8.สรุป

            กลุ่มชุดดินที่ 26 เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ และ/หรือ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ ๆ โดยแรงโน้มถ่วงของโลกของหินดินดาน หินทราย หินอัคนีหรือหินปูนที่อยู่ร่วมกันกับหินดินดานหรือวัสดุต้นกำเนิดดินอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติคล้ายหินดังกล่าวข้างต้นหรือเกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพัดพามากับถมเป็นเวลานาน (old alluvium) พบบริเวณพื้นผิวเหลือค้างจากการกร่อน (erosion surface) หรือตะพักลำน้ำระดับกลาง (middle terrace) มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนสาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน 2-20 เปอร์เซ็นต์ เป็นดินลึกถึงลึกมากดินมีสภาพการระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง การใช้ประโยชน์ที่ดินปลูกพืชไร่ต่าง ๆ เช่น แตงโม ถั่วลิสง สับปะรด ข้าวโพดหวาน มะละกอ ไม้ยืนต้น เช่น สะตอ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ โกโก้พริกไทย และไม้ผล เช่น กล้วย มะพร้าว ทุเรียน เงาะ ฯลฯ การชะล้างพังทลายของหน้าดินเล็กน้อยถึงรุนแรงในบริเวณที่มีความลาดชันสูง

            กลุ่มชุดดินที่ 26 ประกอบด้วยชุดดินหลัก ๆ คือ ชุดดินอ่าวลึก (Ao Luk series : Ak) ชุดดินห้วยโป่ง (Huai Pong series : Hp) ชุดดินกระบี่ (Krabi series : Kbi) ชุดดินลำภูรา (Lamphu Laseries : Ll) ชุดดินปากจั่น (Pak Chan series : Pac) ชุดดินพังงา (Phangnga series : Pga) ชุดดินภูเก็ต (Phuket series :Pk) ชุดดินประทิว (Pathiu series : Ptu)ชุดดินโคกกลอย (Khok Kloi series :Koi) ชุดดินท้ายเหมือง (Thai Muang series : Tim) มีลักษณะเนื้อดินค่อนข้างละเอียดปานกลางคือ เป็นดินร่วน ดินร่วนปนดินเหนียว ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินทรายปนดินร่วนหรือดินเหนียว มีสีแดงหรือสีแดงเข้ม สีน้ำตาล สีน้ำตาลปนเทา สีน้ำตาลปนเหลือง สีน้ำตาลปนแดง ดินล่างมีเนื้นดินเป็นดินเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินเหนียวปนทราย มีสีน้ำตาล สีน้ำตาลปนเหลือง สีน้ำตาลปนแดง สีแดงปนเหลือง สีแดง สีแดงเข้ม หรือสีน้ำตาลปนเทา และมีสีปนสีแดงคล้ายจะประอยู่ทั่วไป อาจพบชั้นหินแกรนิตผุที่ความลึกประมาณ 50-100 เซนติเมตรมีการระบายน้ำดี การไหลบ่าของน้ำบนผิวดินปานกลางถึงเร็ว น้ำซึมผ่านได้ปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดปานกลาง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่างที่ 4.5-6.5 มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายโดยเฉพาะบริเวณที่มีความลาดชันสูง

            ซึ่งชุดดินเหล่านี้ใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชไร่ ไม้ยืนต้น ไม้ผลและพืชผักต่าง ๆ หรือพัฒนาเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ให้ผลผลิตอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ ได้แก่ ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลางถึงต่ำ สภาพพื้นที่ค่อนข้างมีความลาดชัน ในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงนะมีการสูญเสียหน้าดิน โดยการกร่อนของน้ำ ความสามารถในการอุ้มน้ำของดินค่อนข้างต่ำ พืชอาจขาดแคลนน้ำไปช่วงฤดูเพาะปลูก นอกจากปัญหาดังกล่าวแล้ว กลุ่มชุดดินนี้ยังขาดธาตุอาหารพืชบางอย่างที่จำเป็น ต้องมีการใส่ปุ๋ย ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี สำหรับสูตรอัตราการใช้และวิธีการใช้ได้สรุปไว้ในตารางที่ 3

