ปัญหาทรัพยากรดิน |
|
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่,
ลำพูน, ลำปาง และแม่ฮ่องสอน
พบที่ดินที่มีปัญหาหลายประการในแต่ละพื้นที่่มีผลทำ
ให้ศักยภาพของดิน เพื่อการเกษตรต่ำลงสามารถจำแนกออกได้ดังนี้ |
|
|
1. บริเวณพื้นที่ลุ่ม |
|
|
|
1.1 |
ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ ส่วนมากเป็นดินที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิด ดินที่เป็นตะกอนลำน้ำเก่าและตะกอนลำน้ำค่อนข้างใหม่ ซึ่งพบอยู่บนลานตะพักลำน้ำเก่าและลานตะพักลำน้ำ ค่อนข้างใหม่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 535,876 ไร่ หรือประมาณ 21.79 % ของดินในพื้นที่ลุ่มหรือ 1.601 % ของพื้นที่ในเขตรับผิดชอบทั้งหมด 4 จังหวัด ชุดดินที่สำคัญและพบเรียงตามลำดับมากน้อย ได้แก่ ชุดดินสันทราย (Sai) ชุดดินเชียงราย (Cr) ชุดดินร้อยเอ็ด (Re) ชุดดินลำปาง (Lp) ชุดดินพาน (Ph) |
|
|
|
1.2 |
ดินที่เป็นทรายจัด ดินที่พบเป็นดินที่เกิดจากตะกอนลำน้ำเก่าพบอยู่บนลานตะพักลำน้ำเก่าระดับต่ำ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 28,913 ไร่ หรือประมาณ 1.18 % ของดินในพื้นที่ลุ่ม หรือประมาณ 0.09 % ของพื้นที่ในเขตรับผิดชอบทั้งหมด 4 จังหวัด ชุดดินที่พบได้แก่ ชุดดินอุบล (Ub) จังหวัดที่พบเนื้อที่มากคือ จังหวัดลำพูนและส่วนน้อยในจังหวัดเชียงใหม่ |
|
|
2. บริเวณพื้นที่ดอน |
|
|
|
2.1 |
ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ |
|
|
|
ส่วนใหญ่ของดินบนพื้นที่ดอนเป็นดินที่มีความอุดสมบูรณ์อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ดินที่พบอยู่เป็นพื้นที่มากเป็นดินที่
เกิดจากตะกอนลำน้ำเก่าบนลานตะพักลำน้ำเก่าระดับต่าง ๆ และเนินตะกอนรูปพัด มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 3,766,485 ไร่ หรือประมาณ 70.62 % ของดินบนพื้นที่ดอน หรือประมาณ 11.33 % ของพื้นที่ในเขต รับผิดชอบทั้งหมด 4 จังหวัด ชุดดินที่พบได้แก่ ชุดดินแม่ริม (Mr) ชุดดินห้างฉัตร (Hc) ชุดดินแม่แตง (Mt) ชุดดินโคราช (Kt) ชุดดินสันป่าตอง (Sp) ชุดดินน้ำพอง (Ng) ชุดดินเรณู (Rn)
นอกจากนี้ยังมีดิน อื่นที่มีปัญหาเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำเป็นดินที่เกิดจากการ ผุพังสลายตัวของหินต้นกำเนิด พบทั้งหมดเป็นพื้นที่ประมาณ 480,453 ไร่ หรือ 9.0 % ของดินบนที่ดอน หรือ 1.45 % ของพื้นที่ในเขต รับผิดชอบ 4 จังหวัด ดินที่พบที่เกิดจากการผุพังสลายตัวของหินดินดาน , หินทราย ได้แก่ ชุดดินท่ายาง (Ty) และชุดดินลาดหญ้า (Ly) ดินที่เกิดจากหินดินดาน ได้แก่ ชุดดินมวกเหล็ก (Mi) ชุดดินงาว (No) ดินที่เกิดจาก หินแกรนิต ได้แก่ชุดดินภูสะนา (Ps) ดินคล้ายชุดดินภูสะนาแต่มีน้ำแช่ขัง (Ps-hd) และยังพบดินพวก ที่เกิดจากหินบาซอลอีกเล็กน้อย ได้แก่ ชุดดินโชคชัย (Ci) |
|
|
|
2.2 |
ดินที่เป็นทรายจัด |
|
|
|
ดินที่พบมีทั้งดินที่เกิดจากตะกอนลำน้ำเก่าและดินที่เกิดจากการผุพังสลายตัวของหินต้นกำเนิด มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 117,451 ไร่ หรือประมาณ 2.24 % ของดินบนที่ดอน หรือประมาณ 0.35 % ของพื้นที่ในเขตรับผิดชอบ 4 จังหวัด ดินนี้เกิดจากตะกอนลำน้ำเก่าชุดดินที่พบได้แก่ ชุดดินน้ำพอง (Ng) พบเป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 106,146 ไร่ ดินที่เกิดจากการผุพังสลายตัวของหินแกรนิต ได้แก่ ชุดดินจันทึก (Cu) ชุดดินจันทึกที่มีตะกอนมาทับถม (Cu-o) และดินคล้ายชุดดินจันทึกแต่มีกรวดปน (Cu-g) พบเป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 11,305 ไร |
|
|
|
2.3 |
ดินปนก้อนกรวด ก้อนหิน ก้อนกรวดลูกรังหรือดินที่มีชั้นหินพ้นอยู่ตื้น |
|
|
|
