ภาคผนวก 5 ข้อเหนอแนะแนวทางการจัดทำโครงการวิจัยเกี่ยวกับการจัดกลุ่มชุดดินที่พบในที่ ราบต่ำ สำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ

จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกลุ่มชุดดินที่พบในที่ราบต่ำ เพื่อใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลงานที่ดำเนินการโดยกรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรและส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง พบว่ากลุ่มชุดดินบางกลุ่มได้มีการศึกษาทดลองค่อนข้างมาก บางกลุ่มมีการทดลองเพียงบางส่วน และบางกลุ่มไม่ได้มีการศึกษาทดลองเลย เพื่อประโยชน์ในการจัดทำโครงการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการกลุ่มชุดดิน จึงได้เสนอแนะแนวทางการจัดทำโครงการวิจัยในอนาคตของกรมพัฒนาที่ดิน ตามสภาพปัญหาและระดับของข้อมูลของกลุ่มชุดดินที่มีอยู่ในปัจจุบัน ดังที่แสดงไว้ในตารางข้างล่าง

    ตาราง : แสดงถึงสภาพปัญหา ระดับของข้อมูล โครงการที่ควรดำเนินการ และหน่วยงานของกรมพัฒนาที่ดินที่รับผิดชอบ

กลุ่มชุดดินที่

สภาพปัญหา/ระดับข้อมูลที่มีในปัจจุบัน

โครงการศึกษาวิจัยที่ควรดำเนินการ/หน่วยงานของกรมพัฒนาที่ดินที่รับผิดชอบ

1 1)การระบายน้ำของดินเลวและมีน้ำขัง 4-5 เดือนในรอบปี ไม่เหมาะสำหรับการปลูกพืชไร่ พืชผักและไม้ผล

2)ดินเหนียวจัดและคุณสมบัติ ทางกายภาพไม่ค่อยเหมาะสมต่อการปลูกพืชไร่ พืชผัก และไม้ผล

3)ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาและทดลองในการจัดการดินเพื่อใช้ในการปลูกพืชของกลุ่มชุดดินนี้มีในระดับปานกลางจะมีน้อยในบางชุดดิน เช่น ดินชุดบุรีรัมย์และบ้านโพธิ์

1)การศึกษาด้านการปรับปรุงสภาพการระบายน้ำของดินและการแก้ปัญหาน้ำท่วมเมื่อต้องการเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดินจากนาข้าวเป็นปลูกพืชไร่ พืชผัก และไม้ผล โดยการยกร่องและควรศึกษาผลตอบแทนในเชิงเศรษฐกิจด้วย

2)ศึกษาด้านการปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพโดยการใช้ปุ๋ยพืชสด ในอัตราและวิธีการใส่ต่าง ๆ กัน

3)การศึกษาด้านการขาดธาตุอาหารหลักและจุลธาตุบางอย่าง เช่น ฟอสฟอรัสและเหล็ก ในการปลูกพืชตระกูลถั่ว

4)สำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 1 ควรจัดทำโครงการศึกษาวิจัยในเรื่องต่าง ๆ ที่ กล่าว

2 1)การระบายน้ำของดินเลว และมีน้ำขังหรือท่วมเป็นระยะเวลานานในรอบปี ไม่เหมาะสำหรับการปลูก พืชไร่ พืชผัก และไม้ผล

2)คุณสมบัติทางกายภาพของดินไม่ดีเป็นดินเหนียวจัดและหน้าดินไม่ร่วนซุย เป็นข้อจำกัดในการปลูกพืชไร่ พืชผัก และไม้ผล

3)ดินเป็นกรดแก่มากถึงเป็นกรดจัด

4)ข้อมูลการศึกษาและทดลองเกี่ยวกับการจัดการดินเพื่อการปลูกพืชอยู่ในระดับปานกลาง จะมีน้อยก็เฉพาะชุดศรีสงคราม ท่า ขวาง และชุมแสง

1)ศึกษาเน้นด้านการปรับปรุงสภาพการระบายน้ำของดิน เมื่อใช้เพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งและเมื่อต้องการเปลี่ยน สภาพการใช้ประโยชน์จากนาข้าว เป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ พืชผักและไม้ผลอย่างถาวรโดยการยกร่องและศึกษาผลตอบแทนในเชิงเศรษฐกิจด้วย