ตารางที่ 3 : สรุปการจัดการกลุ่มชุดดินที่ 26 เพื่อให้เหมาะสมในการปลูกพืชแต่ละชนิด

ชนิดพืช

ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน

วิธีการจัดการดิน

1. พืชไร่และพืชสวน

 

 

 

1.1แตงโม พันธุ์ที่แนะนำชูการ์เบบี้หรือชาร์ลตันเกรย์

- ดินขาดธาตุอาหารพืชบางอย่างและการชะล้างธาตุอาหารพืชไปจากดินสูง - แก้ไขโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีสำหรับสูตรอัตราและวิธีการใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่ปลูก ดังต่อไปนี้

- ปลูกพืชปุ๋ยสดได้แก่ ถั่วดำ ถัวพุ่ม ปอเทือง โสนอัฟริกัน ฯลฯ ใช้เมล็ดพันธุ์อัตรา 3-5 กก./ไร่เมื่อพืชปุ๋ยสดอายุได้ 45-60 วัน หรือออกดอกได้ประมาณ 50 % ไถกลบลงไปในดิน เมื่อสลายตัวแล้วจะเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดินจะช่วยทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้นและช่วยดูดซับธาตุอาหารพืชไว้ไม่ให้สูญหายโดยการชะล้าง

- ก่อนปลูกควรนำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำไว้ 1 คืนเพื่อให้งอกเร็ว หยอดหลุดละ 5-6 เมล็ด เมื่อแตงอายุ7-10 วันก็ถอนให้เหลือหลุมละ 2-3 ต้น

- ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21

อัตรา 50-100 กก./ไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง

ครั้งที่ 1 ใส่รองก้นหลุม

ครั้งที่ 2 ใส่เมื่ออายุ 30 วัน โดยการโรยข้างโคนต้น

- อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 70-90 วัน

    ตารางที่ 3 (ต่อ)

ชนิดพืช

ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน

วิธีการจัดการดิน

 

 

 

 

1.2 ถั่วลิสง พันธุ์ที่แนะนำ ไทนาน 9ขอนแก่น 60-1 สุโขทัย 38ขอนแก่น60-2 หรือพันธุ์พื้นเมือง

1.3 สับปะรด พันธุ์ที่แนะนำ ปัตตาเวียภูเก็ต อินทรชิด

 

 

1.4 ข้าวโพดหวานพันธุ์ที่แนะนำ ซุปเปอร์สวีท ดีเอ็มอาร์

 

- ดินเป็นกรด

 

 

 

- ดินเป็นกรด

- ใส่ปูนขาวอัตรา 200-400 กก./ไร่ ปุ๋ยอินทรีย์เช่น ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก อัตรา 3–5   ต้น/ไร่หว่านให้ทั่วแปลงแล้วไถกลบก่อนปลูก 7-14 วัน

- ขุดหลุมปลูกให้มีขนาด 50x50x50 ซม. หรือใหญ่กว่า ระยะปลูก 1.5-2.0x1-2 เมตร คลุกเคล้าดินในหลุมปลูกด้วยปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมักและปูนขาวในอัตรา 75-150 กรัม 5-10 กก และ350-750 กรัม/หลุมและควรปลูกในช่วงปลายฤดูฝน

- ใส่ปูนขาวอัตรา 100-500 กก./ไร่ ปุ๋ยอินทรีย์เช่นปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก อัตรา 2-3 ต้น/ไร่และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30-50 กก./ไร่หว่านให้ทั่วแปลงแล้วไถกลบก่อนปลูก 7-14 วัน

- ควรใช้เมล็ดพันธุ์ 2-3 เมล็ดหยอดลงหลุมปลูกระยะปลูก 30x20 ซม. เมื่อถั่วอายุ 25-30 วันควรพรวนดินกำจัดวัชพืช

- ปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-20-0 หลุมละ 10-15 กรัม

- ใช้ปุ๋ยสูตร 12-12-15 หรือ 13-13-21 อัตรา10-25 กรัม/ต้น แบ่งใส่ 2

ครั้งครั้งที่ 1 ใส่หลังจากปลูกประมาณ 3 เดือนโดยใส่ที่กาบใบล่าง

ครั้งที่ 2 ใส่เมื่ออายุ 6 เดือนโดยใส่ที่กาบใบล่างสุด

- ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก อัตรา 2-3 ต้น/ไร่ หว่านให้ทั่วแปลงแล้วไถกลบก่อนปลูก7-14 วัน

- ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 หรือ 15-15-15อัตรา 25-50 กก./ไร่ หรือสูตรอื่นที่มีธาตุอาหารของพืชเท่าเทียมกัน แบ่งใส่รองก้นหลุมและร่องปลูกหรือโรยสองข้างแถวปลูกแล้วพรวนดินกลบดินเมื่อถั่วอายุได้ 20-25 วัน

ชนิดพืช

ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน

วิธีการจัดการดิน

1.5 กล้วย พันธุ์ที่แนะนำ กล้วยหอมทองกล้วยหอมเขียวกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า

 

1.6 มะละกอ พันธุ์ที่แนะนำ โกโกแขกดำ จำปาดะสายน้ำผึ้ง ฮาวายมาเลเซีย

  - ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เมื่ออายุได้ 1 สัปดาห์ 1 เดือน และ 2 เดือน ตามลำดับครั้งละประมาณ 5กก./ตัน

- ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 , 13-13-21 หรือ

12-12-8 อัตรา 1 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง เมื่ออายุ 3 เดือนและ 5 เดือน

- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 10-20 กก./หลุม

- ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-15-15 หรือ 24-12-12 ควรใส่ครั้งแรกหลังจากย้ายปลูก 2-3 อาทิตย์มะละกออายุ 1 ปี ใส่ 1 กก./ต้น/ปี 1 ปีขึ้นไป ใส่1-1.5 กก./ต้น/ปี

2. ไม้ผล


2.1เงาะพันธุ์ที่แนะนำ เงาะโรงเรียนเงาะพันธุ์สีชมพู

 

 

- ดินขาดธาตุอาหารพืชบางอย่าง

 

 

 

 

 

 


- พื้นที่มีความลาดชัน


- ขาดแคลนน้ำ

- ปรับปรุงแก้ไขโดยการใช้ปุ๋ยเคมี สูตรอัตราและวิธีการใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่ปลูก

- โดยทั่วไปใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 20-50 กก./ต้น/ปี และปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 , 16-16-16หรือ 13-13-13 ในอัตราครึ่งหนึ่งของอายุ

- การใส่ปุ๋ยเคมีช่วงแทงช่อดอกใช้สูตร 12-24-12อัตรา 2 กก./ตัน

- การใส่ปุ๋ยเคมีช่วงติดผล ใช้สูตร 13-13-2114-14-21, 15-15-15 หรือ 12-12-17-2โดยในระยะสร้างเนื้อเยื่อให้ใช้ 12-12-7-2ประมาณ 1-2 กก./ตัน ส่วนระยะก่อนเก็บเกี่ยวผล 1 เดือน ให้ใช้ 0-0-50 ประมาณ 1 กก./ตัน

- การใส่ปุ๋ยช่วงหลังเก็บเกี่ยวให้ใช้สูตร 15-15-15หรือ 20-11-11 อัตรา 2 กก./ต้น/ครั้ง

- ต้องมีการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยทำการปรับพื้นที่เฉพาะหลุม และปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน

- จัดหาแหล่งน้ำและใช้วัสดุคลุมโคนต้นในฤดูแล้งเพื่อรักษาความชื้น

ชนิดพืช

ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน

วิธีการจัดการดิน

 

2.2 ทุเรียน พันธุ์ที่แนะนำ ชะนี ก้านยาว หมอนทอง

 

 

 


2.3 มังคุด

- ดินเป็นกรด

 

 