ดินที่พบเป็นดินที่เกิดจากตะกอนลำน้ำเก่า และจากการผุพังสลายตัวของหินต้นกำเนิด มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,884,669 ไร่ หรือประมาณ 54.09 % ของดินบนที่ดอนหรือประมาณ 8.68 % ของพื้นที่ในเขตรับผิดชอบ 4 จังหวัด ดินพวกตะกอนลำน้ำเก่า ชุดดินที่พบได้แก่ชุดดินแม่ริม (Mr) หน่วยสัมพันธ์และหน่วยผสมของชุดดินแม่ริม พบเป็นพื้นที่ประมาณ 1,645,117 ไร่ ชุดดินโพนพิสัย (Pp) พบอยู่ไม่มากเป็นพื้นที่ประมาณ 13,608 ไร่ ดินที่เกิดจากการผุพังสลายตัวของหินดินดาน หินทราย และหินคว๊อทไซต์ ได้แก่ ชุดดินท่ายาง (Ly) และหน่วยสัมพันธ์ของชุดดินท่ายาง ชุดดินลาดหญ้ามีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 768,184 ไร่ ดินที่เกิดจากหินดินดาน ได้แก่ ชุดดินลี้ (Li) ชุดดินมวกเหล็ก (Mi) ชุดดินงาว (No) ชุดดินเชียงคาน (Ch) และหน่วยสัมพันธ์ของชุดดินดังกล่าวมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 428,129 ไร่ และดินที่เกิดจากหินบะซ๊อลท์ ได้แก่ ชุดดินสบปราบ (So) และชุดดินสุรินทร์ (Su) มีพื้นที่ประมาณ 26,556 ไร่ |
|
|
|
2.4 |
ดินบนพื้นที่หินโผล่และพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง |
|
|
|
พบอยู่ทั่วไป เป็นพื้นที่ดินที่มีหินชนิดต่าง ๆ โผล่อยู่เป็นปริมาณมากน้อยแตกต่างกัน เช่น พื้นที่หินแกรนิตโผล่ (Gr-R1) พื้นที่หินปูนโผล่ (Ls-R1) พื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตรต่ำ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 312,718 ไร่ หรือประมาณ 0.94 % ของพื้นที่ในเขตรับผิดชอบ 4 จังหวัด |
|
|
3. พื้นที่สูงและบริเวณภูเขา |
|
|
|
3.1 |
ดินที่มีปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน |
|
|
|
ดินทั้งหมดที่พบเป็นดินที่เกิดอยู่บนสภาพพื้นที่ที่เป็นภูเขาและที่สูงชัน ซึ่งส่วนใหญ่มีความลาดชันมากกว่า 35% ขึ้นไป จึงง่ายต่อการเกิดการชะล้างพังทลายของดิน หากมีการใช้ที่ดินอย่างไม่เหมาะสม พื้นที่จะกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ชุดดินที่พบได้แก่ ชุดดินดอยปุย (Dp) ชุดดินบ้านจ้อง (Bg) ชุดดินปากช่อง (Pc) และพื้นที่เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ เช่น พื้นที่หินโผล่ เป็นต้น ดินบนพื้นที่สูงและบริเวณภูเขาในหลายพื้นที่ นอกจากปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของดินที่มีคามรุนแรงและขยายพื้นที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังมีปัญหาเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลงอีกด้วย |
|
|
แนวทางแก้ไขปัญหาทรัพยากรดินเบื้องต้น |
|
|
1 ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ |
|
|
|
1.1 |
ใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน โดยใส่ทั้งปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ เช่น
ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ร่วมกันในอัตราที่เหมาะสม |
|
|
|
1.2 |
ปลูกพืชปรับปรุงบำรุงดิน |
|
|
|
1.3 |
ไถกลบซากพืช เพื่อเป็นการเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน |
|
|
2 ดินที่เป็นทรายจัด |
|
|
|
2.1 |
เพิ่มอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสดให้แก่ดินเพื่อให้เนื้อดินจับตัวกัน ทำให้ดินมีโครงสร้างดีขึ้น |
|
|
3 ดินปนก้อนกรวด ก้อนหิน ก้อนกรวดลูกรัง หรือดินที่มีชั้นหินพื้นอยู่ตื้น |
|
|
|
3.1 |
ทำลายชั้นดินกรวด โดยไถระดับลึกด้วยเครื่องมือพิเศษ
แล้วปรับปรุงคุณภาพดินให้เหมาะสม โดยการใสปุ๋ย เคมีและปุ๋ยอินทรีย์
ร่วมกันในอัตราที่เหมาะสม |
|
|
|
3.2 |
เตรียมหลุมปลูกให้กว้าง และปรับปรุงคุณภาพดินเฉพาะหลุม ในกรณีที่ปลูกไม้ยืนต้น |
|
|
4 ดินที่มีปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน |
|
|
|
4.1 |
ใช้วัสดุคลุมดินเพื่อลดแรงกระแทกของเม็ดฝน และลดความเร็วของน้ำไหลบ่า |
|
|
|
4.2 |
เตรียมดินให้น้อยครั้ง ตามความจำเป็น |
|
|
|
4.3 |
เตรียมดินและปลูกพืชตามแนวระดับ เพื่อกระจายน้ำไหลสม่ำเสมอทั่วแปลง |
|
|
|
4.4 |
สร้างสิ่งกีดขวางทางน้ำไหลบ่าเป็นช่วง ๆ ลักษณะเป็นแนวอนุรักษ์ เช่น การใช้คันซากพืชวางกอง ขวางความลาดเท
การสร้างคันดิน
การสร้างขั้นบันไดดิน
การสร้างคูรับน้ำของเขา
การเหลือแถบหญ้า ธรรมชาติเป็นช่วง
การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์หรือไม้พุ่มบำรุงดินเป็นแนวอนุรักษ์
การสร้างคันเบนน้ำและ ทางระบายน้ำ |
|
|
|
4.5 |
ปลูกพืชเป็นแถวสลับและหมุนเวียนกับพืชตระกูลถั่ว |
|
|
|
|