2)ศึกษาด้านการปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพดดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในรูปต่าง ๆ หรือวัสดุปรับปรุงดินเพื่อให้เหมาะสมต่อการปลูกพืชไร่ พืชผัก และไม้ผล

3)ศึกษาและเปรียบเทียบด้านการตอบสนองต่อการจัดการดินในรูปต่าง ๆ ของชุดดินชุมแสง และศรีสงครามกับดินชุดอื่นในกลุ่มเนื่องจากวัตถุต้นกำเนิดทั้งสองชุดมีความแตกต่างกับดินชุดอื่นในกลุ่ม

4)สำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 1 จัดทำโครงการศึกษาร่วมกับสำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 4 และ 9 หรือกองอนุรักษ์ดินและน้ำร่วมกับสำนักงานพัฒนาที่ดินเขตดังกล่าว

3 1)การระบายน้ำของดินเลวและมีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน 4-5 เดือน ในรอบปี ไม่เหมาะสมในการปลูกพืชไร่ พืชผักและไม้ผล

2)ดินเหนียวจัดและมีโครงสร้างแน่นทึบ

3)ดินบางชุดในกลุ่มมีปริมาณเกลือเป็นองค์ประกอบอยู่สูง เป็นข้อจำกัดต่อการปลูกพืชไร่ พืชผักและไม้ผล

4)ข้อมูลการศึกษาและทดลองเกี่ยวกับการจัดการดินเพื่อการปลูกพืชมีอยู่ในระดับมาก

1)ศึกษาเน้นด้านการปรับปรุงสภาพการระบายน้ำของดิน การป้องกันน้ำท่วมและการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ประโยชน์จากนาข้าวเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ พืชผัก และไม้ผลอย่างถาวร โดยการยกร่องปลูก และศึกษาผลตอบแทนในเชิงเศรษฐกิจด้วย

2)ศึกษาด้านการปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดิน โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในรูปต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมต่อการปลูกพืชไร่ พืชผัก และไม้ผล

3)ศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบไร่นาสวนผสม เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมแต่ละพื้นที่

4)ศึกษาผลตอบสนองต่อการจัดการดินชุดสมุทรปราการเปรียบเทียบกับดินชุดอื่น ๆ ในกลุ่ม เพราะเป็นชุดดินที่มีเกลือเป็นองค์ประกอบอยู่สูงกว่าดินชุดอื่น ๆ

5)สำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 1 และ 2 ดำเนินการ

4 1)น้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝนและดินมีการระบายน้ำค่อนข้างเลว

2)ดินขาดธาตุอาหารพืชที่จะเป็นบางอย่างเช่น ธาตุไนโตรเจน และฟอสฟอรัส

3)คุณสมบัติทางกายภาพของดินบางชุดไม่ค่อยเหมาะสมในการปลูกพืชไร่และพืชผักหลักการเก็บเกี่ยวข้าวหรือปลูกช่วงฤดูแล้ง

4)ข้อมูลการศึกษา วิจัย หรือทดลองเกี่ยวกับการจัดการดินของดินชุดท่าพลและบางมูลนาค ยังมีน้อย ส่วนดินชุดอื่นในกลุ่มค่อนข้างมาก

1)การศึกษาวิจัยควรเน้นด้านการใช้ประโยชน์ดินหลังการเก็บเกี่ยวข้อง การจัดระบบปลูกพืชอายุสั้นที่มีพืชตระกูลถั่วหรือพืชบำรุงดินแทรกอยู่ในระบบการปลูกพืช

2)การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการตอบสนองของพืชต่อการใช้ปุ๋ย สูตร และอัตราการใช้ที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิดในท้องถิ่น

3)การศึกษาเกี่ยวกับการรักษาความชื้นในดินสำหรับการปลูกพืชในช่วงฤดูแล้งด้วยวิธีต่าง ๆ

4)สำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 8,9 และ10 เป็นผู้ดำเนินการ

5 1)ดินมีการระบายน้ำเลว และมีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานในช่วงฤดูฝนไม่เหมาะสมในการปลูกพืชไร่ พืชผัก และไม้ผล