- พื้นที่มีความลาดชัน


- ขาดแคลนน้ำ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

- พื้นที่มีความลาดชัน

- ใส่ปูนขาว 100 กรัม/หลุม ตอนเตรียมหลุมปลูก

- ในทุเรียนเล็กอายุ 3-5 เตือนให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 , 13-13-21 หรือสูตรอื่นที่ใกล้เคียงในอัตราต้นละ 200 กรัม ใส่ทุก 6 เดือนเมื่อทุเรียนมีอายุมากขึ้นให้ใส่เพิ่มขึ้นตามลำดับในปริมาณครึ่งหนึ่งของอายุ จนถึง 2-5 กก./ต้น/ปี โดยใส่ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ในอัตรา 20-50 กก./ต้น/ปี

- ต้องมีการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยทำการปรับพื้นที่เฉพาะหลุม และปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน

- จัดหาแหล่งน้ำ และใช้วัสดุคลุมโคนต้นในฤดูแล้งเพื่อรักษาความชื้นให้ทุเรียน

- ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 20-50 กก.และปุ๋ยร็อคฟอสเฟต 250 กรัม รองกันหลุมก่อนการปลูก

- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ในอัตรา 20-50 กก./ต้น/ปี

- การใส่ปุ๋ยเคมีแบ่งเป็น 2 ช่วง1. ช่วงยังไม่ให้ผลผลิต ให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น15-15-15 อัตราครึ่งหนึ่งของอายุมังคุดโดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง (ต้นฤดูและปลายฤดูฝน)2. ช่วงที่ให้ผลผลิตแล้ว

- ช่วงก่อนออกดอก ให้ใช้ 8-24-24 หรือ9-24-24 ในอัตรา 1-2 กก./ต้น เมื่อออกดอกถึงดอกเริ่มนานและติดผลเล็ก ๆ ให้ใช้ 15-15-15หรือ 16-16-16 ในอัตรา 1-2 กก./ต้น

- เมื่อผลมีขนาดโตก่อนเก็บ 20 วัน ให้ใช้12-12-17-2 หรือ 13-13-21 ในอัตรา 1-2 กก./ต้น

- เมื่อเก็บผลผลิตแล้ง หลังการตัดแต่งกิ่ง ให้ใช้15-15-15 ในอัตรา 1-2 กก./ต้น

- ต้องมีการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยทำการปรับปรุงพื้นที่เฉพาะหลุม และปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน

ชนิดพืช

ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน

วิธีการจัดการดิน

 

2.4 ลองกอง

 

 

 

 

 


2.5 กระท้อน

 

- ขาดแคลนน้ำ

 

 

 

 

- พื้นที่มีความลาดชัน


- ขาดแคลนน้ำ

 

 

 

 

 

 

 

 

- พื้นที่มีความลาดชัน


- ขาดแคลนน้ำ

- จัดหาแหล่งน้ำและอย่าขาดน้ำ ในช่วงออกดอก

- การเตรียมหลุมปลูก ควรจะใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักประมาณ 20-50 กก.และปุ๋ยหินฟอสเฟต ประมาณ 100 กรัมรองกันหลุม

- การใส่ปุ๋ยลองกอง ถ้ายังไม่ให้ผลผลิตจะไม่ใส่ปุ๋ย ในช่วงที่ให้ผลผลิตแล้ว หลังจากตัดแต่งกิ่ง จะใส่ปุ๋ย 15-15-15 ช่วงออกดอกจะใส่12-24-12 หรือ 13-13-21 และหลังจากติดผลแล้งจะใส่ 13-13-13 หรือ 15-15-15ในอัตราครึ่งหนึ่งของอายุต้น

- ต้องมีการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยทำการปรับพื้นที่เฉพาะหลุม และปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน

- จัดหาแหล่งน้ำและอย่าให้ขาดน้ำ ในช่วงออกดอก

- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 20-50 กก.และปุ๋ยร็อคฟอสเฟต 1 กก. รองกันหลุมและควรต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 20-50 กก./ต้น/ปี

