-7 ซม. สามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดได้ หลังจากนั้นเมื่อปลาโตขึ้นจนมีขนาดความยาว 15 ซม. ขึ้นไปจะให้อาหารเม็ดเพียงอย่างเดียวหรืออาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ได้ เช่น ปลา เป็ด ผสมรำละเอียด หรือให้อาหารที่ลดต้นทุนจำพวกอาหารผสมต่าง ๆ เช่น กระดูกไก่ ไส้ไก่ เศษขนมปัง เศษเส้นหมี่ เศษเลือดหมู เลือดไก่ หรือเศษอาหารต่าง ๆ เท่าที่สามารถหาได้นำมาบดรวมกันแล้วสาดให้ปลากิน แต่การให้อาหารประเภทนี้จะต้องระวังเรื่องคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงให้ดี เมื่อลี้ยงปลาได้ประมาณ 3-4 เดือน ปลาจะมีขนาดประมาณ 200-400 กรัม/ตัว ซึ่งผลผลิตที่ได้จะประมาณ 10-14 ต้น/ไร่ อัตรารอดตายประมาณ 40-70 %
3.1.3 การถ่ายน้ำ
เมื่อเริ่มเลี้ยงปลาในบ่อควรมีระดับความลึกของน้ำประมาณ30-40
ซม.
เมื่อลูกปลาเจริญเติบโตขึ้นในเดือนแรกจึงเพิ่มระดับนำสูงเป็นประมาณ
50-60 ซม.
หลังจากย่างเข้าเดือนที่สองเพิ่มระดับน้ำ
10 ซม./อาทิตย์
จนระดับน้ำในบ่อมีความลึก 1.20-1.50
เมตร
การถ่ายเทน้ำควรทำหลังจากเลี้ยงผ่านไปแล้วประมาณ
1 เดือน และควรถ่ายน้ำประมาณ 20
เปอร์เซ็นต์ของน้ำในบ่อ 3
วัน/ครั้ง
ถ้าเลี้ยงในบ่อเริ่มเลี้ยงจะต้องถ่ายน้ำมากกว่าปกติ
3.1.4 การป้องกันโรค
ปลาดุกที่เลี้ยงอาจเกิดโรคได้จากคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงปลาไม่ดี
ซึ่งอาจเกิดจากการให้อาหารมากเกินไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย
การป้องกันไม่ให้เกิดโรค
ต้องหมั่นสังเกตว่าเมื่อปลาหยุดกินอาหารจะต้องหยุดให้อาหารทันที
เพราะปลาดุกลูกผสมจะมีนิสัยชอบกินอาหารที่ให้ใหม่
ถึงแม้จะกินอิ่มแล้ว
ถ้าให้อาหารใหม่อีกก็จะคายหรือสำรอกอาหารเก่าทิ้งแล้วกินอาหารที่ให้ใหม่อีก
3.1.5 วิธีป้องกันการเกิดโรคในปลาดุกผสมที่เลี้ยง
- ควรผสมยาปฏิชีวนะ ให้กินทุก 2 สัปดาห์ โดยผสมอาหารในอัตรายาปฏิชีวนะ 1 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม
- หลังจากปล่อยประมาณ 1 อาทิตย์ ควรใช้น้ำยาฟอร์มาลิน 2-3 ลิตร/ปริมาณน้ำ 100 ตัน และหากปลาที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้แก้ไขโดยใช้น้ำยาฟอร์มาลินในอัตรา 4-5 ลิตรต่อปริมาณน้ำ 100 ตัน
- การใช้เกลือแกงให้ใช้ในอัตราประมาณ 5-10 กก./น้ำ 1,000 ลิตร
3.2 ปลาไน
ปลาไนมีกำเนิดจากประเทศจีน
มีผู้นำไปเลี้ยงในประเทศต่าง ๆ
ทั่วโลก
เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายโตเร็ว
สืบพันธุ์ในบ่อเลี้ยงและมีไข่เป็นจำนวนมาก
เนื้อมีรสดีจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนเกล็ดใหญ่มีหนวด
4 เส้น ครีบหลังยาวถึงโคนหาง
หางเว้าสีต่าง ๆ กัน
โดยมากสีดำแถบเขียว
ปลาไนต้องการบ่อกว้าง
ถ้าเป็นบ่อเล็กควรถ่ายน้ำได้สะดวกและมีน้ำไหลอยู่เสมอแม้จะตื้นเพียง
50 ซม. ปลาก็อยู่ได้ดี
สำหรับอาหารทีให้ควรเป็นอาหารจำพวกพืชผัก
แต่ถ้าให้รำ หนอน แมลง
สมทบปลาจะโตเร็ว
ศัตรูของปลาไนมีมาก
ควรล้างบ่อและมีการป้องกันอย่างแข็งแรง
ปลาไนอายุ 1 ปี
จะมีน้ำหนักครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป
ใช้เป็นอาหาร หรือขายได้
ข้อเสียของปลาไนคือมักชอบขุดคุ้ยกินรากหน่อ
และยอดอ่อนของวัชพืชตามขอบบ่อทำให้ผู้เลี้ยงมักประสบปัญหาในเรื่องการพังทลายของดินรอบ
ๆ บ่อ
3.3 ปลานิล
ปลานิล
เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง
ซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี
2508 เป็นต้นมา
สามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพ
การเพาะเลี้ยงระยะเวลา 1 ปี
มีอัตราการเจริญเติบโตถึงขนาด 500
กรัม รสชาติดี
มีผู้นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวาง
ส่วนขนาดปลานิลที่ตลาดต้องการจะมีน้ำหนักตัว
200-300 กรัม
3.3.1 การเลี้ยงในบ่อดิน บ่อที่เลี้ยงปลานิลควรเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อสะดวกในการจัดเนื้อที่ตั้งแต่ 20 ตารางเมตรขึ้นไป ใช้เศษอาหารเลี้ยงจากโรงครัว ปุ๋ยคอก อาหารสมทบอื่น ๆ ที่หาง่าย เช่น แหนเป็ด สาหร่าย เศษพืชผักต่าง ๆ ประมาณที่ผลิตได้ก็เพียงพอสำหรับบริโภคในครอบครัว
การเลี้ยงปลาร่วมกับสัตว์บกอื่น ๆ วัตถุประสงค์เพื่อใช้มูลสัตว์เป็นอาหารและปุ๋ยในบ่อ เป็นการใช้ประโยชน์แบบผสมผสานระหว่างการเลี้ยงปลากับการเลี้ยงสัตว์อื่น ๆ โดยเศษอาหารที่เหลือจากการย่อยหรือตกหล่นจากที่ให้อาหารสัตว์อื่นจะเป็นอาหารของปลาโดยตรง ในขณะที่มูลสัตว์จะเป็นปุ๋ยและให้แร่ธาตุสารอาหารแก่พืชน้ำซึ่งเป็นอาหารของปลา เป็นการลดต้นทุนในการเลี้ยงปลาและแก้ปัญหามลภาวะได้
วิธีการเลี้ยงสัตว์ร่วมกับปลาอาจใช้วิธีสร้างคอกสัตว์บนบ่อปลาเพื่อให้มูลสัตว์ไหลลงบ่อปลาโดยตรง หรือสร้างคอกสัตว์ไว้บนคันบ่อแล้วนำมูลสัตว์มาใส่ลงในบ่อในอัตราที่เหมาะสม ในประเทศไทยนิยมเลี้ยงสุกรจำนวน 10 ตัว หรือไก่ไข่จำนวน 200 ตัวต่อบ่อปลาพื้นที่ 1 ไร่
3.3.2 การเจริญเติบโตและผลผลิต ปลานิลเป็นปลาที่มีการเจริญเติบโตเร็ว เมื่อได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้องจะมีขนาดเฉลี่ย 500 กรัม ในเวลา 1 ปี ผลผลิตไม่น้อยกว่า 500 กก./ไร่/ปี
3.4 ปลาตะเพียนขาว
ปลาตะเพียนขาว (Jawa carp, Thai carp)
เป็นปลาน้ำจืดที่เลี้ยงง่าย
โตเร็ว ให้ผลผลิตสูง
กินพืชผักเป็นอาหาร
จึงเหมาะที่จะนำเอามาเลี้ยงในบ่อ
มีถิ่นอาศัยอยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง
หนอง บึง ที่มีกระแสน้ำไหลอ่อน ๆ
หรือน้ำนิ่งในภาคกลาง ภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
นอกจากนี้ยังพบในประเทศอินโดนีเซีย
ที่เกาะชวา และสุมาตรา
บ่ออนุบาล ควรเป็นบ่อดินที่เตรียมไว้ให้สะอาดขนาด 200-400 ตารางเมตร น้ำลึกประมาณ 70 เซนติเมตร ใช้เลี้ยงลูกปลาวัยอ่อนจนถึงขนาดมีความยาว 5-7 เซนติเมตร ปล่อยในอัตรา 15 ตัวต่อตารางเมตร อาหารให้พวกไรน้ำ รำละเอียด ปลายข้าว กากถั่วเหลือง ควรให้ในลักษณะที่เป็นผง โปรยให้กินตามข้างบ่อในตอนเช้าและเย็น
บ่อเลี้ยงควรเป็นบ่อดินขนาด 400 ตารางเมตรขึ้นไปจนถึงขนาด 1 ไร่ หรือมากกว่านั้น น้ำลึกประมาณ 1 เมตรตลอดปี ใช้เลี้ยงลูกปลาที่มีความยาว 5-7 เซนติเมตรขึ้นไป จนมีขนาดใหญ่ ปล่อยในอัตรา 2-3 ตัวต่อตารางเมตร อาหารควรให้อาหารสมทบพวกแหนเป็ดและไรน้ำโปรยให้กินสด ๆ ส่วนเศษผักบุ้ง ผักกาดขาว จอก แหน กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง ใช้แขวนหรือใส่กะบะ และอาหารจำพวกสัตว์ เช่น ตัวไหม เลือดสัตว์ เครื่องในสัตว์บดให้ละเอียดใช้ผสมกับอาหารดังกล่าว ให้อาหารวันละ 1 ครั้ง เช้าหรือเย็นประมาณ 5 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง ถ้าให้มากเกิดไปเศษอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำในบ่อเสียและเป็นอันตรายต่อปลาได้