2)ดินขาดธาตุอาหารพืชที่จำเป็นบางอย่าง เช่น ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส

3)ข้อมูลการศึกษา วิจัย หรือ การทดลองค่อนข้างมาก โดยเฉพาะดินชุดหางดงและพาน ที่พบในภาคเหนือส่วนดินชุดละงูยังมีน้อย

1)ควรศึกษา วิจัย เกี่ยวกับการเปลี่ยนสภาพการใช้ประโยชน์จากนาข้าวในปัจจุบันเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ พืชผัก หรือไม้ผลอย่างถาวร พร้อมทั้งศึกษาผลตอบแทนในเชิงเศรษฐกิจ

2)ควรศึกษา วิจัยเกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพการระบายน้ำของดินและปรับปรุงคุณสมบัติทางด้านกายภาพ โดยวิธีการต่างๆ

3)ควรศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบไร่นาสวนผสม เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมแต่ละท้องที่

4)ควรศึกษาเปรียบเทียบผลการจัดการดินชุดละงูกับดินชุดหางดงและพาน ที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เพราะพบในสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน

5)สำนักงานพัฒนาที่ดินที่รับผิดชอบได้แก่ สพช.6,7,11และ 12

6 1)ดินมีการระบายน้ำเลว และมีน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝน 3-4 เดือนในรอบปี ไม่เหมาะสมในการปลูก

2)ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

3)คุณสมบัติทางกายภาพไม่ค่อยเหมาะสมในการปลูกพืชไร่ และพืชผัก

4)ข้อมูลการศึกษา วิจัย หรือการทดลองเกี่ยวกับการจัดการดินอยู่ในระดับปานกลาง

1)การศึกษา วิจัย ควรเน้นด้านการจัดระบบการปลูกพืชในช่วงฤดูแล้งหรือหลังการเก็บเกี่ยวข้าว

2)ศึกษาด้านการใช้ประโยชน์แบบไร่นาสวนผสมของแต่ละภาคที่พบดินและศึกษาผลตอบแทนในเชิงเศรษฐกิจของแต่ละรูปแบบของไร่นาสวนผสม

3)ศึกษาการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินทั้งการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีโดยหาสูตรและอัตราที่เหมาะสมของแต่ละพืชและของแต่ละภาค

4)ศึกษาเปรียบเทียบผลตอบสนองต่อการจัดการดินที่ใช้วิธีเดียวกันของแต่ละภาคเนื่องจากกลุ่มชุดดินนี้พบในภาคต่าง ๆ ของประเทศที่มีภูมิอากาศค่อนข้างแตกต่างกันมาก

5)สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่รับผิดชอบได้แก่ สพช. 3,4,5,6,7,8,11,12 หรือกองอนุรักษ์ดินและน้ำร่วมกับสำนักงานพัฒนาที่ดินเขตต่าง ๆ ที่กล่าว

7 1)ดินมีสภาพการระบายน้ำค่อนข้างเลวและมีน้ำขังในข่วงฤดูฝน 3-4 เดือนไม่เหมาะสมในการปลูกพืชไร่ พืชผัก และไม้ผล

2)ความอุดมสมบูรณ์ของดินบางชุดต่ำได้แก่ดินชุดท่าตูมและเดิมบาง

3)การจัดกลุ่มชุดดินยังมีความแตกต่างทางด้านแร่ดินเหนียวและความเก่าของตะกอนที่เป็นวัตถุต้นกำเนิดดิน

1)การศึกษาวิจัยควรเน้นด้านการใช้ประโยชน์ดินหลังการเก็บเกี่ยวข้าวหรอฤดูแล้งดดยศึกษาการจัดระบบการปลูกพืช

2)การศึกษาวิจัยด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบไร่นาสวนผสม หารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับแต่ละภาคที่พบดิน พร้อมทั้งศึกษาผลตอบแทนในเชิงเศรษฐกิจ

3)การศึกษาวิจัยเพื่อเปรียบเทียบผลตอบสนองต่อการจัดการดินอย่างเดียวกันของชุดดินเดิมบางและท่าตูมกับชุดดินอื่นที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน

4)การศึกษาวิจัยด้านการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยเฉพาะดินชุดท่าตูมและเดิมบาง