- การใช้ปุ๋ยเคมีในกระท้อนเล็ก จะเน้นปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เช่น 15-15-15 ในอัตรา600-800 กรัม/ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 3-4ครั้ง

- หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วจะใช้ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 ในอัตรา 2 กก./ต้น

- ช่วงก่อนที่กระท้อนจะฟักตัวจะใช้สูตร9-24-24 หรือ 12-24-12 ในอัตรา 2 กก./ต้น

- ระยะติดผลแล้ว 1 เดือน จะใช้ปุ๋ยสูตร15-15-15 ในอัตรา 2 กก./ต้น

- ระยะก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 20 วัน ควรใส่ปุ๋ยที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ปุ๋ยสูตร 13-13-21อัตรา 2 กก./ต้น

- ต้องมีการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยทำการปรับพื้นที่เฉพาะหลุม และปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน

- จัดหาแหล่งน้ำและอย่าให้ขาดน้ำ ในช่วงออกดอก

2.6 ขนุน  

 

 

 

 


- พื้นที่มีความลาดชัน


- ขาดแคลนน้ำ

- ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 20-50 กก.และปุ๋ยร็อคฟอสเฟต 0.5 กก. รองกันหลุมก่อนปลูกและควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 20-50 กก./ต้น/ปี

- เมื่อขนุนยังเล็ก ควรใช้ปุ๋ยยูเรีย 2 ช้อนแกงผสมน้ำ 1 ปีบ รดบริเวณโคนต้น 2 อาทิตย์/ครั้ง ประมาณ 3 ครั้ง หลังจาดนั้นทุก ๆ 3เดือนให้ใส่ปุ๋ย 15-15-15 ครั้งละประมาณ100 กรัม/ต้น

- เมื่ออายุย่างปีที่ 2 ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ใส่ในอัตรา ครึ่งหนึ่งของอายุต้น โดยแบ่งใส่ 2-3 ครั้ง/ปี หลังจากอายุ10 ปี ให้พิจารณาจากผลผลิตปีที่แล้วว่ามากหรือน้อยเพียงใด หากผลผลิตมากก็ให้ใส่มากขึ้น

- ต้องมีการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยทำการปรับพื้นที่เฉพาะหลุม และปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน

- จัดหาแหล่งน้ำและอย่าให้ชาดน้ำ ในช่วงออกดอก

3 ไม้ยืนต้นและพืชสวน

 3.1 ยางพารา พันธุ์ที่แนะนำ RRIM 600 BPM 24 KRS 156

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3.2 ปาล์มน้ำมัน

- ดินขาดธาตุอาหารพืชบางอย่าง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

- พื้นที่มีความลาดชัน 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


- พื้นที่มีความลาดชัน

- ปรับปรุงแก้ไขโดยการใส่ปุ๋ยเคมี สูตร อัตราและวิธีการใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่ปลูก ดังนี้

- ใช้ปุ๋ยร็อคฟอสเฟตรองกันหลุมก่อนปลูก ในอัตรา170 กรัม/หลุม

- ควรใช้ปุ๋ยเคมี ดังนี้สูตร 1 ปุ๋ยเม็ด 18-10-6 ปุ๋ยผสม 8-14-3สูตร 2 ปุ๋ยเม็ด 18-4-5 ปุ๋ยผสม 13-9-4สูตร 5 ปุ๋ยผสม 15-0-18สูตร 6 ปุ๋ยเม็ด 15-7-18 ปุ๋ยผสม 12-5-14

- อายุ 2-41 เดือน ใช้ปุ๋ยเม็ดสูตร 1 อัตรา 60-190 กรัม/ต้น และปุ๋ยผสมสูตร 1 อัตรา 130-400 กรัม/ต้น ใส่รองโคนต้นรัศมี 30-60 ซมเมื่ออายุ 35 เดือนขึ้นไปหว่านปุ๋ยให้กระจายสม่ำเสมอในแถวยางพารา ห่างจากโคนต้นข้างละ1 เมตร

- อายุ 47-71 เดือน ใส่ปุ๋ยเม็ดสูตร 2 อัตรา 400กรัม/ต้น และปุ๋ยผสมสูตร 2 อัตรา 530 กรัม/ต้นเมื่ออายุ 65 เดือนขึ้นไป หว่านปุ๋ยเป็นแถบกว้าง2.5 เมตร ห่างจากโคนต้นข้างละ 50 ซม

- หลังเปิดกรีด ใส่ปุ๋ยสูตร 5 และ 6 อัตรา 1-1.2กก./ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ตอนต้นและตอนปลายฤดูฝน วิธีที่ใส่ 1) ใส่แบบหว่านสำหรับพื้นที่ราบ 2) ใส่แบบหลุมโดยขุดหลุมรอบโคนต้นหรือสองข้างของลำต้น 2-4 หลุม/ต้น ใส่ปุ๋ยแล้วกลบดิน เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเท

- หากพื้นที่มีความลาดชันสูง ควรจัดทำคันคูรับน้ำรอบเขา และปลูกพืชคลุมดิน

- ใส่ปุ๋ยร็อคฟอสเฟต รองกันหลุม ๆ ละ 250 กรัม

- ควรใช้ปุ๋ยเคมีตามรายละเอียดของดินและอายุของปาล์ม ดังนี้

- ดินร่วนเหนียว อายุ 1 ปี ใส่สูตร 15-15-15อายุ 2 ปี ใส่สูตร 15-15-30 อายุ 3 ปี ใส่สูตร 15-15-30 อายุ 4 ปี ใส่สูตร 10-10-30อายุ 5 ปี ใสสูตร 10-10-30

- ดินร่วนปนทราย อายุ 1 ปี ใส่สูตร 20-15-15 อายุ 2 ปี ใส่สูตร 15-10-35อายุ 3 ปี ใส่สูตร 15-15-35 อายุ 4 ปีใส่สูตร 15-10-35 อายุ 5 ปี ใส่สูตร10-10-30

- โดยในดินทั้ง 2 ประเภท จะใช้ในอัตรา ดังนี้อายุ 1 ปี ใช้ 1.5 กก./ต้น/ปี อายุ 2 ปี ใช้ 2.5กก./ต้น/ปี อายุ 3 ปี ใช้ 3.5 กก./ต้น/ปี อายุ 4ปี ใช้ 4.5 กก./ต้น/ปี อายุ 5 ปี ใช้ 5.5 กก./ต้น/ปี

-ในปีแรกปลูกจนถึงอายุ 2 ปี ควรแบ่งใส่ปีละ 4-5ครั้ง เมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป ควรแบ่งใส่ปีละ 3 ครั้งคือ ตอนต้น กลางและปลายฤดูฝน

- ควรจัดทำคันคูรับน้ำรอบเขาและปลูกพืชคลุมดิน

ชนิดพืช

ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน

วิธีการจัดการดิน

3.3 มะพร้าว

 

 

 

 

 

3.4 มะม่วงหิมพานต์

 

 

 

 

3.5 กาแฟ

  - ใส่ปุ๋ยร็อคฟอสเฟต รองกันหลุม ๆ ละ 500 กรัม

- การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งแรก ควรดำเนินการหลังปลูกประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้น ควรใส่ปีละ 2ครั้ง คือ ตอนต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน โดยใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21, 12-12-17-2 MgO15-15-15, 16-16-16 ในอัตรา 1 กก./ต้น/ปีโดยใช้ร่วมกับปุ๋ยสูตร 0-0-60 ในอัตรา 0.5กก./ต้น เมื่ออายุได้ 6 ปี ขึ้นไป ใส่ 2 ครั้ง ในช่วงต้นและปลายฤดูฝนเช่นกัน โดยใช้สูตร13-13-21 อัตรา 6 กก./ต้น/ปี หรือ 15-15-15,16-16-16 อัตรา 5 กก./ต้น/ปี โดยปุ๋ยทุกสูตร จะใช้ร่วมกับปุ๋ยสูตร 0-0-60 อัตรา 0.5 กก./ต้น/ปี

- ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ในอัตรา20-50 กก./ต้น/ปี

- เตรียมหลุมปลูกใช้ปุ๋ยสูตร 0-3-0 อัตรา300-500 กรัม/ต้น หรือสูตร 15-30-15 อัตรา 250-300 กรัม/ต้น

- ใส่ปุ๋ยเคมีสูตรที่มีธาตุอาหารพืชหลักครบถ้วน เช่น 20-20-20, 15-15-15,20-11-11 หรือ 12-12-7 เป็นต้น โดย แบ่งใส่ 2 ครั้ง ตามขนาดและอายุของต้น ใน อัตราตั้งแต่ 100-400 กรัม/ต้น/ปี โดยหว่านให้สม่ำเสมอรอบบริเวณทรงพุ่มห่างจากโคนต้น 30 ซม. แล้วพรวนดินกลบ

- ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีในอัตรา10-20กก./ต้น/ปี

- ใช้ปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุมก่อนปลูก อัตรา10-20 กก. แล้วใช้ในอัตราเดียวกันทุก ๆ ปี

- ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอเช่น 10-10-10,12-12-12หรือ 15-15-15 แบ่งใส่ 3 ครั้ง/ปี ปีที่1ใส่ต้นละ 100-150 กรัม/ครั้ง ปีที่ 2 ใส่ต้นละ 200-250 กรัม/ครั้ง ปีที่ 3 ใส่ต้นละ300-350 กรัม/ครั้ง ปีที่ 4 ให้ปุ๋ยสูตร15-15-15 หรือ 13-13-21 ในอัตรา350 กรัม/ต้น/ครั้ง

ชนิดพืช

ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน

วิธีการจัดการดิน

3.6 โกโก้

 

 


3.7 สะตอ

 



3.8 ไม้โตเร็ว



4 ทุ่งหญ้า

  - ใช้ปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุมและใส่ทุกปีในอัตรา10-20 กก./หลุมหรือต้น

- การใส่ปุ๋ยเคมี/ต้น/ครั้งยึดหลัก ดังนี้ 0.5 ปีใช้ 11-8-4-3 MgO 113 กรัม 1 ปี ใช้13-11-5-2.5 MgO 113 กรัม 1.5 ปี ใช้14-13-5-2.5 MgO 113 กรัม 2 ปี ใช้14-13-9-2.5 MgO 170 กรัม 2.5 ปีใช้14-13-9-2.5 MgO 170 กรัม 3 ปี ใช้15-7-13-4 MgO 226 กรัม

- ควรใส่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกัน ปุ๋ยเคมีคือสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21อัตรา 0.5 กก./ต้น/ปี และ 1 กก./ต้น/ปีสำหรับสะตอที่ยังไม่ให้ผลผลิตและให้ผลผลิตแล้วตามลำดับ โดยให้แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี ส่วนปุ๋ยอินทรีย์ ให้ใช้ในอัตรา 15-30 กก./ต้นก่อนสะตอให้ผลผลิตและ 45-60 กก./ต้นเมื่อให้ผลผลิตแล้ว

- ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15-15-15หรือ 20-20-20 ต้นละ 50 กรัมในปีแรกและค่อยเพิ่มปริมาณในปีถัด ๆ ไปจนถึงอัตราประมาณ 300 กรัม/ต้นในปีที่ 3-4

- ใส่ปุ๋ยร็อคฟอสเฟต 50-100 กก./ไร่ ก่อนปลูกและใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 10 กก./ไร่ หลังงอก 2 สัปดาห์ จากนั้นให้ใส่อีกครั้ง20 กก./ไร่ หลังตัดหญ้าครั้งแรก หลังจากนี้ให้ใช้ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กก./ไร่ หว่านในปลายฤดูฝนของทุกปี

    หมายเหตุ : สามารถใช้ปุ๋ยเคมีสูตรอื่นที่มีธาตุอาหารพืชเท่าเทียมกันได้ นอกเหนือจากสูตรที่แนะนำ

 

back.gif (2807 bytes)forward.gif (2807 bytes)