5)สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่รับผิดชอบได้แก่ สพช.4,8,11และ12 หรือกองอนุรักษ์ดินและน้ำร่วมกับสำนักงานพัฒนาที่ดินดังกล่าว

8 1)ดินมีการระบายน้ำเลว และมีน้ำทะเลเข้าท่วมถึงเป็นครั้งคราว

2)ดินบางชุดในกลุ่มมีปริมาณเกลือเป็นองค์ประกอบอยู่สูง

3)ดินบางชุดมีคุณสมบัติทางกายภาพไม่เหมาะสมในการปลูกพืชไร่ พืชผัก และไม้ผล

4)ข้อมูลการศึกษาวิจัยหรือการทดลองเกี่ยวกับการจัดการกลุ่มชุดดินสำหรับปลูกพืชมีค่อนข้างมาก

1)การศึกษาวิจัยควรเน้นด้านการปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือวัสดุปรับปรุงดินควบคู่ไปกับการชะล้างเกลือด้วยน้ำฝน หรือน้ำชลประทานโดยเฉพาะดินชุดสมุทรสงครามและดำเนินสะดวก

2)การศึกษาเรื่องระดับน้ำในร่องสวนที่เหมาะสมกับการปลูกพืชหลักชนิดต่าง ๆ

3)การศึกษาวิจัยพืชทนเค็มที่สามารถปลูกได้ในดินชุดสมุทรสงครามและศึกษาผลตอบแทนในเชิงเศรษฐกิจด้วย

4)สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่รับผิดชอบได้แก่ สพช. 10 และ1

9 1)ดินมีการระบายน้ำเลวและน้ำท่วมขังเป็นเวลา 4-5 เดือน ในรอบปี ไม่เหมาะสมในการปลูกพืชไร่ พืชผัก และไม้ผล

2)ดินเค็มและเป็นกรดจัด

3)คุณสมบัติทางกายภาพของดินไม่เหมาะสมในการปลูกพืชไร่และพืชผัก

4)ข้อมูลการศึกษาวิจัยหรือทดลองเกี่ยวกับการจัดการดินเพื่อปลูกยังมีน้อยมาก

1)การศึกษาวิจัย ควรเน้นด้านการใช้ประโยชน์แบบไร่นาสวนผสมและการเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดินจากนาข้าวเป็นปลูกไม้ผลทนเค็ม หรือไม้โตเร็วและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมทั้งการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์โดยการยกร่องปลูกแบบถาวร

2)ศึกษาวิจัยด้านการปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือวัสดุปรับปรุงดิน พร้อมกับการชะล้างเกลือออกจากดินด้วยน้ำฝนหรือน้ำชลประทาน

3)สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่รับผิดชอบได้แก่ สพช.10 และ 2

10 1)ดินเปรี้ยวจัดและมีธาตุอาหารพืชบางอย่างเป็นพิษ

2)ดินระบายน้ำเลวถึงเลวมากและมีน้ำขังเป็นเวลา 4-6 เดือนในช่วงฤดูฝน ไม่เหมาะสมในการปลูกพืชไร่ พืชผัก และไม้ผลหรือไม้ยืนต้น

3)คุณสมบัติทางกายภาพไม่ค่อยเหมาะสมในการปลูกพืชไร่ และพืชผัก

4)ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเพื่อปลูกมีค่อนข้างมาก จะมีน้อยก็เฉพาะดินชุดมูโน๊ะและเชียรใหญ่

1)การศึกษาวิจัยควรเน้นด้านการเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดินจากนาข้าวปัจจุบันเป็นการปลูกไม้ผล พืชผัก พืชไร่หรือปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ โดยการยกร่องปลูกอย่างถาวร

2)การศึกษาหารูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบไร่นาสวนผสม พร้อมทั้งการศึกษาผลตอบแทนในเชิงเศรษฐกิจ

3)การศึกษาด้านการปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพเพื่อให้เหมาะสมในการปลูกพืชไร่และพืชผัก โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือวัสดุปรับปรุงดิน

4)สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่รับผิดชอบได้แก่ สพช. 1 และ 12

11 1)สภาพของปัญหาเช่นเดียวกับกลุ่มชุดดินที่ 10

2)ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการดินเพื่อปลูกพืชมีมากในดินชุดรังสิตและธัญญบุรี ส่วนดินชุดดินเมืองและเสนายังมีน้อย

1)การศึกษาวิจัยควรเน้นเช่นเดียวกับกลุ่มชุดดินที่ 10

2)ควรศึกษาวิจัยเปรียบเทียบผลตอบสนองต่อการจัดการดินอย่างเดียวกันของดินชุดดอนเมืองกับดินชุดอื่นในกลุ่มเพราะดินชุดดอนเมืองมีความแตกต่างในด้านชั้นอนุภาคดินกับดินชุดอื่นในกลุ่ม

3)สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่รับผิดชอบได้แก่ สพช. 1 และ 2

12,13 1)ดินเหนียวและมีความเค็มสูงมาก

2)สภาพการระบายน้ำเลวมากและน้ำทะเลขึ้นท่วมถึงเป็นประจำ

3)ดินมีสภาพไม่อยู่ตัว

4)ข้อมูลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการดินมีในระดับปานกลาง

1)การศึกษาวิจัยควรเน้นด้านการลดระดับความเค็มของดินและระดับน้ำใต้ดิน

2)การศึกษาและวิจัยหาพันธุ์พืชทนเค็มที่เหมาะสมมาปลูก

3)การศึกษาวิจัยการปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินเพื่อช่วยเร่งในการชะล้างเกลือออกไปจากดินทั้งโดยอาศัยน้ำฝนและชลประทาน

4)การศึกษาทางเลือกในการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งการใช้เพาะปลูกและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

5)สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่รับผิดชอบได้แก่ สพช. 1,2,10,11 และ 12 หรือกองอนุรักษ์ดินและน้ำร่วมกับสำนักงานพัฒนาที่ดินเขตดังกล่าว

14 1)ดินเป็นกรดจัดและมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

2)ดินมีสภาพการระบายน้ำเลวและมีน้ำท่วมขังทำให้พืชที่ปลูกเสียหาย

3)ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการดินเพื่อปลูกพืชยังมีน้อย

1)การศึกษาวิจัยควรเน้นทางเลือกในการใช้ประโยชน์จากนาข้าวหรือที่ว่างเปล่าเป็นการใช้ที่ดินแบบไร่นาสวนผสม

2)การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพการระบายน้ำของดินและป้องกันน้ำท่วมโดยเฉพาะการทำคันรอบพื้น(polder)และการยกร่องปลูก

3)การศึกษาและวิจัยด้านการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์และการแก้ความเป็นกรดจัดของดิน เน้นด้านสูตร และอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีสำหรับพืชแต่ละชนิดที่ปลูก

4)สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่รับผิดชอบได้แก่ สพช. 12 และ 11

15,16 1)ดินมีสภาพการระบายน้ำค่อนข้างเลว และมีน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝน 3-5 เดือนไม่เหมาะสมในการปลูกพืชไร่ พืชผัก และไม้ผลหรือไม้ยืนต้น

2)ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการดิน เพื่อการปลูกพืชยังมีน้อยสำหรับดินบางชุดในกลุ่มที่มีมากได้แก่ดินชุดแม่สาย น่าน และลำปาง

1)การศึกษาวิจัยควรเน้นด้านการจัดระบบการปลูกพืชในช่วงฤดูแล้งการรักษาความชื้นในดิน การรักษาและปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินรวมทั้งการศึกษาเกี่ยวกับทางเลือกในการใช้ที่ดินจากนาข้าวเป็นการปลูกพืชไร่ พืชผักหรือไม้ผลถาวร หรือการทำไร่นาสวมผสม

2)สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ที่รับผิดชอบได้แก่ สพช. 6,7 และ 8

17,18 1)ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

2)ดินมีคุณสมบัติทางด้านกายภาพไม่ค่อยดี เนื่องจากเนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย

3)ดินมีน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝนนาน 3-4 เดือน จึงไม่เหมาะในการปลูกพืชไร่ พืชผัก และไม้ผล

4)ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการดินเพื่อการปลูกพืชสำหรับดินชุดต่าง ๆ ยังมีน้อย ยกเว้นดินชุดร้อยเอ็ดค่อนข้างมีมาก

1)การศึกษาวิจัยควรเน้นเช่นเดียวกับกลุ่มชุดดินที่ 15 และ 16 ที่ได้กล่าวมาแล้ว

2)ควรจัดทำโครงการศึกษาผลตอบสนองต่อการจัดการดินอย่างเดียวกันสำหรับชุดดินในกลุ่มที่พบในภาคต่างๆ กัน เพื่อให้การสรุปผลการศึกษาวิจัยมีความชัดเจน

3)สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่รับผิดชอบ การศึกษาวิจัยกลุ่มชุดดินที่ 17 ได้แก่ สพช. 1,2,3,5,6,8,9,10,11 และ 12 ที่พบดินกลุ่มนี้เป็นส่วนใหญ่ หรือกองอนุรักษ์ดินและน้ำร่วมกับสำนักงานพัฒนาที่ดินเขตต่าง ๆ ที่กล่าวสำนักงานพัฒนาที่ดิน 1,2 และ 11 รับผิดชอบการศึกษาวิจัย กลุ่มชุดดินที่ 18

19 1)เนื้อดินเป็นทรายจัด มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และในช่วงฤดูแล้งดินจะแห้งจัดในบางพื้นที่ โดยเฉพาะดินชุดวิเชียรบุรี

2)ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการดินเพื่อปลูกพืชมีน้อยมาก

1)การศึกษาวิจัย ควรเน้นด้านการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน การปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีการรักษาความชื้นในดินด้วยมาตรการต่าง ๆ รวมทั้งศึกษาด้านทางเลือกในการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยเฉพาะการพัฒนาทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์

2)ศึกษาเปรียบเทียบผลการตอบสนองต่อการจัดการดินอย่างเดียวกันของดินชุดมะขามและชุดวิเชียรบุรี ที่จัดอยู่ในกลุ่มชุดดินเดียวกัน

3)สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่รับผิดชอบได้แก่ สพช.2 และ 8

20 1)ดินมีความเค็มสูงถึงสูงมาก

2)ดินมีสภาพการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลวและมีน้ำท่วมขังนาน 3-4 เดือนในช่วงฤดูฝน

3)ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและเนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย

4)ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยมีระดับปานกลาง แต่มีน้อยในดินชุดหนองแก

1) การศึกษาวิจัยควรเน้นการชะล้างเกลือด้วยวิธีธรรมชาติหรือน้ำฝน การปรับปรุงดินให้ร่วนซุย การคัดเลือกพันธุ์พืชทนเค็มตลอดทั้งศึกษาทางเลือกในการใช้ประโยชน์นอกเหนือจากใช้ทำนาหรือปลูกข้าว

2)สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่รับผิดชอบได้แก่ สพช.3,4,5 และ10

21,22 1)ดินมีการระบายน้ำค่อนข้างเลวและมีน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝน

2)ดินมีธาตุอาหารที่จำเป็นบางอย่างไม่เพียงพอ

3)ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการดินเพื่อการปลูกพืชมีในระดับปานกลาง

1)การศึกษาวิจัยควรเน้นด้านการจัดระบบการปลูกพืชหลังการเก็บเกี่ยวข้าวการเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดินจากนาข้าวเป็นการปลูกพืชไร่ พืชผัก หรือไม้ผลอย่างถาวรการรักษาและปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินและการรักษาความชื้นของดินด้วยวิธีการต่าง ๆ

2)สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่รับผิดชอบได้แก่ สพช. 1,9 และ10 สำหรับกลุ่มชุดดินที่ 21 และสพช. 3,6,7 และ 9 สำหรับกลุ่มชุดดินที่ 22

23 1)เนื้อดินเป็นทรายจัดและมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

2)น้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝนเป็นอุปสรรคต่อการปลูกพืชไร่ พืชผักและไม้ผล

3)ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการดินเพื่อปลูกพืชยังมีน้อย

1)การศึกษาวิจัย ควรเน้นด้านการเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดินจากนาข้าวเป็นพื้นที่ปลูกไม้ยืนต้น โดยการทำคันรอบพื้นที่ป้องกันน้ำท่วมและยกร่องปลูกอย่างถาวรโดยเฉพาะ ปลูกมะพร้าว ปาล์มน้ำมัน การเพิ่มอินทรีย์วัตถุแก่ดินและการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์

2)สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่รับผิดชอบได้แก่ สพช. 11,12 และ 2

24 1)เนื้อดินค่อนข้างเป็นทรายจัดและมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

2)ดินมีน้ำขังแฉะในช่วงฤดูฝนเป็นอุปสรรคต่อการปลูกพืชไร่ พืชผัก และไม้ผล

3)ในฤดูแล้งดินแห้งมาก

4)ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดดินค่อนข้างมาก ยกเว้น ดินชุดท่าอุเทน

1)การศึกษาวิจัยควรเน้นด้านเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุ การปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ (สูตร อัตราปุ๋ยที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด) การรักษาความชื้นในดิน โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง การศึกษาการจัดระบบการปลูกพืชที่มีพืชบำรุงดินแทรกอยู่ด้วย การเปลี่ยนสภาพการใช้ประโยชน์จากนาข้าวเป็นการพัฒนาทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และการปลูกพืชไร่บางชนิดรวมทั้งไม้ยืนต้นโตเร็ว

2)สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่รับผิดชอบได้แก่ สพช. 2 และ 4

25 1)ดินตื้นและค่อนข้างเป็นทรายในดินชั้นบน

2)ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

3)ดินมีการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลวและน้ำท่วมขังเป็นเวลานานในช่วงฤดูฝนประมาณ 3-4 เดือน เป็นอุปสรรคต่อการปลูกพืชไร่ พืชผักและไม้ยืนต้น

4) ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการดินเพื่อปลูกพืชยังมีน้อยหรือไม่มีเลยสำหรับดินบางชุดในกลุ่ม

1)การศึกษาวิจัยควรเน้นด้านการเปลี่ยนสภาพการใช้ประโยชน์จากนาข้าวในปัจจุบันเป็นการใช้ประโยชน์อย่างอื่นเช่น ปลูกพืชไร่ พืชผัก หรือไม้ยืนต้นโตเร็วการศึกษาการจัดระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมในช่วงฤดูแล้ง การรักษาความชื้นในดินการเพิ่มอินทรีย์วัตถุและการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินและการเตรียมหลุมปลูกไม้ยืนต้นที่เหมาะสม

2)สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่รับผิดชอบได้แก่ สพช. 5,11 และ 12

57,58 1)พื้นที่ลุ่มน้ำขัง

2)การยุดตัวของดิน

3)ดินเป็นกรดจัดเมื่ออยู่ในสภาพแห้งแล้ง

4)ดินขาดธาตุอาหารพืชที่จำเป็นเนื่องจากความไม่สมดุลโดยเฉพาะจุลธาตุ

5)ข้อมูลการศึกษาวิจัยมีในระดับปานกลาง

1)การศึกษาวิจัยควรเน้นด้านการศึกษาระดับน้ำใต้ดินที่เหมาะสมที่ไม่ให้ดินยุบตัวและกลายสภาพเป็นกรดจัดเมื่อระบายน้ำออก การศึกษาหาสูตร และอัตราการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับพืชที่ปลูก การศึกษาเพื่อคัดเลือกพันธุ์พืชหรือชนิดของพืชมาปลูกและการศึกษา เรื่องการขาดจุลธาตุในดิน

2)สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่รับผิดชอบ ได้แก่ สพช. 12 และ 11

59 1)ดินมีสภาพการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลวและน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝนเป็นเวลา 3-4 เดือน ในรอบปี เป็นอุปสรรคต่อการปลูกพืชไร่ พืชผักและไม้ผล

2)ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำในบางพื้นที่

3)ข้อมูลการศึกษาวิจัยยังมีน้อย

1)การศึกษาวิจัยควรเน้นการจัดระบบการปลูกพืชหลังการเก็บเกี่ยวข้าวหรือช่วงฤดูแล้งการเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดินจากนาข้าวเป็นไม้ผลยืนต้น พืชไร่ หรือพืชผักการปรับปรุงคุณสมบัติทางด้านกายภาพและเคมีของดิน

2)สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่รับผิดชอบได้แก่ สพช. 2,3 และ 9

 

    ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

        1. ในการจัดทำโครงการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการกลุ่มชุดดินเพื่อการปลูกพืช ควรจะได้มีการศึกษา สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับแปลงทดลองให้ละเอียดพอ (site characterization) เนื่องจากดินในกลุ่มชุดดินเดียวกับบางกลุ่มมีความแตกต่างกันในสภาพภูมิอากาศ วัตถุต้นกำเนิดดิน การใช้ประโยชน์และอื่น ๆ ดังนั้นการตอบสนองต่อการจัดการอย่างเดียวกันอาจมีความแตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการให้เหตุผลของผลของผลการทดลองหรือวิจัยที่ออกมา

        2. ในการจัดทำโครงการวิจัยของกลุ่มชุดดินแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มชุดดินที่ประกอบด้วยชุดดินที่พบในภาคต่าง ๆ ควรจะได้มีแปลงทดลองหรือวิจัยให้ครบทุกภาคในการทดลองเดียวกัน เพื่อจะได้นำผลมาสรุปเปรียบเทียบถึงผลที่ออกมาเหมือนกันหรือแตกต่างกัน ในการจัดทำโครงการวิจัยสำหรับกลุ่มดินประเภทนี้ ควรให้นักวิชาการกองอนุรักษ์ดินและน้ำร่วมกับสำนักงานพัฒนาที่ดินเขตที่พบดินชุดต่าง ๆ ในกลุ่มวางโครงการวิจัย เป็นผู้ประสานงานและสรุปเปรียบเทียบผลการทดลองดังกล่าว

        3. ในกลุ่มชุดดินเดียวกันที่ประกอบด้วยชุดดินต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกันในด้านการจำแนกระดับวงศ์ (soil family) ควรจัดทำโครงการวิจัย เปรียบเทียบผลตอบสนองต่อการจัดการดินอย่างเดียวกัน เพื่อให้ได้ผลการทดลองหรือวิจัยครอบคลุมของทุกชุดดินได้จะเป็นประโยชน์ต่อการให้ข้อเสนอแนะในการจัดการดินเพื่อการปลูกพืชต่าง ๆ

        4. ในการจัดทำโครงการวิจัยในอนาคตสำหรับกลุ่มชุดดินแต่ละกลุ่ม นักวิชาการของกรมพัฒนาที่ดินควรพิจารณาถึงระดับข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันด้วย เพราะการดำเนินงานวิจัยในอดีตบางชุดดินในกลุ่มเดียวกันได้มีการวิจัยมากหรือค่อนข้างมาก บางชุดดินไม่มีผลการศึกษาวิจัยเลยหรือมีน้อย ถ้าเป็นไปได้ควรจะได้ร่างโครงการวิจัยให้ครองคลุมชุดดินมากที่สุด โดยเฉพาะชุดดินที่มีการใช้ประโยชน์ทางการเพาะปลูกหรือทางการเกษตรมาก

        5. เพื่อให้ข้อเสนอแนะข้อที่ 4 บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย กรมพัฒนาที่ดินควรมีการสรุปผลการศึกษาวิจัยที่ดำเนินการในอดีตสำหรับกลุ่มชุดดินแต่ละกลุ่ม เพื่อหาข้อสรุปการจัดการดินแต่ละเพื่อและเพื่อให้ทราบว่าปัญหาใดบ้างที่ยังไม่ได้มีการศึกษาวิจัย จะได้ร่างโครงการศึกษาวิจัยต่อไปในอนาคต

        6. การกำหนดแปลงทดลองหรือการวิจัยแต่ละแห่งควรจะได้ทำการจำแนกดินในระดับชุดดิน (soil series) และระดับวงศ์ (soil family) ตามการจำแนกดินในระบบอนุกรมวิธานดิน (Soil Taxonomy) เพื่อประโยชน์ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีผลการศึกษาวิจัยระหว่างพื้นที่และระหว่างประเทศ

        7. ในปัจจุบันข้อมูลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการดินของกรมพัฒนาที่ดินมีค่อนข้างมาก แต่ยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ เพราะขาดระบบการจัดเก็บและการบริหารข้อมูลที่ดีพอ การให้ข้อเสนอแนะแก่เกษตรกรยังเป็นรูปแบบที่กว้างเกินไป ยังขาดข้อมูลจัดการดินสำหรับพืชเฉพาะอย่างและแต่ละชนิดของดินในสภาพพื้นที่เฉพาะแห่ง

back